โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เซลล์ทีเฮลเปอร์

ดัชนี เซลล์ทีเฮลเปอร์

Antigen กระตุ้นให้ T cell เปลี่ยนเป็น "cytotoxic" CD8+ cell หรือ "helper" CD4+ cell เซลล์ทีเฮลเปอร์ เป็นชนิดย่อยชนิดหนึ่งของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์เหล่านี้มักไม่มีบทบาทในการทำลายเซลล์อื่นหรือจับกินสิ่งแปลกปลอม ไม่สามารถฆ่าเซลล์เจ้าบ้านที่ติดเชื้อหรือฆ่าจุลชีพก่อโรคได้ และถ้าไม่มีเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ เซลล์ชนิดนี้อาจถูกมองว่าไม่มีประโยชน์ได้ เซลล์ทีเฮลเปอร์มีบทบาทในการกระตุ้นและชี้นำการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ และถือว่ามีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน มีส่วนจำเป็นในการระบุการเปลี่ยนคลาสแอนติบอดีของเซลล์บี มีบทบาทในการกระตุ้นและการเจริญของเซลล์ทีไซโตท็อกซิก และมีบทบาทในการเพิ่มขีดความสามารถในการทำลายแบคทีเรียของฟาโกไซต์อย่างแมโครฟาจได้ บทบาทต่อเซลล์อื่นๆ เหล่านี้เองที่ทำให้เซลล์ชนิดนี้ถูกเรียกว่าเซลล์ทีเฮลเปอร์ เชื่อกันว่าเซลล์ทีเฮลเปอร์ที่เจริญเต็มที่จะมีโปรตีนผิวหน้า CD4 แสดงออกอยู่เสมอ เซลล์ทีที่แสดงออกถึง CD4 จะถูกเรียกว่า เซลล์ที CD4+ มักถือกันว่าเซลล์ที CD4+ เป็นเซลล์ก่อนหน้าที่จะถูกกำหนดบทบาทเป็นเซลล์ทีเฮลเปอร์ ถึงแม้จะมีข้อยกเว้นที่พบไม่บ่อยบางอย่างก็ตาม ตัวอย่างเช่น ยังมีชนิดย่อยอื่นๆ ของเซลล์ทีเรกูลาทอรี เซลล์ทีเอ็นเค และเซลล์ทีไซโตท็อกซิก ที่ปรากฏการแสดงออกของ CD4 ด้วยเช่นกัน เซลล์ที่กล่าวภายหลังเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นเซลล์ทีเฮลเปอร์ และจะไม่ถูกกล่าวถึงอีกในบทความนี้ ความสำคัญของเซลล์ทีเฮลเปอร์เห็นได้จากการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสนี้จะติดเชื้อเซลล์ที่แสดงออกถึง CD4 รวมถึงเซลล์ทีเฮลเปอร์ด้วย ในช่วงท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี จำนวนของเซลล์ที CD4+ จะลดต่ำลง นำไปสู่ระยะแสดงอาการของการติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อเอดส์ นอกจากนี้ยังมีโรคที่พบไม่บ่อยอีกบางชนิดที่ทำให้เซลล์ที CD4+ หายไปหรือทำงานไม่เป็นปกติ โรคเหล่านี้ทำให้มีอาการคล้ายคลึงกัน และหลายโรคมีอันตรายถึงชีวิต หมวดหมู่:ลิมโฟไซต์ หมวดหมู่:วิทยาภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:เซลล์เม็ดเลือด หมวดหมู่:โลหิตวิทยา หมวดหมู่:เซลล์.

12 ความสัมพันธ์: ฟาโกไซโทซิสระบบภูมิคุ้มกันลิมโฟไซต์จุลชีพก่อโรคแบคทีเรียเม็ดเลือดขาวเอชไอวีเอดส์เซลล์เซลล์บีเซลล์กลืนกินเซลล์ทีเฮลเปอร์

ฟาโกไซโทซิส

กระบวนการฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis แปลตรงตัวแปลว่า "การกินเซลล์") หรือการกลืนกินของเซลล์ คือรูปแบบหนึ่งของการย่อยอาหารในเซลล์ หรือเอนโดไซโทซิส (Endocytosis) โดยที่อนุภาคขนาดใหญ่ (อาจเป็นสิ่งแปลกปลอมหรืออาหาร) ถูกโอบล้อมรอบโดยเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ (ส่วนมากจะใหญ่กว่าอนุภาคที่ทำการโอบ) และถูกนำเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ (คล้ายกับการกิน) เพื่อทำให้อนุภาคกลายเป็นฟาโกโซม (Phagosome) หรือฟูดแวคิวโอล (Food vacuole) ซึ่งก็คือช่องว่างในเซลล์ที่มีอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมบรรจุอยู่นั่นเอง ในสัตว์นั้น กระบวนการฟาโกไซโทซิสจะมีเซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะเรียกว่า ฟาโกไซต์ (Phagocytes) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ซึ่งก็คือการกำจัดเชื้อโรคนั่นเอง ส่วนในสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้น ยังมีเซลล์อื่นนอกจากฟาโกไซต์ ทำหน้าที่เดียวกันอยู่ คือแมโครเฟจ (Macrophages) ที่มีขนาดใหญ่กว่าฟาโกไซต์ และกรานูโลไซต์ (Granulocytes) ที่มีขนาดเล็กกว่า โดยที่เซลล์ทั้งสองแบบนี้ล้วนอยู่ในเม็ดเลือดขาวทั้งสิ้น สิ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่จะถูกกำจัดโดยวิธีการฟาโกไซโทซิสได้แก่ แบคทีเรีย, เซลล์เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และอนุภาคแร่ธาตุขนาดเล็ก ในกรณีที่แบคทีเรียนั้นอาจทำให้เซลล์ที่ทำการฟาโกไซโทซิสติดเชื้อได้จะถูกเคลือบด้วยแอนติบอดีก่อนที่จะถูกโอบเข้าไป แต่ในกรณีของแบคทีเรียที่เป็นเชื้อของโรคบางชนิดเช่นโรคเรื้อน และวัณโรค ซึ่งเมื่อถูกนำเข้าไปในเซลล์ผ่านกระบวนการฟาโกไซโทซิสแล้ว จะไม่สามารถถูกทำลายได้โดยเซลล์ฟาโกไซต์ที่ได้โอบเชื้อเข้าไป โดยจะเรียกเชื้อโรคเหล่านี้รวมไปถึงทุกสิ่งที่ขัดขวางหรือยับยั้งกระบวนการฟาโกไซโทซิสว่าแอนติฟาโกไลติก (Antiphagolytic) จากการรู้ถึงความสามารถของเชื้อโรคในการต่อต้านเซลล์ฟาโกไซต์ธรรมดาๆ ได้ ทำให้สรุปได้ว่าแมโครเฟจ และกรานูโลไซต์ (ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นแกรนูโลไซต์ประเภทนิวโทรฟิล, Neutrophil granulocytes) นั้นอาจถือได้ว่าเป็น "ฟาโกไซต์ที่เก่งกว่า" แต่นี่เป็นเพียงแค่ผลสรุปของการวิจัยเซลล์ประเภทนี้หลายๆ การวิจัยที่ตรงกันเท่านั้น ส่วนจุดที่สำคัญที่สุดในกระบวนการฟาโกไซโทซิสก็คือความสามารถในการควบคุมการอักเสบของมัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอนุภาคที่ถูกโอบ โดยกระบวนการฟาโกไซโทซิสนี้สามารถบรรเทาอาการอักเสบได้ หรือในกรณีของเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส จะช่วยชะลอการหายอักเสบของเซลล์เหล่านั้น กระบวนการฟาโกไซโทซิสยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการต้านทางต่อภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันการอักเสบกับส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เป็นปกติ โดยการกำจัดสิ่งแปลกปลอมก่อนที่แอนติบอดีจะกำจัดซึ่งจะทำให้เกิดอาการอัก.

ใหม่!!: เซลล์ทีเฮลเปอร์และฟาโกไซโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.

ใหม่!!: เซลล์ทีเฮลเปอร์และระบบภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

ลิมโฟไซต์

ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงมนุษย์ อาจแบ่งออกเป็นเซลล์เอ็นเค (natural killer/NK cell, ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันแบบพื้นฐานและการทำลายเซลล์) เซลล์ที (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวและการทำลายเซลล์) และเซลล์บี (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว ทำงานผ่านแอนติบอดี) เป็นเซลล์ที่พบเป็นส่วนใหญ่ในระบบน้ำเหลือง (lymph) จึงได้ชื่อว่าลิมโฟไซต์ ("เซลล์น้ำเหลือง") * หมวดหมู่:น้ำเหลือง หมวดหมู่:เนื้อเยื่อน้ำเหลือง หมวดหมู่:ระบบน้ำเหลือง หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน.

ใหม่!!: เซลล์ทีเฮลเปอร์และลิมโฟไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

จุลชีพก่อโรค

เชื้อก่อโรค (pathogen) โดยทั่วไปหมายถึงเชื้อที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย พรีออน เชื้อรา หรือจุลชีพอื่นๆ แต่เดิมคำว่า pathogen หมายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดโรค อาจเป็นเชื้อหรือไม่ใช่เชื้อก็ได้ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ในความหมายถึงเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมากกว่า หมวดหมู่:โรคติดเชื้อ.

ใหม่!!: เซลล์ทีเฮลเปอร์และจุลชีพก่อโรค · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: เซลล์ทีเฮลเปอร์และแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดขาว

A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.

ใหม่!!: เซลล์ทีเฮลเปอร์และเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

เอชไอวี

วามหมายอื่น: อัลบั้มเพลงของ ไฮ-ร็อก ดูที่ HIV เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล Retrovirus เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III), lymphadenopathy-associated virus (LAV), และ AIDS-associated retrovirus (ARV). เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปิ้อน การติดเชิ้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปิ้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการหนึ่ง นับจากภายหลังแบล็กเดธที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก.

ใหม่!!: เซลล์ทีเฮลเปอร์และเอชไอวี · ดูเพิ่มเติม »

เอดส์

หมวดหมู่:กลุ่มอาการ หมวดหมู่:โรคระบาดทั่ว หมวดหมู่:โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมวดหมู่:ไวรัส หมวดหมู่:ภัยพิบัติทางการแพทย์ หมวดหมู่:ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคติดเชื้อไวรัส หมวดหมู่:วิทยาไวรัส หมวดหมู่:จุลชีววิทยา.

ใหม่!!: เซลล์ทีเฮลเปอร์และเอดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์

ป็นสิ่งสวยงามเซล เซลล์ เซลส์ หรือ เซลล์ส เป็นคำที่เขียนทับศัพท์มาจากคำในภาษาอังกฤษ cell, cel, Cells, sale หรือ Zales; cell: หมายถึงหน่วยย่อยที่มีการกั้นขอบเขต (หรือห้อง) โดยทั่วไปเซลล์จะเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างอื่น ๆ ที่ใหญ่กว่า ความหมายขึ้นอยู่กับบริบท.

ใหม่!!: เซลล์ทีเฮลเปอร์และเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์บี

ี เซลล์ มีหน้าที่สังเคราะห์แอนติบอดี ที่ถูกกระตุ้นจากแอนติเจน บีเซลล์ (B lymphocyte, B cell) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซต์ ซึ่งเมื่อถูกกระตุ้นด้วยสารแปลกปลอมหรือแอนติเจนจะพัฒนาเป็นพลาสมาเซลล์ที่มีหน้าที่หลั่งแอนติบอดีมาจับกับแอนติเจน บีเซลล์มีแหล่งกำเนิดในร่างกายจากสเต็มเซลล์ ที่ชื่อว่า "Haematopoietic Stem cell" ที่ไขกระดูก พบครั้งแรกที่ไขกระดูกบริเวณก้นกบของไก่ ที่ชื่อว่า Bursa of Fabricius จึงใช้ชื่อว่า "บีเซลล์" (บางแห่งอ้างว่า B ย่อมาจาก Bone Marrow หรือไขกระดูกซึ่งเป็นที่กำเนิดของบีเซลล์ แต่นี่เป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้น) ในขณะที่ ลิมโฟไซต์อีกชนิด คือ ทีเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกที่ไขกระดูกบริเวณไทมัส จึงใช้ชื่อว่า "ทีเซลล์" บีเซลล์เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive Immune System).

ใหม่!!: เซลล์ทีเฮลเปอร์และเซลล์บี · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์กลืนกิน

เซลล์กลืนกิน (phagocyte) เป็นเซลล์ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายด้วยการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตราย รวมถึงแบคทีเรีย และเซลล์ในร่างกายที่ตายหรือหมดหน้าที่แล้ว หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:เม็ดเลือดขาว.

ใหม่!!: เซลล์ทีเฮลเปอร์และเซลล์กลืนกิน · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ทีเฮลเปอร์

Antigen กระตุ้นให้ T cell เปลี่ยนเป็น "cytotoxic" CD8+ cell หรือ "helper" CD4+ cell เซลล์ทีเฮลเปอร์ เป็นชนิดย่อยชนิดหนึ่งของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์เหล่านี้มักไม่มีบทบาทในการทำลายเซลล์อื่นหรือจับกินสิ่งแปลกปลอม ไม่สามารถฆ่าเซลล์เจ้าบ้านที่ติดเชื้อหรือฆ่าจุลชีพก่อโรคได้ และถ้าไม่มีเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ เซลล์ชนิดนี้อาจถูกมองว่าไม่มีประโยชน์ได้ เซลล์ทีเฮลเปอร์มีบทบาทในการกระตุ้นและชี้นำการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ และถือว่ามีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน มีส่วนจำเป็นในการระบุการเปลี่ยนคลาสแอนติบอดีของเซลล์บี มีบทบาทในการกระตุ้นและการเจริญของเซลล์ทีไซโตท็อกซิก และมีบทบาทในการเพิ่มขีดความสามารถในการทำลายแบคทีเรียของฟาโกไซต์อย่างแมโครฟาจได้ บทบาทต่อเซลล์อื่นๆ เหล่านี้เองที่ทำให้เซลล์ชนิดนี้ถูกเรียกว่าเซลล์ทีเฮลเปอร์ เชื่อกันว่าเซลล์ทีเฮลเปอร์ที่เจริญเต็มที่จะมีโปรตีนผิวหน้า CD4 แสดงออกอยู่เสมอ เซลล์ทีที่แสดงออกถึง CD4 จะถูกเรียกว่า เซลล์ที CD4+ มักถือกันว่าเซลล์ที CD4+ เป็นเซลล์ก่อนหน้าที่จะถูกกำหนดบทบาทเป็นเซลล์ทีเฮลเปอร์ ถึงแม้จะมีข้อยกเว้นที่พบไม่บ่อยบางอย่างก็ตาม ตัวอย่างเช่น ยังมีชนิดย่อยอื่นๆ ของเซลล์ทีเรกูลาทอรี เซลล์ทีเอ็นเค และเซลล์ทีไซโตท็อกซิก ที่ปรากฏการแสดงออกของ CD4 ด้วยเช่นกัน เซลล์ที่กล่าวภายหลังเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นเซลล์ทีเฮลเปอร์ และจะไม่ถูกกล่าวถึงอีกในบทความนี้ ความสำคัญของเซลล์ทีเฮลเปอร์เห็นได้จากการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสนี้จะติดเชื้อเซลล์ที่แสดงออกถึง CD4 รวมถึงเซลล์ทีเฮลเปอร์ด้วย ในช่วงท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี จำนวนของเซลล์ที CD4+ จะลดต่ำลง นำไปสู่ระยะแสดงอาการของการติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อเอดส์ นอกจากนี้ยังมีโรคที่พบไม่บ่อยอีกบางชนิดที่ทำให้เซลล์ที CD4+ หายไปหรือทำงานไม่เป็นปกติ โรคเหล่านี้ทำให้มีอาการคล้ายคลึงกัน และหลายโรคมีอันตรายถึงชีวิต หมวดหมู่:ลิมโฟไซต์ หมวดหมู่:วิทยาภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:เซลล์เม็ดเลือด หมวดหมู่:โลหิตวิทยา หมวดหมู่:เซลล์.

ใหม่!!: เซลล์ทีเฮลเปอร์และเซลล์ทีเฮลเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CD4CD4 T cellCD4 T lymphocyteHelper T cellT helperT helper cellTh cellsทีเฮลเปอร์เซลล์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »