โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เชลิเซอราตาและไซโฟซูรา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เชลิเซอราตาและไซโฟซูรา

เชลิเซอราตา vs. ไซโฟซูรา

ฟลัมย่อยเชลิเซอราตา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chelicerata) หรือ เชลิเซอเรต (Chelicerate) เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธพอดา (Arthropoda) หรือ อาร์โธพอด ถือกำเนิดมาแล้วกว่า 600 ล้านปี ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในไฟลัมย่อยนี้คือ ไม่มีกราม และไม่มีหนวด ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เซฟาโลทอแรกซ์ และส่วนท้อง เซฟาโลทอแรกซ์เป็นส่วนที่รวมส่วนหัวและส่วนอกเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีเปลือกแข็งชิ้นเดียวคลุมอยู่เรียก คาราเพช ระยางค์ทั้ง 6 คู่ ประกอบด้วยระยางคู่แรกเป็นระยางค์หนีบ ระยางค์คู่ที่ 2 คือ เพดิพาลพ์ ช่วยในการฉีกอาหาร ระยางค์อีก 4 คู่ เป็นขาเกิน ส่วนท้องไม่มีระยางค์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก. แมงดาทะเลโบราณในสกุล ''Mesolimulus'' ไซโฟซูรา เป็นอันดับของสัตว์ทะเลขาปล้องในชั้นเมอโรสโทมาทา (Merostomata) ที่นอกเหนือไปจากแมงป่องทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xiphosura ลักษณะของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีรูปร่างคล้ายจานหรือถ้วยคว่ำ หรือครึ่งวงกลมแบบเกือกม้า ด้านบนมีตาข้าง 1 คู่เป็นตาประกอบ มีแอมมาทิเดียหลายร้อยหน่วยที่ไม่สามารถรับภาพได้ แต่สามารถจับการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ ได้ มีตากลาง ขนาดเล็กหลายอันทำหน้าที่รับแสง มีส่วนหางยาวเป็นแท่งใช้สำหรับจิ้มกับพื้นทรายให้พลิกตัวกลับมา เมื่อยามหงายท้องขึ้น เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคซิลลูเรียน แต่สูญพันธุ์ไปเกือบหมด คงเหลือเพียง 4 ชนิดเท่านั้นในโลก คือ แมงดาทะเล จึงจัดเป็นฟอสซิลที่มีชีวิตอย่างหนึ่ง พบในทะเลและน้ำกร่อยของบริเวณภาคตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น สำหรับชนิดที่พบในไทยจะมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ แมงดาจาน หรือ แมงดาหางเหลี่ยม (Tachypleus gigas) เป็นแมงดาขนาดใหญ่ หางเป็นสันแหลม รูปหน้าตัดของหางเป็นสามเหลี่ยม คาราแพดค่อนข้างเรียบและแทบจะไม่พบขนแข็ง ๆ บนคาราแพด สามารถกินได้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ แมงดาถ้วย หรือ แมงดาหางกลม หรือ เหรา (Carcinoscorpius rotundicauda) มีขนาดเล็กกว่าแมงดาหางเหลี่ยม หางโค้งมน รูปหน้าตัดของหางจะค่อนข้างกลม คาราแพดมีขนแข็งจำนวนมากและมีสีส้มหรือน้ำตาลเข้ม มีรายงานอยู่เสมอว่าผู้ที่กินไข่ของแมงดาชนิดนี้มักเป็นอันตรายต่อชีวิต เนื่องจากว่าแมงดาชนิดนี้ในบางฤดูกาลจะกินสาหร่ายและแพลงค์ตอนที่สร้างสารพิษได้ จึงมีพิษสะสมอยู่ในตัวแมงดาทะเล พิษที่ว่าจะมีผลต่อระบบประสาทต่อผู้ที่กินเข้าไป แมงดาทะเลจะขึ้นมาวางไข่บนพื้นหาดทรายชายทะเลพร้อม ๆ กัน โดยตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 200–3,300 ฟอง โดยมีตัวผู้เกาะเกี่ยวอยู่ที่หลัง โดยใช้ปล้องสุดท้ายของเพลดิพาลติเกาะกับโพรโซมาของตัวเมียเอาไว้และคลานตามกันไป โดยอาจมีตัวผู้ตัวอื่นมาเกาะท้ายร่วมด้วยเป็นขบวนยาวก็ได้ ตัวเมียจะขุดหลุมปล่อยไข่ออกมาแล้วตัวผู้ก็จะปล่อยสเปิร์มออกมาผสมกับไข่ หลังจากนั้นก็จะกลบไข่โดยไม่มีการดูแลไข่ ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนที่เรียกว่าไตรโลไบต์ ลาวา ลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยเพียงแต่มีหางสั้นมาก แมงดาทะเลในยุคปัจจุบันมีความยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร (24 นิ้ว) iแต่ในยุคเพลลีโอโซอิก จะมีขนาดเล็กกว่านี้ โดยมีความยาวเพียง 1–3 เซนติเมตร (0.39–1.2 นิ้ว) เท่านั้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เชลิเซอราตาและไซโฟซูรา

เชลิเซอราตาและไซโฟซูรา มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์สัตว์สัตว์ขาปล้องสปีชีส์แมงดาแมงดาแอตแลนติกเมอโรสโทมาทา

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และเชลิเซอราตา · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และไซโฟซูรา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และเชลิเซอราตา · สัตว์และไซโฟซูรา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

สัตว์ขาปล้องและเชลิเซอราตา · สัตว์ขาปล้องและไซโฟซูรา · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

สปีชีส์และเชลิเซอราตา · สปีชีส์และไซโฟซูรา · ดูเพิ่มเติม »

แมงดา

การผสมพันธุ์ของแมงดา แมงดา หรือที่บางครั้งเรียกว่า แมงดาทะเล จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธรพอด โดยที่ไม่ใช่ครัสเตเชียน แต่เป็นเมอโรสโทมาทา อยู่ในอันดับ Xiphosura และวงศ์ Limulidae.

เชลิเซอราตาและแมงดา · แมงดาและไซโฟซูรา · ดูเพิ่มเติม »

แมงดาแอตแลนติก

แมงดาแอตแลนติก (Atlantic horseshoe crab) เป็นแมงดาชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Limulus polyphemus จัดอยู่ในสกุล Limulus ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้ และเป็นแมงดาเพียงชนิดเดียวด้วยที่พบในมหาสมุทรแอตแลนติก แมงดาแอตแลนติกมีลักษณะหางด้านบนนูนเป็นสามเหลี่ยมคล้ายแมงดาจาน แต่จะแตกต่างกันตรงที่ตัวผู้มีขาจับที่พองออกเป็นกระเปาะเพียงคู่เดียว แต่ในแมงดาจานจะมีสองคู่ ส่วนตัวเมียมีหนามบริเวณขอบด้านข้างของส่วนท้องขนาดยาวใกล้เคียงกันทั้ง 6 คู่เหมือนตัวผู้ ในขณะที่แมงดาจานมีหนามบริเวณขอบของส่วนท้องยาว 3 คู่แรก ส่วน 3 คู่หลังสั้น (ยกเว้นในระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่จะมีหนามยาวเท่า ๆ กันเช่นเดียวกับตัวผู้) ขนาดใหญ่สุดมีความยาวตลอดตัวมากกว่า 60 เซนติเมตร แมงดาชนิดนี้พบในมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแต่รัฐเมน, อ่าวเดลาแวร์ ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก.

เชลิเซอราตาและแมงดาแอตแลนติก · แมงดาแอตแลนติกและไซโฟซูรา · ดูเพิ่มเติม »

เมอโรสโทมาทา

มอโรสโทมาทา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Merostomata) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรโพดา ชั้นย่อยเชลิเซอราตา เป็นสัตว์น้ำที่แบ่งออกได้เป็น 2 อันดับ ได้แก่ Eurypterida หรือ แมงป่องทะเล ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว กับ Xiphosura หรือ แมงดาทะเล ที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยเมอโรสโมมาทาได้พัฒนาแยกออกมาจากอาร์โธรโพดาเมื่อกว่า 480 ล้านปีมาแล้ว แมงดาทะเล ในปัจจุบันเหลือเพียง 5 ชนิด จัดว่าเป็นเซริเชอราตาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวถึง 60 เซนติเมตร ที่พบเป็นฟอสซิลยาวถึง 2 เมตร ด้านหลังของคาราเพชมีตาประกอบ 1 คู่ ด้านล่างของเซฟาโรทอแรกซ์เป็นที่ตั้งของระยางค์ทั้ง 6 คู่ โดยระยางค์ขา 3 คู่ มีลักษณะเป็นก้ามหนีบ ยกเว้นขาคู่สุดท้ายใช้ในการกวาดโคลน ทราย ปล้องส่วนท้องจะรวมกัน ด้านท้ายสุดจะยื่นยาวออกเป็นหาง ด้านล่างของส่วนท้องเป็นที่ตั้งของเหงือก 5 คู่ และมีแผ่นปิดเหงือก แมงดาทะเลเป็นสัตว์ที่ไม่เป็นอันตราย จะใช้ระยางค์ขาคู่สุดท้ายดันขุดดินไปด้านหลังเพื่อฝังตัวลงในโคลนหรือทราย การดำรงชีวิตเป็นทั้งกินพืชและกินซาก รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม.

เชลิเซอราตาและเมอโรสโทมาทา · เมอโรสโทมาทาและไซโฟซูรา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เชลิเซอราตาและไซโฟซูรา

เชลิเซอราตา มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไซโฟซูรา มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 15.22% = 7 / (27 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เชลิเซอราตาและไซโฟซูรา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »