โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เชอร์ล็อก โฮมส์

ดัชนี เชอร์ล็อก โฮมส์

อร์ล็อก โฮมส์ เป็นนวนิยายสืบสวนหรือรหัสคดี ประพันธ์โดยเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ นักเขียนและนายแพทย์ชาวสกอต ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตัวละคร เชอร์ล็อก โฮมส์ เป็นนักสืบชาวลอนดอนผู้ปราดเปรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านทักษะการประมวลเหตุและผล ทักษะด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยหลักฐานและการสังเกตอันคาดไม่ถึงเพื่อคลี่คลายคดี โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่อง เชอร์ล็อก โฮมส์ ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง และเรื่องสั้น 56 เรื่อง เกือบทุกเรื่องเป็นการบรรยายโดยเพื่อนคู่หูของโฮมส์ คือ นายแพทย์จอห์น เอช. วอตสัน หรือ หมอวอตสัน ในจำนวนนี้ มี 2 เรื่องที่โฮมส์เป็นผู้เล่าเรื่องเอง และอีก 2 เรื่องเล่าโดยบุคคลอื่น เรื่องสั้นสองเรื่องแรกตีพิมพ์ใน Beeton's Christmas Annual ในปี..

101 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ชาวสกอตแลนด์ฟิสิกส์พ.ศ. 2397พ.ศ. 2430พ.ศ. 2436พ.ศ. 2469พ.ศ. 2538พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพฤกษศาสตร์กฎหมายกระสุนกล้องจุลทรรศน์กะลาสีกายวิภาคศาสตร์การตรวจสถานที่เกิดเหตุการเมืองฝิ่นภาพยนตร์ภาษาอังกฤษมอร์ฟีนมอสโกมาร์ก ทเวนมาร์ติน ฟรีแมนยอดนักสืบจิ๋วโคนันรหัสคดีรอเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ระบบขนส่งมวลชนเร็วระดับเชาวน์ปัญญารายการโทรทัศน์ราเชล แม็กอดัมส์ลอนดอนละครวิทยุละครโทรทัศน์วรรณกรรมวิลเลียม เชกสเปียร์วิทยาศาสตร์สกอตแลนด์ยาร์ดสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสหรัฐสหราชอาณาจักรสตีเวน คิงหมาผลาญตระกูลหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)หุบเขาแห่งภัยอกาธา คริสตีอาชญากรรมอาชญาวิทยา...อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ผึ้งจอห์น เอช. วอตสันจัตวาลักษณ์จู๊ด ลอว์ธรณีวิทยาดวงอาทิตย์ดาราศาสตร์ดินปืนดนตรีคริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์คริสโตเฟอร์ ลีคัมภีร์ไบเบิลตรรกศาสตร์ตำรวจประเทศญี่ปุ่นประเทศฝรั่งเศสประเทศรัสเซียประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศอังกฤษประเทศอินเดียประเทศไทยประเทศเดนมาร์กปรัชญานักสืบนิติวิทยาศาสตร์นครนิวยอร์กแรงพยาบาทแว่นขยายแอร์กูล ปัวโรแฮมเลตแดรกคูลาโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอโรเจอร์ มัวร์โลกโคเคนไมครอฟต์ โฮมส์ไวโอลินไอรีน แอดเลอร์เชอร์ล็อก (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด บันทึกคดีเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด ลาโรงเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด ผจญภัยเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด จดหมายเหตุเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด คืนชีพเบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์เฮาส์ เอ็ม.ดี.เจมส์ มอริอาร์ตีเคมีเครื่องอิสริยาภรณ์6 มกราคม ขยายดัชนี (51 มากกว่า) »

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

บันทึกสถิติโลกกินเนสส์

หน้าปกกินเนสส์บุ๊ก ฉบับปี ค.ศ. 2008 หนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ หรือ กินเนสส์บุ๊ค (Guinness Book of World Records) เป็นหนังสือที่บันทึกที่สุดในโลกด้านต่างๆ โดยออกเป็นรูปแบบหนังสือรายปี.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวสกอตแลนด์

--> |region5.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และชาวสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2397

ทธศักราช 2397 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1854.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และพ.ศ. 2397 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2430

ทธศักราช 2430 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1887 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และพ.ศ. 2430 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2436

ทธศักราช 2436 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1893 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และพ.ศ. 2436 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2469

ทธศักราช 2469 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1926 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และพ.ศ. 2469 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2538

ทธศักราช 2538 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1995 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และพ.ศ. 2538 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พฤกษศาสตร์

ผลจันทน์เทศ (''Myristica fragrans'') พฤกษศาสตร์ หรือ ชีววิทยาของพืช หรือ วิทยาการพืช,พืชศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของชีววิทยา ที่ศึกษาเกี่ยวกับพืชและการเจริญเติบโต พฤกษศาสตร์มีขอบเขตการศึกษาที่กว้างขวางครอบคลุมตั้งแต่พืช สาหร่าย และเห็ดรา ศึกษาทั้งในด้านโครงสร้าง การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ เมแทบอลิซึม โรค และคุณสมบัติทางเคมีและความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการระหว่างกลุ่มต่าง ๆ การศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์เริ่มต้นจากความรู้ที่สืบต่อกันมา จากการจำแนกพืชที่กินได้ พืชสมุนไพรและพืชมีพิษ เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ จากความสนใจในเรื่องพืชของบรรพบุรษทำให้ปัจจุบันจำแนกสิ่งมีชีวิตในด้านพฤกษศาสตร์มากกว่า 550,000 ชนิดหรือสปีชี.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และพฤกษศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

กระสุน

กระสุนปืน.357 แมกนั่ม กระสุน เป็นวัตถุที่ถูกยิงออกจากปืน โดยกระสุนปืนส่วนใหญ่หัวกระสุนจะทำจากโลหะตะกั่วผสมโลหะพลวงเล็กน้อย และหุ้มหัวกระสุนด้วยโลหะทองแดงเพื่อลดการเสียรูปทรงของหัวกระสุนและเพื่อความสะดวกในการป้อนเข้าสู่รังเพลิงของปืน โดยทั่วไปคำว่ากระสุนปืนมักจะเรียกรวมถึงส่วนของ ปลอกกระสุน และ ดินปืน ในขณะที่กระสุนของปืนใหญ่จะประกอบไปด้วย ดินปืน เป็นหลัก กระสุนปืนเกิดขึ้นมาพร้อมกับการพัฒนาปืนเคียงคู่กันไป โดยเริ่มใช้ในทวีปยุโรป ในช่วงคริสต์ศักราช 1500 ถึง 1800 โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป โดยกระสุนปืนที่มีลักษณะเป็นรูปร่างเหมือนปัจจุบันเริ่มพัฒนาโดย จอห์น นอร์ตัน กัปตันของกองทัพบริติช ในปี พ.ศ. 2366 (ค.ศ. 1823).

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และกระสุน · ดูเพิ่มเติม »

กล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์ใช้เลนส์ประกอบ สร้างโดยจอห์น คัฟฟ์ (John Cuff) ค.ศ. 1750 กล้องจุลทรรศน์ เป็นอุปกรณ์สำหรับมองดูวัตถุที่มีขนาดเล็กเกินกว่ามองเห็นด้วยตาเปล่าเช่น วัตถุที่อยู่ไกล วัตถุที่อยู่สูง เป็นต้น ศาสตร์ที่มุ่งสำรวจวัตถุขนาดเล็กโดยใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้ เรียกว่า จุลทรรศนศาสตร์ (microscopy).

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และกล้องจุลทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

กะลาสี

กะลาสี หรือ กะลาสีเรือ มีความหมายกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง ลูกเรือ หรือสมาชิกที่มีหน้าที่ในเรือเดินสมุทร หรือเรือขนาดใหญ่ตามลำน้ำ ตั้งแต่ผู้บังคับเรือ จนถึงเจ้าหน้าที่ระดับล่างสุด ไม่ว่าจะเป็นเรือสินค้า เรือรบ หรือเรือโดยสาร โดยไม่รวมถึงผู้โดยสารหรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานในเรือนั้น อย่างไรก็ตาม ความหมายระดับแคบ กะลาสีอาจหมายถึงทหารเรือหรือลูกเรือระดับล่างเท่านั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ระดับสูง เช่น กัปตัน ต้นหน ต้นกล เป็นต้น กะลาสี ยังเป็นตำแหน่งในหน่วยงานราชการ เช่น กรมศุลกากร มีตำแหน่ง "กะลาสี" ซึ่งมีอัตราเงินเดือนเทียบเท่ากับยาม และพนักงานประจำเรือ คือ 4,100 บาท (พ.ศ. 2548) คำว่า "กะลาสี" ในภาษาไทย มีที่มาจากศัพท์ในภาษามลายู ว่า "kelasi" ซึ่งภาษามลายูรับจากคำศัพท์ "ขะลาสิ" ในภาษาเปอร์เซียอีกทอดหนึ่ง หมวดหมู่:การขนส่งทางน้ำ หมวดหมู่:อาชีพ.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และกะลาสี · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจสถานที่เกิดเหตุ

การตรวจสถานที่เกิดเหตุ (Crime Scene Investigation) เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ในประเทศไทยกำหนดให้การตรวจสถานที่เกิดเหตุเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำหน้าที่พนักงานสอบสวน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองพิสูจน์หลักฐาน ที่จะดำเนินการตรวจหาวัตถุพยานหรือพยานทางกายภาพอื่น ๆ เมื่อเกิดอาชญากรรมขึ้นในทุกกรณีรวมทั้งการตายด้วย ซึ่งในอนาคตถ้าหากระบบนิติเวชศาสตร์ในประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม แพทย์อาจจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุในกรณีที่มีการตายก็ได้.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และการตรวจสถานที่เกิดเหตุ · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ฝิ่น

ผลฝิ่น ฝิ่น (Opium) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมายประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษร้ายแรง ออกฤทธิ์กดระบบประสาท จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และฝิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มอร์ฟีน

มอร์ฟีน (Morphine) ที่ขายภายใต้ชื่อการค้าหลายชื่อ เป็นยาระงับปวดชนิดยาเข้าฝิ่น ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อลดความรู้สึกปวด ใช้ได้ทั้งกับอาการปวดเฉียบพลันและปวดเรื้อรัง มอร์ฟีนยังมักใช้กับอาการปวดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและระหว่างการคลอด สามารถให้ทางปาก โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดใต้ผิวหนัง เข้าหลอดเลือดดำ เข้าช่องว่างระหว่างไขสันหลัง หรือทางทวารหนัก ฤทธิ์สูงสุดอยู่ประมาณ 20 นาทีเมื่อให้เข้าหลอดเลือดดำ และ 60 นาทีเมื่อให้ทางปาก ส่วนระยะออกฤทธิ์อยู่ระหว่าง 3 ถึง 7 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีสูตรออกฤทธิ์ยาว ผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจเกิดได้มีความพยายามหายใจลดและความดันเลือดต่ำ มอร์ฟีนมีศักยะสูงสำหรับการติดยาและการใช้เป็นสารเสพติด หากลดขนาดหลังการใช้ระยะยาว อาจเกิดอาการถอนได้ ผลข้างเคียงทั่วไปมีซึม อาเจียนและท้องผูก แนะนำให้ระวังเมื่อใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะมอร์ฟีนจะมีผลต่อทารก ฟรีดริช แซร์ทัวร์เนอร์เป็นผู้แรกที่แยกมอร์ฟีนระหว่าง..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และมอร์ฟีน · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ก ทเวน

ซามูเอล แลงฮอร์น คลีเมนส์ มาร์ก ทเวน (1909) มาร์ก ทเวน (Mark Twain) เป็นนามปากกาของ ซามูเอล แลงฮอร์น คลีเมนส์ (Samuel Langhorne Clemens; 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1835 - 21 เมษายน ค.ศ. 1910) เป็นนักเขียน นักบรรยาย และนักเขียนเรื่องขบขันชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง และยังเป็นคนขับเรือกลไอน้ำ นักขุดทอง และนักหนังสือพิมพ์อีกด้วย ในช่วงสูงสุดของชีวิตเขานั้น เรียกได้ว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้นเลยทีเดียว วิลเลียม ฟอล์คเนอร์ (William Faulkner) ได้เขียนเกี่ยวกับ มาร์ก ทเวน ไว้ว่า เป็น "นักเขียนอเมริกันแท้ ๆ คนแรก และพวกเรานับแต่นั้นมาเป็นทายาทของเขา" ผลงานของเขาที่น่าจะเป็นที่คุ้นตาของคนไทย ก็คือ ทอม ซอว์เยอร์ ผจญภัย (The Adventures of Tom Sawyer) และ ฮัคเคิลเบอรี่ ฟินน์ ผจญภัย (The Adventures of Huckleberry Finn).

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และมาร์ก ทเวน · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ติน ฟรีแมน

มาร์ติน จอห์น คริสโตเฟอร์ ฟรีแมน (Martin John Christopher Freeman; เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1971) เป็นนักแสดงชาวอังกฤษที่มีผลงานละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพยนตร์สั้น และละครเวที เขาเริ่มเข้าวงการด้วยการเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์เรื่อง เดอะบิลล์ ในปี ค.ศ. 1997 และเป็นที่รู้จักมากที่สุดจากการรับบทเป็นทิม แคนเทอร์เบอรี ในภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์เรื่อง ดิออฟฟิซ (สหราชอาณาจักร), นายแพทย์จอห์น วอตสัน ในภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์เรื่อง เชอร์ล็อก ของบีบีซี, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ในภาพยนตร์ไตรภาคชุด ''เดอะฮอบบิท'' และเลสเตอร์ ไนการ์ด ในภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์เรื่อง ฟาร์โก ผลงานภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ของฟรีแมนที่มีชื่อเสียงได้แก่ ทุกหัวใจมีรัก (ค.ศ. 2003), เดอะฮิตช์ไฮเกอส์ไกด์ทูเดอะแกลักซี (ค.ศ. 2005), นาทิวิตี! (ค.ศ. 2009), ภาพยนตร์สามเรื่องชุด ''ทรีเฟลเวอส์คอร์เนตโต'' (โดยมีบทบาทเด่นที่สุดจากเรื่อง เดอะเวิลดส์เอ็นด์ ค.ศ. 2013) และ ''แบล็ค แพนเธอร์'' (ค.ศ. 2018) ในบรรดารางวัลทางการแสดงทั้งหมดที่เขาได้รับนั้นมีรางวัลเอ็มมี รางวัลสถาบันศิลปะภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งอังกฤษ (แบฟตา) และรางวัลเอ็มไพร์รวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอ็มมี 2 รางวัล รางวัลแบฟตา 2 รางวัล รางวัลแซเทิร์น 1 รางวัล และรางวัลลูกโลกทองคำอีก 1 รางวัล.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และมาร์ติน ฟรีแมน · ดูเพิ่มเติม »

ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน

อดนักสืบจิ๋วโคนัน เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น เรื่องยาวแนวสืบสวนสอบสวน เรื่องและภาพโดย อาโอยาม่า โกโช ซึ่งตีพิมพ์บน นิตยสารรายสัปดาห์โชเน็งซันเดย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยถูกตีพิมพ์ในหลายภาษาด้วยกัน นอกจาก ภาษาญี่ปุ่น แล้วยังมี ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษาอินโดนีเซีย, ภาษาฟินแลนด์, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาดัตช์, ภาษาเยอรมัน, ภาษาอิตาลี, ภาษามาเลเซีย, ภาษาเกาหลี, ภาษาสเปน, ภาษากาตาลา, ภาษาสวีเดน, ภาษานอร์เวย์, ภาษาเดนมาร์ก, ภาษาเวียดนาม, ภาษาฟิลิปปินส์ และภาษาไทย นอกจากยอดนักสืบจิ๋มโคนันจะได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูนแล้ว ยังได้มีการนำมาดัดแปลงทำเป็นการ์ตูนซีรีส์โทรทัศน์โดยแอนิเมชันสตูดิโอโตเกียวมูฟวี่ชินชะ (โดยปัจจุบันรู้จักกันในชื่อของทีเอมเอส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด) โดยมีผู้กำกับอย่างโคดะมะ เคนจิ และยามาโมโตะ ยาซุยจิโร่ซึ่งนำออกอากาศผ่าน สถานีโทรทัศน์นิปปอน, สถานีโทรทัศน์โยมิอุริ, และ สถานีโทรทัศน์แอนิแมกซ์ ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2539 ด้วยกระแสตอบรับที่ดีของยอดนักสืบจิ๋วโคนันจึงได้มีการจัดทำการตูนภาพยนตร์ซึ่งออกฉายช่วงสัปดาห์หยุดยาวตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม ของญี่ปุ่น (หรือโกลเด้นวีค) ของทุกๆ ปี อีกทั้งยังมีการจัดทำซีรีส์คนแสดงอีกด้ว.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และยอดนักสืบจิ๋วโคนัน · ดูเพิ่มเติม »

รหัสคดี

รหัสคดี อ่านว่า ระ-หัด-สะ-คดี เป็นคำสมาส ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า mystery story ซึ่งรวมความถึงนิยายลึกลับ อาชญนิยาย นิยายนักสืบ นิยายสยองขวัญ นิยายสืบสวน และรวมถึงงานเขียนที่ไม่ใช่นิยาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมด้วย คำว่ารหัสคดีเป็นศัพท์ที่เพิ่งปรากฏขึ้นบนวงการวรรณศิลป์เมื่อปลายปี พ.ศ. 2542 บนนิตยสารรายสามเดือนชื่อ รหัสคดี ซึ่งตีพิมพ์บทความ เรื่องสั้น บทกลอน อันเข้าข่ายว่าเป็น "รหัสคดี" โดยนิยามคือ "เรื่องเล่าที่เน้นการคลี่คลายปัญหาซ่อนเงื่อนของเหตุการณ์ชุดหนึ่ง" เรื่องเล่าประเภทนี้จะสร้างปมปริศนาอันคลุมเครือกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นและท้าทายความคิดของผู้อ่านหรือผู้ชมให้เกิดความหฤหรรษ์ในการติดตาม หมวดหมู่:วรรณกรรม.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และรหัสคดี · ดูเพิ่มเติม »

รอเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์

รอเบิร์ต จอห์น ดาวนีย์ จูเนียร์ (Robert John Downey, Jr.) เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1965 เป็นนักแสดง นักดนตรีชายชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากการรับบทเป็น ไอรอนแมน.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และรอเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบขนส่งมวลชนเร็ว

รถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ระบบขนส่งมวลชนเร็ว (rapid transit) หรือที่มักเรียกว่า รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน (subway, underground) รถไฟในเมือง (metro) รถไฟรางหนัก (heavy rail) มักจะมีในเมืองใหญ่ที่สำคัญทั่วโลก รถไฟฟ้าใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่ที่กรุงลอนดอน เปิดใช้เมื่อ พ.ศ. 2406 ปัจจุบันมีเมืองทั้งหมด 162 เมืองที่มีรถไฟฟ้าใต้ดิน.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และระบบขนส่งมวลชนเร็ว · ดูเพิ่มเติม »

ระดับเชาวน์ปัญญา

ระดับเชาวน์ปัญญา หรือ ไอคิว (IQ ย่อจาก Intelligence quotient) หมายถึง ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ การเชื่อมโยง ไอคิว เป็นศักยภาพทางสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก ไอคิว สามารถวัดออกมาเป็นค่าสัดส่วนตัวเลขที่แน่นอนได้.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และระดับเชาวน์ปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

รายการโทรทัศน์

รายการทอล์กโชว์ The Oprah Winfrey Show โดย โอปราห์ วินฟรีย์ รายการโทรทัศน์ เป็นส่วนต่าง ๆ ของการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ การออกอากาศรายการโทรทัศน์ มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1936 ในกรุงลอนดอน รายการโทรทัศน์ อาจออกอากาศเพียงแค่ครั้งเดียว หรือมีตอนต่อ ที่เรียกว่า ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ (TV series) ส่วนมากมักเป็นรายการประเภทละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์มักแบ่งเป็นภาค ๆ โดยในหนึ่งภาค ในสหรัฐอเมริกาจะเรียกว่า ฤดูกาล (season) แต่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกว่า ชุด (series) แต่ละฤดูกาลหรือชุดจะมีความยาวประมาณ 6-26 ตอน รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศเป็นพิเศษเพียงครั้งเดียว จะเรียกว่า รายการพิเศษ (special program) และสถานีวิทยุโทรทัศน์บางสถานี ยังมี ภาพยนตร์โทรทัศน์ (TV movies) ที่สร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์โดยเฉพาะ ไม่ได้ออกฉายทางโรงภาพยนตร์ หรือบันทึกลงในวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี หรือสื่ออื่น ๆ ทุกวันนี้ การออกอากาศ ภาพยนตร์โฆษณา (commercial advertisement) ถือเป็นส่วนสำคัญของรายการโทรทัศน์ โดยมีข้อปฏิบัติเป็นเกณฑ์ว่า ในการออกอากาศรายการโทรทัศน์ 1 ชั่วโมง จะมีภาพยนตร์โฆษณาได้ไม่เกิน 15 นาที เหมือนในโรงภาพยนตร.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และรายการโทรทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

ราเชล แม็กอดัมส์

ราเชล แอน แม็กอดัมส์ (Rachel Anne McAdams) เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978, December 7, 1978 เป็นนักแสดงชาวแคนาดาสร้างชื่อจากบท "เรจิน่า จอร์จ" ในภาพยนตร์ปี 2004 Mean Girls จากนั้นแสดงในภาพยนตร์ดัดแปลงจากบทประพันธ์เรื่อง The Notebook และแสดงร่วมกับโอเวน วิลสันและวินซ์ วอห์น ในภาพยนตร์ตลกเรื่อง Wedding Crashers ผลงานแสดงภาพยนตร์เรื่องอื่นที่เธอร่วมแสดงเช่น The Family Stone, Red Eye และ The Time Traveler's Wife และยังแสดงในภาพยนตร์ของกาย ริตชี เรื่อง เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ดับแผนพิฆาตโลก และ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ เกมพญายมเงามรณะ ในบท ไอรีน แอดเลอร์ ด้วย จากนั้นในปี 2015 เธอปรากฏตัวอยู่ในภาพยนตร์รักตลกของคาเมรอน โครว์ ในเรื่อง Aloha และภาพยนตร์ดราม่า เรื่องสังเวียนเดือด (Southpaw).

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และราเชล แม็กอดัมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ละครวิทยุ

ละครวิทยุ เป็นการนำการแสดงที่มีอยู่มาออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง ดังนั้นลักษณะของบทละครวิทยุจึงแตกต่างจากบทละครทั่วไป ผู้ประพันธ์จะต้องหาวิธีสร้างจินตนาการให้แก่ผู้ฟัง ให้สามารถเข้าใจและนึกถึงภาพความเป็นไปของเรื่องได้ล นับตั้งแต่บุคลิกลักษณะ กิริยาท่าทาง อุปนิสัยใจคอของ ตัวละคร อารมณ์และความรู้สึกต่างๆ จะต้องแสดงออกทางคำพูดของตัวละคร ใส่ความรู้สึกทางคำพูด การเจรจาบทต้องใส่อารมณ์เป็นพิเศษ เพราะผู้ฟังมองไม่เห็น ภาพตัวละคร บทละครวิทยุต้องมี บทบรรยาย แทรกเพื่อช่วยให้การดำเนินเรื่องกระชับ เป็นการเล่าประวัติ เหตุการณ์ต่างๆ เสริมจาก บทละคร ผู้ประพันธ์อาจใช้วิธีบรรยายโดยสอดแทรกไว้ในบทสนทนาของตัวละคร ผู้ควบคุมการแสดง จะต้องมีความสามารถเข้าใจ ตอนไหนจะให้ตัวละครใช้เสียงอย่างไร เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของเรื่อง ตัวละครสำหรับบทละครวิทยุต้องมีตัวสำคัญประมาณ 3-4 ตัวและต้องเลือกผู้แสดงที่มี เสียงแตกต่างกันมากๆ มิฉะนั้นผู้ฟังจะแยกเสียงไม่ออกว่าเป็นบทของตัวละครตัวไหน.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และละครวิทยุ · ดูเพิ่มเติม »

ละครโทรทัศน์

ละครโทรทัศน์ คือรายการทางโทรทัศน์ที่มีบทละครและเรื่องราว ไม่รวมถึงรายการจำพวก กีฬา ข่าว เรียลลิตี้โชว์ เกมโชว์ สแตนอัพคอเมดี้ และวาไรตี้โชว์ โดยละครโทรทัศน์โดยมากจะมีหลายตอน เน้นความบันเทิงเป็นหลัก เพื่อการรับชมภายในเคหสถาน นักแสดงที่แสดงในละครโทรทัศน์จะใช้หลายมุมกล้อง บางครั้งนักแสดงจะไม่ทราบว่าเมื่อไรกล้องจะจับภาพ ทางด้านบทละครโทรทัศน์ ต้องมีความละเอียดทุกขั้นตอนกว่าละครเวที เพราะบทโทรทัศน์เป็นตัวกำหนดมุมกล้อง กำหนดฉาก การแต่งกายของผู้แสดง ดนตรี เสียงประกอบ และบางเรื่องยังมีคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาเพื่อความสมจริงอีกด้ว.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และละครโทรทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และวิลเลียม เชกสเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สกอตแลนด์ยาร์ด

ป้ายด้านหน้าอาคารนิวสกอตแลนด์ยาร์ดหลังเดิมในเขตวิกตอเรียของกรุงลอนดอน ปัจจุบันป้ายนี้ถูกย้ายไปยังที่ทำการแห่งใหม่ สกอตแลนด์ยาร์ด (Scotland Yard) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ นิวสกอตแลนด์ยาร์ด เป็นนามนัยของสำนักงานใหญ่ราชการตำรวจนครบาล (Metropolitan Police Service) กำลังตำรวจอาณาเขต (territorial police force) ซึ่งรับผิดชอบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยกรุงลอนดอนส่วนใหญ่ ชื่อนี้ได้มาจากที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ตำรวจนครบาลเดิมที่ 4 ไวต์ฮอลเพลซ ซึ่งมีทางเข้าหลังที่ถนนชื่อ เกรตสกอตแลนด์ยาร์ด ทางเข้าสกอตแลนด์ยาร์ดกลายมาเป็นทางเข้าสาธารณะของสถานีตำรวจดังกล่าว และเมื่อเวลาผ่านไป ชื่อถนนและตำรวจนครบาลกลายเป็นไวพจน์ นิวยอร์กไทมส์ เขียนใน..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และสกอตแลนด์ยาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สตีเวน คิง

ตีเฟน เอ็ดวิน คิง เป็นนักเขียนนิยายเขย่าขวัญ ชาวอเมริกัน เกิดวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2490 เคยใช้นามปากกาว่า ริชาร์ด บาร์คแมน (Richard Bachman) และ จอห์น สวิเธน (John Swithen) เขียนนวนิยายเรื่องแรกคือ Carrie ในปี พ.ศ. 2516 ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Doubleday & Co.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และสตีเวน คิง · ดูเพิ่มเติม »

หมาผลาญตระกูล

หมาผลาญตระกูล (The Hound of the Baskervilles) เป็นนวนิยายอาชญากรรมเรื่องที่สามจากสี่เรื่อง เขียนโดยเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ที่กล่าวถึงนักสืบเชอร์ล็อก โฮมส์ เดิมเขียนเป็นตอนใน เดอะสแตรนด์แมกาซีน (The Strand Magazine) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และหมาผลาญตระกูล · ดูเพิ่มเติม »

หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)

ันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) (24 สิงหาคม พ.ศ. 2439 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2497) นักเขียน นักประพันธ์ บรรณาธิการหนังสือ สารานุกูล เป็นผู้แต่งเพลงชาติไทย เป็นนายกสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 4 เมื่อปี..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) · ดูเพิ่มเติม »

หุบเขาแห่งภัย

หุบเขาแห่งภัย (The Valley of Fear) หรือ หุบเขาแห่งความกลัว คือนวนิยายเรื่องที่ 4 ซึ่งเป็นนวนิยายเรื่องยาวของเชอร์ล็อก โฮมส์ ที่เขียนโดยเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารสแตรนด์ ระหว่างเดือนกันยายน..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และหุบเขาแห่งภัย · ดูเพิ่มเติม »

อกาธา คริสตี

อกาธา คริสตี อกาธา (มิลเลอร์) คริสตี (Agatha Christie, ชื่อเต็ม: Agatha Mary Clarissa, บรรดาศักดิ์ Lady Mallowan, 15 กันยายน 2433 - 12 มกราคม 2519, อายุ 86 ปี) เกิดที่เมืองทอร์คีย์ มณฑลเดวอน ครอบครัวมีฐานะปานกลางมีบิดาเป็นชาวอเมริกัน มารดาเป็นชาวอังกฤษเป็นลูกคนเล็กของครอบครัว โดยคริสตีเลือกถือสัญชาติอังกฤษ เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักเขียนนิยายแนวสืบสวนสอบสวน ได้รับสมญานามว่า "ราชินีแห่งนวนิยายอาชญากรรม" และเป็นผู้ที่ได้รับการบันทึกจากกินเนสต์บุ๊คว่า เป็นนักเขียนที่มียอดขายหนังสือมากที่สุดในโลก ตัวละครนักสืบที่โด่งดังของเธอ อาทิเช่น แอร์กูล ปัวโร, เจน มาร์เปิ้ล นอกจากนี้ องค์การยูเนสโก ยังได้ระบุว่า คริสตี เป็นนักเขียนที่มีผลงานแปลมากที่สุดในโลก เป็นรองแต่เพียงงานของวอลต์ ดิสนี่ย์ โปรดักชั่น เท่านั้น คริสตียังมีผลงานนวนิยายโรแมนติกในนามปากกาว่า Mary Westmacott บทละครเวทีของเธอเรื่อง The Mousetrap เป็นการแสดงที่ได้บันทึกสถิติว่าออกแสดงนานที่สุดในโลก โดยเปิดการแสดงที่โรงละครแอมบาสซาเดอร์ในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และอกาธา คริสตี · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรม

อาชญากรรม คือ การกระทำผิด โดยทำให้เกิดความเดือดร้อน เสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน หรือ บุคคล เป็นการเรียกการกระทำทางคดีอาญาแบบทั่วไป ตัวอย่าง อาชญากรรม เช่น การฆ่าคนตาย ปล้นทรัพย์ ข่มขืน ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปของทุกสังคมมักกำหนดบทลงโทษของผู้ก่ออาชญากรรม (เรียกว่า อาชญากร).

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และอาชญากรรม · ดูเพิ่มเติม »

อาชญาวิทยา

อาชญาวิทยา (อังกฤษ: criminology) เป็นสาขาวิชาที่มุ่งศึกษาถึงการอธิบายสาเหตุของการกระทำความผิดของอาชญากร (ผู้กระทำผิด) ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 3 สาเหตุหลักๆ คือ การกระทำความผิดที่เกิดจากปัจจัยทางชีวภาพ, การกระทำความผิดที่เกิดจากปัจจัยทางจิต และการกระทำความผิดที่เกิดจากปัจจัยทางสังคม อาชญาวิทยาเป็นสาขาสหวิทยาการของพฤติกรรมศาสตร์ที่ดึงเอางานวิจัยจากสังคมวิทยา จิตวิทยา จิตเวชศาสตร์ มานุษยวิทยาสังคม และนิติศาสตร.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และอาชญาวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์

อาร์เธอร์ อิกเนเชียส โคนัน ดอยล์ (Arthur Ignatius Conan Doyle) เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ในเมืองเอดินบะระ แคว้นสกอตแลนด์ แห่งสหราชอาณาจักร และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 เป็นนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย ประวัติศาสตร์ และแพทย์คนสำคัญของสกอตแลนด์ แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุด คือนิยายรหัสคดีชุด "เชอร์ล็อก โฮมส์" โคนัน ดอยล์ได้รับการศึกษาจากคณะเยซูอิต ที่วิทยาลัยสโตนีเฮิสต์ และจบการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ เมื่อปี ค.ศ. 1881 แล้วประกอบอาชีพแพทย์ตามที่ได้ร่ำเรียนมา ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มงานเขียนเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เรื่องสั้นเรื่องแรกของเขาได้รับตีพิมพ์ในวารสารแชมเบอร์ (Chambers) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1879 และเขียนสารคดีเรื่องแรก ในวารสารการแพทย์ "British Medical Journal" ในเดือนเดียวกัน เรื่องที่ไม่ได้ตีพิมพ์เรื่องหนึ่งในช่วงนั้น แสดงถึงการทดลองด้วยคุณลักษณะ 2 อย่าง คือ การใช้ตัวเอกที่มีความรู้ในศาสตร์ลับ และคนเล่าเรื่องที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านใด แต่พัฒนาการของแนวคิดดังกล่าวก้าวถึงจุดสูงสุดเมื่อปี ค.ศ. 1886 และสร้างสีสันมีชีวิตชีวามาก จากเรื่อง "A Study in scarlet" เป็นเรื่องของนักสืบชื่อเชอร์ล็อก โฮลมส์ และเพื่อนชื่อหมอวัตสัน ด้วยการสร้างบทสนทนาที่สนุกสนาน น่าติดตาม ทำให้เรื่องของเขาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง และตีพิมพ์เป็นเรื่องสั้นกว่า 56 เรื่อง และนวนิยาย 4 เรื่อง โดยได้รับแนวคิดจาก "Socrates and his disciples" ของเพลโต และ "Don Quixote" ของเซอร์บันเตส เป็นต้น โคนัน ดอยล์ยังถือว่าเป็นหนี้ความรู้ของเอ็ดก้าร์ แอลลแลน โป (Edgar Allan Poe) บิดาแห่งรหัสคดี แต่การสร้างสรรค์เรื่องของโคนัน ดอยล์ทำให้นวนิยายชุดเชอร์ล็อก โฮมส์มีความแตกต่างจากนิยายสืบสวนทั่วไป และกลายเป็นนิยายรหัสคดียิ่งใหญ่ในชั่วเวลาไม่นาน เขาให้เขียนให้โฮมส์เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1893 เพื่อจบนิยายชุดนี้ แต่ต้องแต่งเรื่องให้โฮมส์กลับมาอีกครั้ง ตามคำเรียกร้องของบรรดานักอ่านของเขา เรื่องยาวของโคนัน ดอยล์ได้แก่เรื่องเล่าสมัยกลาง เกี่ยวกับทหารในคริสต์ศตวรรษที่ 14 การปฏิวัติรัฐประหารในประเทศต่าง ๆ แต่ดูเหมือนเรื่องสั้นของเขาจะเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากกว่า งานของเขายังมีเรื่องราวการผจญภัยกึ่งนิยายวิทยาศาสตร์ อย่างเรื่องสั้นชุด "Professor Challenger" เป็นต้น โคนัน ดอยล์นั้นได้ทำหน้าที่เป็นแพทย์เรื่อยมาตั้งแต่จบการศึกษา และเลิกอาชีพนี้ไปทำงานด้านวรรณกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1891 จากนั้นย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน และต่อมาได้ย้ายไปที่เมืองซัสเซ็กซ์ และเอสเซ็กซ์ เมื่อ ปี ค.ศ. 1902 โคนัน ดอยล์ได้รับพระราชทานยศอัศวิน อันเนื่องมาจากการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะในสงครามแอฟริกา หลังจากบุตรชายของเขาเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งเขาได้เขียนประวัติเหตุการณ์ต่าง ๆ เอาไว้) เขาเริ่มสนใจเรื่องธรรมะ ซึ่งมีผลต่อเรื่องสยองขวัญของเขาด้วย โคนัน ดอยล์เสียชีวิตเมื่อปี 1930 อายุได้ 71 ปี ผ่านการสมรส 2 ครั้ง และมีบุตร 5 คน.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และอาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ · ดูเพิ่มเติม »

ผึ้ง

ำหรับผึ้งในความหมายอื่น ดูที่: ผึ้ง ผึ้ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่ มนุษย์รู้จักผึ้งมานาน 7000 ปีแล้ว ฟาโรห์เมเนสของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์ คาดว่าผึ้งมีมากกว่า 30,000 ชนิด ซึ่งมากกว่ามนุษย์, ปลา และสัตว์เลื้อยคลานรวมกันเสียอีก ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เอช. วอตสัน

นายแพทย์จอห์น เอ.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และจอห์น เอช. วอตสัน · ดูเพิ่มเติม »

จัตวาลักษณ์

ัตวาลักษณ์ (The Sign of the Four) หรือฉบับแปลใหม่ใช้ชื่อว่า รหัสลักษณ์แห่งสี่ เป็นนวนิยายเรื่องยาวเรื่องที่ 2 ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์‎ เกี่ยวกับการสืบสวนคดีของนักสืบชื่อดัง เชอร์ล็อก โฮมส์ กับหมอวอตสัน สหายของเขา ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และจัตวาลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

จู๊ด ลอว์

วิด จู๊ด เฮย์เวิร์ธ ลอว์ (David Jude Heyworth Law; เกิด 29 ธันวาคม ค.ศ. 1972) เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และจู๊ด ลอว์ · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีวิทยา

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และธรณีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดินปืน

นปืนไร้ควัน ดินปืน เป็นสารเคมีที่ไวไฟยิ่งยวด และเมื่อเกิดการเผาไหม้แล้วจะเกิดแก๊ส ซึ่งนำคุณสมบัติด้านนี้ไปใช้ประโยชน์ในหลักการทำงานของปืน กล่าวคือ เมื่อดินปืนเกิดการเผาไหม้อย่างช้าๆ จนไม่สร้างความเสียหายแก่ลำกล้องปืนแล้ว จะเกิดแก๊สขึ้นมา แล้วแก๊สเหล่านี้จะไปขับดันกระสุนที่บรรจุในปืน ทำให้กระสุนปืนพุ่งออกมาจากตัวปืนด้วยความเร็วสูง ดินปืนถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวจีนอย่างแน่นอน หลักฐานชิ้นแรกสุดคือ ดินปืนดำในศตวรรษที่ 13 ที่โรเจอร์ เบคอน อธิบายสูตรเอาไว้.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และดินปืน · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรี

น้ตเพลง ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์

ริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ หรือ อาร์เธอร์ คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ (Christopher Plummer หรือ Arthur Christopher Orne Plummer) (13 ธันวาคม พ.ศ. 2472 -) เป็นนักแสดงอาวุโสชาวแคนาดา มีชื่อเสียงจากการแสดงละครเวที และบท กัปตัน ฟอน แทรปป์ จากภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักเพลงสวรรค์ ในปี ค.ศ. 1965 และบทนายพลชาง จากภาพยนตร์ไซไฟ สตาร์เทร็ค ภาค 6 ในปี ค.ศ. 1991 คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ เกิดที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา เริ่มแสดงละครบรอดเวย์ตั้งแต่อายุ 25 ปี ในปี..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และคริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ ลี

ซอร์ คริสโตเฟอร์ แฟรงก์ คารานดีนี ลี, CBE, CStJ (27 พฤษภาคม ค.ศ. 1922 – 7 มิถุนายน ค.ศ. 2015) เป็นนักแสดง นักร้อง และนักประพันธ์ชาวอังกฤษ ลีเริ่มต้นการแสดงในบทตัวร้ายและเป็นที่รู้จักที่สุดในฐานะนักแสดงบทแดรกคูลาในภาพยนตร์หลายเรื่องของค่าย Hammer Lee บทการแสดงอื่นๆ ได้แก่  Francisco Scaramanga ในภาพยนตร์ 007 เพชฌฆาตปืนทอง (ค.ศ. 1974), ซารูมานในภาพยนตร์ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ค.ศ. 2001– ค.ศ.2003) และภาพยนตร์ชุด เดอะฮอบบิท ตลอดจนบทเคานต์ดูกูในภาพยนตร์ 2 ภาคหลังของสตาร์ วอร์ส (ค.ศ. 2002 และค.ศ. 2005).

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และคริสโตเฟอร์ ลี · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ตรรกศาสตร์

ตรรกศาสตร์ (logic - มีรากศัพท์จากภาษากรีกคือ λόγος, logos) โดยทั่วไปประกอบด้วยการศึกษารูปแบบของข้อโต้แย้งอย่างเป็นระบบ ข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผลคือข้อโต้แย้งที่มีความสัมพันธ์ของการสนับสนุนเชิงตรรกะที่เฉพาะเจาะจงระหว่างข้อสมมุติพื้นฐานของข้อโต้แย้งและข้อสรุป ตรรกศาสตร์เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล โดยมักจะเป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) ตรรกศาสตร์ เป็นการศึกษาที่มีมานานโดยมนุษยชาติที่เจริญแล้ว เช่น กรีก จีน หรืออินเดีย และถูกยกขึ้นเป็นสาขาวิชาหนึ่งโดย อริสโตเติล.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตำรวจ

ตำรวจในประเทศอิตาลี ตำรวจ เป็นชื่อเรียกของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เรียกชื่อตามหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ตำรวจกองปราบ ตำรวจดับเพลิง ตำรวจน้ำ ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจรถไฟ ตำรวจป่าไม้ ตำรวจจราจร ตำรวจนครบาล ตำรวจทางหลวง ตำรวจภูธร ตำรวจลับ ตำรวจวัง ตำรวจสภา ตำรวจสันติบาล ตำรวจหลวง.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และตำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเดนมาร์ก

นมาร์ก (Denmark; แดนมาก) (Danmark) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิก มีแผ่นดินหลักตั้งอยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์ ทางทิศเหนือของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางบกเพียงประเทศเดียว ทางทิศใต้ของประเทศนอร์เวย์ และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน มีพรมแดนจรดทะเลเหนือและทะเลบอลติก เดนมาร์กมีดินแดนนอกชายฝั่งห่างไกลออกไปสองแห่ง คือหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ ซึ่งแต่ละแห่งมีอำนาจปกครองตนเอง เดนมาร์กเป็นประเทศองค์ประกอบที่มีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป แต่ยังไม่เข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโร เดนมาร์กเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และประเทศเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

นักสืบ

นักสืบ เป็นผู้สอดแนม มักทำงานร่วมกับตำรวจหรือส่วนบุคคลอื่น ๆ ในภาษาอังกฤษอาจเรียกอื่นได้อีกว่า Private investigators (P.I. หรือ "private eyes") ในอีกนัยหนึ่งนักสืบมักมีบทบาทในนวนิยายต่าง ๆ เป็นผู้ไขคดีฆาตกรรมและคดีต่าง ๆ มากม.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และนักสืบ · ดูเพิ่มเติม »

นิติวิทยาศาสตร์

นิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) เป็นการนำเอาวิชาความรู้ในทางด้านวิทยาศาสตร์ ในการเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ตรวจร่างกายและวัตถุพยานเพื่อช่วยในการค้นหาความจริง มักเป็นการใช้วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ กายภาพ เคมี คอมพิวเตอร์ และกีฏวิทยา เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน และดำเนินคดีทางกฎหมายเพื่อช่วยกระบวนการยุติธรรมในการพิสูจน์หลักฐานและชี้นำไปสู่ผู้กระทำความผิดอาญา ปัจจุบันมีการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นในต่างประเทศ เพื่อลดการโต้แย้งความหวาดระแวงระหว่างผู้ควบคุมกฎหมายกับผู้ถูกกล่าวหา เนื่องเพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องหลักการและเหตุผลที่เป็นจริงสามารถพิสูจน์ได้ โดยนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีความเกี่ยวเนื่องกับนิติเวชศาสตร์หรือการชันสูตรศพ สามารถแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และนิติวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แรงพยาบาท

แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) หรือฉบับแปลใหม่ใช้ชื่อว่า แค้นพยาบาท เป็นผลงานเขียนแนวสืบสวนสวบสวนของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ เล่มแรกที่มีตัวเอกคือ เชอร์ล็อก โฮมส์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1887 เซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์เขียนเรื่องนี้เมื่ออายุได้ 27 ปี โดยเป็นหมอฝึกหัดอยู่ที่เซาท์ซี (Southsea) ประเทศอังกฤษ ในช่วงเวลานั้นเขาได้เขียนเรื่องสั้นก่อนแล้วหลายเรื่องในนิตยสารต่าง ๆ เช่น ลอนดอนโซไซตี นวนิยายเล่มต่อไปที่ตามมาก็คือ จัตวาลักษณ์ หมวดหมู่:เชอร์ล็อก โฮมส์ หมวดหมู่:วรรณกรรมในปี พ.ศ. 2430.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และแรงพยาบาท · ดูเพิ่มเติม »

แว่นขยาย

องสแตมป์ผ่านแว่นขยาย แว่นขยายทำจากพลาสติก เลนส์พลาสติกที่ใช้ในการขยายภาพหน้าจอโทรทัศน์ แว่นขยาย เป็นกระจกที่ทำจากเลนส์นูน ใช้ในการขยายภาพวัตถุ เลนส์มักจะใส่อยู่ในกรอบพร้อมด้ามจับ แว่นขยายยังเป็นสัญลักษณ์ของนักสืบในนวนิยาย โดยเฉพาะเชอร์ล็อก โฮม.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และแว่นขยาย · ดูเพิ่มเติม »

แอร์กูล ปัวโร

แอร์กูล ปัวโร (Hercule Poirot; สัท.: บางครั้งในภาษาไทยมักจะอ่านผิดเป็น เฮอร์คูล ปัวโรต์) เป็นตัวละครนักสืบชาวเบลเยียม ปรากฏในนิยายนักสืบของอกาธา คริสตี ปัวโรต์มีดวงตาสีเขียว ร่างอ้วน มีหนวดแข็งเพราะทาด้วยน้ำมัน เขามีผู้ช่วยคนหนึ่งซึ่งเป็นทั้งเพื่อนและผู้ช่วยชื่อว่า ผู้กองเฮสติงค์และเจน มาเบล หลานสาวของเจน มาร์เปิล เขาชอบใช้เซลล์สมองสีเทาในการไขคดีต่าง ๆ มากมายจนเป็นที่สำเร็จมาแล้วหลายคดี จนทำให้เขาได้รับการชื่นชมจากสารวัตรแจปส์ แห่งสกอตแลนด์ยาร์ดที่เป็นเพื่อนของเขา ปัวโรต์ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในเรื่อง The Mysterious Affair at Styles นิยายเรื่องแรกของอกาธา คริสตี เขาเป็นตัวละครที่โด่งดังและได้รับความนิยมที่สุดตัวหนึ่งของคริสตี เห็นได้จากการปรากฏตัวในนวนิยายมากกว่า 30 เรื่อง และเรื่องสั้นมากกว่า 50 เรื่อง.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และแอร์กูล ปัวโร · ดูเพิ่มเติม »

แฮมเลต

นักแสดงเอดวิน บูธ ในแฮมเลต แฮมเลต (Hamlet) เป็นบทละครแนวโศกนาฏกรรมเขียนขึ้นโดยวิลเลียม เชกสเปียร์ เชื่อกันว่าประพันธ์ขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และแฮมเลต · ดูเพิ่มเติม »

แดรกคูลา

แดรกคูลา (อังกฤษ: Dracula) นวนิยายภาษาอังกฤษแนวสยองขวัญที่มีชื่อเสียงที่สุดของ บราม สโตกเกอร์ เป็นเรื่องราวของแวมไพร์หรือผีดิบดูดเลือดในโรมาเนีย ที่เดินทางมาอังกฤษเพื่อเผยแพร่เผ่าพันธุ์ โดยมีฉากหลังเป็นอังกฤษที่ปกคลุมด้วยบรรยายกาศอึมครึมในยุควิกตอเรี.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และแดรกคูลา · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ

โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ (Johann Wolfgang von Goethe, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2292 — 22 มีนาคม พ.ศ. 2375) เป็นผู้รู้รอบด้านชาวเยอรมัน เขาเป็นทั้งนักเขียนนิยาย นักเขียนบทละคร นักสิทธิมนุษยชน นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา รวมถึงดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะบริหารของไวมาร์ในประเทศเยอรมนีอยู่ 10 ปี เกอเทอเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของวรรณคดีเยอรมัน คลาสสิกใหม่ของยุโรปและโรมัน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกอเทอและงานของเขาได้ส่งผลไปทั่วยุโรปและได้สร้างแรงบันดาลใจกับงานต่อ ๆ มาทางด้าน ดนตรี การละคร และกวี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2292 หมวดหมู่:นักเขียนชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญา หมวดหมู่:ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักสิทธิมนุษยชน หมวดหมู่:ผู้เขียนอัตชีวประวัติชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ · ดูเพิ่มเติม »

โรเจอร์ มัวร์

รเจอร์ มัวร์ ในบท เจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์บอนด์เรื่อง Mianly Millicent ออกฉายในค.ศ. 1964 โรเจอร์ มัวร์ กับ โทนี่ เคอร์ติส ในซีรีส์ The Persuaders! ในค.ศ. 1971 ถึง ค.ศ. 1972 A View to a Kill (ค.ศ. 1985) ภาพ โรเจอร์ มัวร์ ถ่ายเมื่อ ค.ศ. 2007 ภาพ โรเจอร์ มัวร์ ถ่ายเมื่อ ค.ศ. 2009 ภาพ โรเจอร์ มัวร์ ถ่ายเมื่อ ค.ศ. 2010 เซอร์โรเจอร์ จอร์จ มัวร์ (Roger George Moore; 14 ตุลาคม ค.ศ. 1927 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2017) เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และโรเจอร์ มัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และโลก · ดูเพิ่มเติม »

โคเคน

ส่วนประกอบทางเคมีของโคเคน โคเคน (cocaine) คือ crystalline tropane alkaloid ซึ่งสกัดมาจากใบของต้นโคคา (Coca) ซึ่งออกฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง และเป็นสารที่ระงับความต้องการของร่างกาย (Appetite Suppressant) อีกนัยหนึ่งโคเคนอีน เป็นสาร Dopamine reuptake inhibitor ซึ่งผู้ได้รับสารนี้จะรู้สึกมีความสุข และมีพลังงานเพิ่มอย่างสูงในระยะเวลาสั้นๆ ผู้ที่ใช้สารเสพติดนี้ส่วนใหญ่มีอาการเครียด หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง พักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องการผ่อนคลายความตึงเครียดลง ถึงแม้ว่าโคเคนจะเป็นสารเสพติด แต่ก็ได้มีการใช้ในวงการแพทย์โดยใช้เป็นสาร Topical Anesthesia มีการใช้ร่วมในเด็ก โดยเฉพาะการศัลยกรรม ตา จมูก และคอ ถ้าใครเสพสารนี้ไปแล้วจะต้องการสารโคเคนตลอดจนตาย ข้อเสียของการใช้สารโคเคนคือ มีผลให้ระบบการหายใจล้มเหลว มีโอกาสเป็น โรคหัวใจ และอัมพาต ในผู้ใช้สารโคเคนเป็นระยะเวลานาน หลังจากโคเคนหมดฤทธิ์แล้วอาจจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าเนื่องจากภาวะการลดระดับของสารโดปามีนในสมองอย่างฉับพลัน หลังจากการกระตุ้นของสารเสพติด หมวดหมู่:สารก่อวิรูป หมวดหมู่:ยาเสพติด.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และโคเคน · ดูเพิ่มเติม »

ไมครอฟต์ โฮมส์

มครอฟต์ โฮมส์ (Mycroft Holmes) ตัวละครในนวนิยายสืบสวนสอบสวนเรื่อง เชอร์ล็อก โฮมส์ เป็นพี่ชายของเชอร์ล็อก โฮมส์ (อายุห่างกัน 7 ปี) มีตำแหน่งที่ปรึกษาของรัฐบาลและเป็นผู้ก่อตั้งสโมสรไดโอจินิส สถานที่สำหรับผ่อนคลายอารมณ์ของเหล่าสุภาพบุรุษชนชาวลอนดอนผู้ไม่ปรารถนาจะคบหาสมาคมกับผู้ใด โดยมีกฎที่ต้องปฏิบัติอย่างเดียวคือ ห้ามพูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในสโมสรเด็ดขาด ไมครอฟต์ถูกบรรยายว่าเป็นคนรูปร่างเจ้าเนื้อต่างกับน้องชายที่ผอมสูง หน้าผากกว้างบ่งบอกพลังสมองและดวงตาสีเหล็กคมลึก มีมันสมองอันชาญฉลาด เก็บรวมรวมข้อมูลปริมาณมหาศาลไว้แทบทุกด้าน เขาจึงเป็นข้าราชการผู้น้อยที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ คนหนึ่งในรัฐบาล เชี่ยวชาญการให้ความเห็นและข้อสรุปจากบนเก้าอี้ เพราะเจ้าตัวไม่มีความกระตือรือร้นพอจะออกไปสืบด้วยตนเอง เมื่อเชอร์ล็อก โฮมส์นำเรื่องคดีไปขอคำปรึกษา ไมครอฟต์ก็ได้ให้ความเห็นที่ภายหลังพิสูจน์แล้วว่าถูกต้องทุกครั้ง เชอร์ล็อก โฮมส์กล่าวว่าพี่ชายของตนสามารถเป็นนักสืบที่เก่งกาจที่สุดได้ แต่กลับขาดคุณสมบัติหลายข้อที่นักสืบพึงมี เช่นเขาไม่ค่อยมีความกระตือรือร้น เข้ากับผู้อื่นไม่ค่อยได้และไม่ชอบ "ไปพบผู้ที่เกี่ยวข้อง ซักถามเจ้าหน้าที่ เที่ยวนอนพังพาบเอาแว่นขยายส่องดูอะไรต่อมิอะไร" อย่างที่ไมครอฟต์กล่าวถึงแนวทางการสืบคดีของน้องชาย ในภาพยนตร์ เชอร์ล็อค โฮล์มส์ เกมพญายมเงามรณะ (พ.ศ. 2554) ไมครอฟต์ โฮมส์ รับบทโดยนักแสดงชาวอังกฤษ สตีเวน ฟร.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และไมครอฟต์ โฮมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไวโอลิน

วโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตร.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และไวโอลิน · ดูเพิ่มเติม »

ไอรีน แอดเลอร์

ลิลลี แลงทราย หนึ่งในข้อสันนิษฐานที่เชื่อว่าเป็นต้นแบบของไอรีน แอดเลอร์ ไอรีน แอดเลอร์ (Irene Adler) เธอปรากฏอยู่ในนวนิยายสืบสวนสอบสวนเรื่อง เชอร์ล็อก โฮมส์ ตอน เหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย (A Scandal in Bohemia) ซึ่งเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ เป็นคนสร้างนวนิยายสืบสวนสอบสวนชื่อดังนี้ขึ้นมา โดยให้เธอเคยแต่งงานมาแล้วครั้งหนึ่งและหย่ากับสามีไป อดีตสามีของเธอเป็นทนายชื่อ กอดฟรีย์ นอร์ตัน ในงานแต่งงานของเธอและสามี โฮมส์ได้ปลอมตัวไปที่นั่นและเป็นพยานการแต่งงานของทั้งสองคน หลังจากงานนั้น ไอรีนก็ให้เหรียญทองแก่โฮมส์ ซึ่งโฮมส์ก็เก็บเหรียญทองนี้ไว้อย่างดี ไอรีน แอดเลอร์ เป็นผู้หญิงคนเดียวที่โฮมส์ยอมรับ เมื่อโฮมส์เห็นรูปเธอก็มักจะเรียกเธอว่า "คุณผู้หญิง" อยู่เสมอ เธอเป็นคนที่มีเสน่ห์มากแม้กระทั่งกษัตริย์แห่งโบฮีเมียก็เคยหลงรักเธออีกด้วย ไอรีน แอดเลอร์ เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และไอรีน แอดเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)

อร์ล็อก (Sherlock) เป็นภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์แนวชีวิตและสืบสวนจากสหราชอาณาจักร นำเสนอเนื้อเรื่องที่ดัดแปลงมาจากรหัสคดีชุด เชอร์ล็อก โฮมส์ ของเซอร์อาร์เทอร์ โคนัน ดอยล์ โดยปรับช่วงเวลาจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาเป็นสมัยปัจจุบัน ภาพยนตร์ชุดนี้สร้างสรรค์โดยสตีเวน มอฟฟัต และมาร์ก เกทิสส์ นำแสดงโดยเบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์ (รับบทเป็นเชอร์ล็อก โฮมส์) และมาร์ติน ฟรีแมน (รับบทเป็นนายแพทย์จอห์น วอตสัน) ซู เวอร์ทิว และอิเลน แคเมอรอนแห่งบริษัทฮาร์ตสวุดฟิมส์ผลิต เชอร์ล็อก ให้แก่สถานีโทรทัศน์บีบีซีในสหราชอาณาจักร และร่วมผลิตภาพยนตร์ชุดนี้กับสถานีโทรทัศน์ดับเบิลยูจีบีเอช บอสตัน ในฐานะส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ชุดรวมเรื่อง (anthology series) ชุด แมสเตอร์พีซ ซึ่งแพร่ภาพในสหรัฐอเมริกาผ่านเครือข่ายพีบีเอส ภาพยนตร์ชุด เชอร์ล็อก ถ่ายทำในเมืองคาร์ดิฟฟ์ของเวลส์เป็นหลัก โดยสมมุติให้ถนนนอร์ทกาวเวอร์ในกรุงลอนดอนเป็นฉากด้านนอกของห้องอยู่อาศัยเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ของโฮมส์และวอตสัน ปัจจุบันภาพยนตร์ชุดนี้ได้รับการผลิตออกมาแล้ว 10 ตอน สามตอนแรกออกอากาศในปี..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และเชอร์ล็อก (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์) · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด บันทึกคดี

อร์ล็อก โฮมส์ ชุด บันทึกคดี (The Case-Book of Sherlock Holmes) หรือฉบับแปลใหม่ใช้ชื่อว่าชุด แฟ้มคดีเด็ด เป็นนวนิยายรวมเรื่องสั้นเล่มที่ 5 อันเป็นเล่มสุดท้ายของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์‎ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด บันทึกคดี · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด ลาโรง

อร์ล็อก โฮมส์ ชุด ลาโรง (His Last Bow) คือนวนิยายเรื่องสั้นชุดที่ 4 ในชุด เชอร์ล็อก โฮมส์ ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์‎ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด ลาโรง · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด ผจญภัย

อร์ล็อก โฮมส์ ชุด ผจญภัย (The Adventures of Sherlock Holmes) เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นชุดแรกของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนคดีต่าง ๆ โดยโลดโผนของเชอร์ล็อก โฮมส์ ประกอบด้วยเรื่องสั้น 12 เรื่อง ฉบับแรกมีภาพวาดประกอบโดย Sidney Paget นำเรื่องสั้นทั้ง 12 เรื่องที่เคยตีพิมพ์ในนิตยสารสแตรนด์ (Strand Magazine) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด ผจญภัย · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด จดหมายเหตุ

อร์ล็อก โฮมส์ ชุด จดหมายเหตุ (The Memoirs of Sherlock Holmes) หรือฉบับแปลใหม่ใช้ชื่อว่าชุด ความทรงจำ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นชุดที่ 2 ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์‎ ประกอบด้วยเรื่องสั้น 11 เรื่องดังนี้.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด จดหมายเหตุ · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด คืนชีพ

อร์ล็อก โฮมส์ ชุด คืนชีพ (The Return of Sherlock Holmes) หรือในฉบับแปลใหม่ใช้ชื่อว่า การกลับมาของเชอร์ล็อก โฮมส์ คือนวนิยายเรื่องสั้นชุดที่ 3 ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์‎ ประกอบด้วยเรื่องสั้น 13 เรื่องตีพิมพ์ครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด คืนชีพ · ดูเพิ่มเติม »

เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์

นดิกต์ ทิโมที คาร์ลตัน คัมเบอร์แบตช์ (Benedict Timothy Carlton Cumberbatch) เกิดเมื่อวันที่ 19 เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และเบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮาส์ เอ็ม.ดี.

(House) หรือ เฮาส์ เอ็ม.ดี. (House M.D.) เป็นละครแพทย์ (medical drama) ทางโทรทัศน์สัญชาติอเมริกันซึ่งเดิมฉายทางเครือข่ายฟ็อกซ์จำนวน 8 ฤดูกาล ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 ถึง 21 พฤษภาคม 2555 ตัวละครหลักของเรื่อง คือ น. เกรกอรี เฮาส์ (ฮิวจ์ ลอรี) เป็นอัจฉริยะการแพทย์ที่ติดยาแก้ปวด นอกคอกและเกลียดมนุษย์ผู้นำทีมผู้เชี่ยวชาญการวินิจฉัยโรค ณ โรงพยาบาลสอนพรินซ์ตัน–เพลนส์โบโร (Princeton–Plainsboro Teaching Hospital (PPTH)) ซึ่งไม่มีอยู่จริงในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ข้อตั้งของละครกำเนิดกับพอล แอตตานาซิโอ (Paul Attanasio) ฝ่ายเดวิด ชอร์ ซึ่งได้รับความชอบเป็นผู้สร้าง รับผิดชอบแนวคิดของตัวละครอันเป็นชื่อเรื่องเป็นหลัก ผู้ผลิตบริหารของละครมีชอร์, แอตตานาซิโอ, แคที เจคอบส์ (Katie Jacobs) หุ้นส่วนธุรกิจของแอตตานาซิโอ, และผู้กำกับภาพยนตร์ ไบรอัน ซิงเกอร์ ส่วนใหญ่ถ่ายทำในเซนชูรีซิตี เฮาส์มักขัดแย้งกับแพทย์ด้วยกัน ซึ่งรวมทีมวินิจฉัยของเขาเองด้วย เพราะทฤษฎีของเขาจำนวนมากเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วยอาศัยวิจารณญาณที่ละเอียดมากหรือซึ่งเป็นข้อโต้เถียง การดูหมิ่นกฎและกระบวนการโรงพยาบาลของเขาทำให้เขาขัดแย้งกับเจ้านายของเขา คือ ผู้บริหารโรงพยาบาลและคณบดีคณะแพทยศาสตร์ พญ.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และเฮาส์ เอ็ม.ดี. · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ มอริอาร์ตี

ศาสตราจารย์เจมส์ มอริอาร์ตี (Professor James Moriarty) เป็นตัวละครหนึ่งในเรื่องเชอร์ล็อก โฮมส์ ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ เป็นศัตรูตัวฉกาจของโฮมส์ คอยชักใยอยู่เบื้องหลังคดีหลายคดี แต่ไม่เคยมีใครจับได้ มอริอาร์ตีเป็นผู้มีอำนาจขนาดว่าสามารถทำให้ทั่วยุโรปสั่นคลอนได้ ถูกขนานนามว่า "นโปเลียนแห่งโลกอาชญากรรม" มีสหายคนสนิทชื่อพันเอกมอรัน มอริอาร์ตีเสียชีวิตที่น้ำตกไรเชินบัค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม เคยถูกกล่าวในเรื่องหุบเขาแห่งภัย มอริอาร์ตียังเคยปรากฏตัวใน ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ฉบับภาพยนตร์ ภาค ปริศนาบนถนนสายมรณะ ในเกมโคคูนที่โคนันและเพื่อน ๆ เล่น โดยเป็นผู้เลี้ยงดูแจ็กเดอะริปเปอร์ให้เป็นฆาตกรที่โหดเหี้ยม ในภาพยนตร์ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ดับแผนพิฆาตโลก (พ.ศ. 2552) มอริอาร์ตีปรากฏตัวในความมืด เป็นผู้จ้างวานไอรีน แอดเลอร์ (ภายหลังมีการเปิดเผยว่าชื่อ มอริอาร์ตี) และใน เชอร์ล็อก โฮล์มส์ เกมพญายมเงามรณะ (พ.ศ. 2554) มอริอาร์ตีแสดงโดยนักแสดงชาวอังกฤษ แจเร็ด แฮร์ริส หมวดหมู่:เชอร์ล็อก โฮมส์ หมวดหมู่:ตัวละครชาวอังกฤษ ru:Персонажи рассказов о Шерлоке Холмсе#Профессор Мориарти.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และเจมส์ มอริอาร์ตี · ดูเพิ่มเติม »

เคมี

มี (chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และเคมี · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องอิสริยาภรณ์

รื่องอิสริยาภรณ์ คือ เหรียญ และตรา อันเป็นเครื่องประดับยศของฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) และจากนั้นได้แพร่หลายไปยังประเทศที่มีราชวงศ์ เครื่องอิสริยาภรณ์จากประเทศที่มีกษัตริย์เรียกว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส่วนประเทศที่ไม่มีกษัตริย์เรียกว่า เครื่องอิสริยาภรณ.

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และเครื่องอิสริยาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

6 มกราคม

วันที่ 6 มกราคม เป็นวันที่ 6 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 359 วันในปีนั้น (360 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: เชอร์ล็อก โฮมส์และ6 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sherlock Holmesเชอร์ลอก โฮมส์เชอร์ล๊อค โฮล์มเชอร์ล็อก โฮลมส์เชอร์ล็อก โฮล์มสเชอร์ล็อก โฮล์มส์เชอร์ล็อค โฮลมส์เชอร์ล็อค โฮล์มส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »