โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เครื่องหมายตั้งบันไดเสียง

ดัชนี เครื่องหมายตั้งบันไดเสียง

รื่องหมายตั้งบันไดเสียงชุดหนึ่ง เครื่องหมายตั้งบันไดเสียง หรือ คีย์ดนตรี หรือ คีย์ (key signature) คือกลุ่มของชาร์ปหรือแฟลต (หรือเนเชอรัลในบางกรณี) ที่กำกับบนบรรทัดห้าเส้น เป็นตัวบ่งบอกให้เล่นตัวโน้ตสูงขึ้นหรือต่ำลงครึ่งเสียง (semitone) ตามตำแหน่งที่กำหนดหากไม่มีเครื่องหมายอื่นอยู่ก่อน แทนที่จะเป็นเสียงตัวโน้ตปกติ การกำหนดบันไดเสียงเช่นนี้จะมีผลทั้งบรรทัดจนกว่าจะมีการเปลี่ยนคีย์ใหม่ เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงมักพบได้ทั่วไปถัดจากกุญแจประจำหลักในตำแหน่งเริ่มบรรทัดใหม่ หรือปรากฏที่ส่วนอื่นบนบรรทัดเช่นหลังจากดับเบิลบาร์ (double bar) เป็นต้น.

10 ความสัมพันธ์: บรรทัดห้าเส้นบันไดเสียงบันไดเสียงไมเนอร์บันไดเสียงเมเจอร์ชาร์ปกุญแจประจำหลักอ็อกเทฟแฟลต (ดนตรี)โน้ตดนตรีเนเชอรัล

บรรทัดห้าเส้น

Musical staffMusical staffMusical staffMusical staff บรรทัดห้าเส้น (อังกฤษอเมริกัน: staff; อังกฤษบริเตน: stave) คือกลุ่มของเส้นตรงตามแนวนอน 5 เส้น และอยู่ห่างเป็นระยะเท่ากันเป็นจำนวน 4 ช่อง ใช้สำหรับบันทึกตัวโน้ตตามระดับเสียง ซึ่งสามารถแสดงได้ด้วยความสูงต่ำของตัวโน้ตที่ปรากฏบนบรรทัดห้าเส้น การนับเริ่มต้นเส้นที่หนึ่งจากล่างสุด แล้วนับขึ้นมาตามลำดับจนถึงเส้นที่ห้า การนับช่องก็นับจากล่างขึ้นบนเช่นกัน ตัวโน้ตสามารถบันทึกให้คาบเกี่ยวกับเส้น หรือเขียนลงในช่องระหว่างเส้น เหนือหรือใต้บรรทัด ดังนั้นบรรทัดห้าเส้นจึงสามารถบันทึกระดับเสียงของตัวโน้ตได้ 11 ระดับ สำหรับเสียงที่สูงกว่าหรือต่ำกว่านี้ จะใช้เส้นน้อย (ledger line) เข้ามาช่วย การที่จะบ่งบอกว่าตัวโน้ตที่บันทึกอยู่เป็นเสียงอะไร สามารถดูได้จากกุญแจประจำหลักที่กำกับอยู่ เช่นกุญแจซอลที่คาบอยู่บนเส้นที่สองโดยพื้นฐาน จะทำให้ทราบว่าโน้ตที่คาบอยู่บนเส้นที่สองเป็นเสียง ซอล หากไม่มีกุญแจประจำหลักบนบรรทัดห้าเส้น ก็จะไม่สามารถอ่านโน้ตได้ ปกติแล้วการอ่านโน้ตจะอ่านจากซ้ายไปขวา หมายความว่าตัวโน้ตที่อยู่ถัดจากตัวก่อนหน้าต้องเล่นทีหลัง และบรรทัดห้าเส้นมักจะแบ่งเป็นห้องเพลงด้วยเส้นกั้นห้อง เปรียบเหมือนกราฟของระดับเสียงเทียบกับเวลา ด้านล่างนี้คือตำแหน่งของตัวโน้ต 11 ระดับเสียง ที่สามารถบันทึกบนบรรทัดห้าเส้น ไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1d1.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1e1.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1f1.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1g1.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1a1.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1b1.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1c2.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1d2.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1e2.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1f2.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1g2.svgไฟล์:Music Staff.svg.

ใหม่!!: เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงและบรรทัดห้าเส้น · ดูเพิ่มเติม »

บันไดเสียง

บันไดเสียง หมายถึง โน้ต 5-12 ตัวที่เรียงกันตามลำดับจากเสียงต่ำไปสูง และจากเสียงสูงไปเสียงต่ำ มีโครงสร้างที่มีการกำหนดช่วงห่าง ของเสียงจากตัวโน้ตหนึ่งไปอีกตัวโน้ตหนึ่งอย่างเป็นระบบ ในแต่ละชนิดของบันไดเสียง ได้แก่ บันไดเสียงเมเจอร์ (major scale) บันไดเสียงไมเนอร์ (minor scale) เป็นต้น บันไดเสียงเป็นตัวกำหนดแนวทางการเคลื่อนของตัวโน้ตในเพลง และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับบทเพลงอีกด้วย หมวดหมู่:ทฤษฎีดนตรี.

ใหม่!!: เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงและบันไดเสียง · ดูเพิ่มเติม »

บันไดเสียงไมเนอร์

ในทฤษฎีดนตรี บันไดเสียงไมเนอร์ (minor scale) เป็นบันไดเสียงที่ซับซ้อนกว่าบันไดเสียงเมเจอร์ เพราะมีการสร้างบันไดเสียงนี้ได้สามรูปแบบ ได้แก่ บันไดเสียงเนเชอรัลไมเนอร์ (หรือ โหมดเอโอเลียน), บันไดเสียงฮาร์มอนิกไมเนอร์, และบันไดเสียงเมโลดิกไมเนอร์ (ขาขึ้นหรือขาลง) แต่บันไดเสียงเมเจอร์มีรูปแบบเดียว \relative c' \relative c' \relative c'.

ใหม่!!: เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงและบันไดเสียงไมเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

บันไดเสียงเมเจอร์

ันไดเสียงเมเจอร์ (major scale) หรือ บันไดเสียงไอโอเนียน เป็นบันไดเสียงหนึ่งที่ใช้กันมากที่สุด โดยเฉพาะดนตรีตะวันตก เป็นส่วนหนึ่งของบันไดเสียงไดอาโทนิก สร้างขึ้นจากโน้ต 7 ตัว เหมือนกับบันไดเสียงดนตรีส่วนใหญ่ โน้ตตัวที่แปดเป็นโน้ตตัวที่ซ้ำกับตัวที่หนึ่ง แต่มีความถี่เป็นสองเท่า หรือเรียกว่าออกเทฟที่สูงกว่าของโน้ตเดียวกัน (มาจากภาษาละติน "octavus" แปลว่า ลำดับที่แปด) บันเสียงเมเจอร์ที่ง่ายต่อการเขียนที่สุดคือ ซีเมเจอร์ ซึ่งเป็นบันไดเสียงเมเจอร์ที่ไม่มีชาร์ปหรือแฟลต บันไดเสียงเมเจอร์มีความสำคัญในดนตรียุโรป โดยเฉพาะในเพลงสมัยนิยม.

ใหม่!!: เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงและบันไดเสียงเมเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ป

น้ตซีชาร์ป และโน้ตซีดับเบิลชาร์ป บนกุญแจซอล ชาร์ป (sharp) ในทางดนตรี หมายถึง ระดับเสียงที่สูงขึ้นจากปกติ หากจะระบุให้ชัดเจนก็คือ ระดับเสียงที่สูงขึ้นทีละครึ่งเสียง (semitone) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายแปลงเสียง (accidental) ชนิดหนึ่ง และเนื่องจากสัญลักษณ์ดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายกับเครื่องหมายนัมเบอร์ # เครื่องหมายนัมเบอร์จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชาร์ป ตัวโน้ตที่ถูกกำกับด้วยชาร์ปจะมีเสียงสูงขึ้นครึ่งเสียง ในบันไดเสียงสากลที่แต่ละอ็อกเทฟ (octave) ห่างกัน 12 ครึ่งเสียง เสียงบีชาร์ปจะเทียบเท่ากับเสียงซีเนเชอรัล และเสียงจีชาร์ปจะเทียบเท่ากับเสียงเอแฟลต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ดับเบิลชาร์ป (double sharp) คือระดับเสียงสูงขึ้นสองครึ่งเสียง ซึ่งเทียบเท่ากับการยกขึ้นหนึ่งขั้นเสียง เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ พบได้ในโน้ตเพลงที่มีการปรับคีย์ดนตรี และที่พบได้น้อยกว่าคือ ทริเปิลชาร์ป (triple sharp) คือระดับเสียงสูงขึ้นสามครึ่งเสียง เขียนแทนด้วย ในการปรับเสียงเครื่องดนตรี คำว่า ชาร์ป ยังหมายถึง เสียงที่เพี้ยนสูงขึ้นไปจากเดิมเล็กน้อย หากมีเครื่องสายหรือเสียงนักร้องที่แตกต่างกันเล็กน้อย เสียงที่สูงกว่า จะเรียกว่าเสียงชาร์ป เมื่อเทียบกับอีกเสียงหนึ่งซึ่งต่ำกว่า อักขระยูนิโคด '♯' (U+266F) คือเครื่องหมายชาร์ป และ '𝄪' (U+1D12A) คือเครื่องหมายดับเบิลชาร์ป.

ใหม่!!: เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงและชาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

กุญแจประจำหลัก

กุญแจซอลคาบเส้นที่สอง หมายความว่าโน้ตที่คาบเส้นที่สองจะต้องเล่นเสียงซอล กุญแจประจำหลัก (clef; clé แปลว่า กุญแจ) คือสัญกรณ์ทางดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้แสดงถึงระดับเสียงของตัวโน้ตที่บันทึก กำกับไว้ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัดห้าเส้น ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกชื่อและระดับเสียงของตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นนั้น.

ใหม่!!: เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงและกุญแจประจำหลัก · ดูเพิ่มเติม »

อ็อกเทฟ

อ็อกเทฟ (octave) หรือ ขั้นคู่แปดเพอร์เฟกต์ (perfect eighth) มักเขียนย่อเป็น 8ve หรือ P8 คือขั้นคู่เสียง (interval) ที่เทียบจากโน้ตดนตรีตัวหนึ่งไปสู่โน้ตตัวหนึ่งในระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งโน้ตตัวนั้นมีความถี่เป็นครึ่งหนึ่งหรือเป็นสองเท่าจากโน้ตตัวเดิม และเหตุที่เรียกว่าขั้นคู่แปด เนื่องจากตัวโน้ตสองตัวที่อยู่ห่างกัน 8 ขั้นบนบันไดเสียง (หรือ 12 ครึ่งเสียง) จะเกิดสมบัติดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นบันไดเสียงเมเจอร์หรือบันไดเสียงไมเนอร.

ใหม่!!: เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงและอ็อกเทฟ · ดูเพิ่มเติม »

แฟลต (ดนตรี)

น้ตเอแฟลต และโน้ตเอดับเบิลแฟลต บนกุญแจซอล ในทางดนตรี แฟลต (flat) หมายถึงระดับเสียงที่ต่ำลงจากปกติ หากจะระบุให้ชัดเจนก็คือ ระดับเสียงที่ต่ำลงทีละครึ่งเสียง (semitone) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ มีรูปร่างคล้ายกับอักษรตัวเล็ก b เป็นเครื่องหมายแปลงเสียง (accidental) ชนิดหนึ่ง ตัวโน้ตที่ถูกกำกับด้วยแฟลตจะมีเสียงต่ำลงครึ่งเสียง ในบันไดเสียงสากลที่แต่ละอ็อกเทฟ (octave) ห่างกัน 12 ครึ่งเสียง เสียงซีแฟลตจะเทียบเท่ากับเสียงบีเนเชอรัล และเสียงจีแฟลตจะเทียบเท่ากับเสียงเอฟชาร์ป เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ดับเบิลแฟลต (double flat) คือระดับเสียงต่ำลงสองครึ่งเสียง ซึ่งเทียบเท่ากับการลดลงหนึ่งขั้นเสียง เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ พบได้ในโน้ตเพลงที่มีการปรับคีย์ดนตรี และที่พบได้น้อยกว่าคือ ทริเปิลแฟลต (triple flat) คือระดับเสียงต่ำลงสามครึ่งเสียง เขียนแทนด้วย ในการปรับเสียงเครื่องดนตรี คำว่า แฟลต ยังหมายถึง เสียงที่เพี้ยนต่ำลงจากเดิมเล็กน้อย หากมีเครื่องสายหรือเสียงนักร้องที่แตกต่างกันเล็กน้อย เสียงที่ต่ำกว่า จะเรียกว่าเสียงแฟลต เมื่อเทียบกับอีกเสียงหนึ่งซึ่งสูงกว่า อักขระยูนิโคด '♭' (U+266D) คือเครื่องหมายแฟลต และ '𝄫' (U+1D12B) คือเครื่องหมายดับเบิลแฟลต.

ใหม่!!: เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงและแฟลต (ดนตรี) · ดูเพิ่มเติม »

โน้ตดนตรี

น้ต ''เอ'' หรือ ''ลา'' โน้ต ในทางดนตรี มีความหมายได้สองทาง หมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำเสนอระดับเสียง และความยาวของเสียง หรือหมายถึงตัวเสียงเองที่เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เหล่านั้น โน้ตดนตรีแต่ละเสียงจะมีชื่อเรียกประจำของมันเองในแต่ละภาษา เช่น โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ที บางครั้งอาจเขียนอักษรละติน A ถึง G แทนโน้ตดนตรี.

ใหม่!!: เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงและโน้ตดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

เนเชอรัล

เนเชอรัล (Natural) เป็นเครื่องหมายที่อยู่หน้าโน้ตตัวใดจะทำให้โน้ตดนตรีตัวนั้นเป็นเสียงปกติ เช่น ถ้าในเพลงนั้นมีทีแฟลตอยู่ข้างหน้าเพลง ก็ต้องเล่นทีแฟลตทั้งเพลง แต่ถ้าจะเล่นเป็นเสียงธรรมดาก็ใส่เครื่องหมายเนเชอรัลไปข้างหน้าโน้ตตัวนั้น ตัวโน๊ต.

ใหม่!!: เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงและเนเชอรัล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Key signatureคีย์ดนตรีเครื่องหมายกำหนดบันไดเสียง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »