เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ vs. โทรคมนาคม

ตัวอย่างแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบ Token Ring เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้ อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือ. ผลงานเลียนแบบโทรศัพท์ต้นแบบของอเล็กซานเดอร์ แกรฮ์ม เบลล์ ที่พิพิธภัณฑ์ Musée des Arts et Métiers ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สายอากาศการสื่อสารดาวเทียมแบบ parabolic ที่สถานีขนาดใหญ่ที่สุดใน Raisting, Bavaria, Germany โทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึงการสื่อสารระยะไกล โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางสัญญาณไฟฟ้า หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากเทคโนโลยีที่แตกต่างกันจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับคำนี้ จึงมักใช้ในรูปพหูพจน์ เช่น Telecommunications เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมในช่วงต้นประกอบด้วยสัญญาณภาพ เช่น ไฟสัญญาณ, สัญญาณควัน, โทรเลข, สัญญาณธงและ เครื่องส่งสัญญาณด้วยกระจกสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ตัวอย่างอื่นๆของการสื่อสารโทรคมนาคมก่อนช่วงที่ทันสมัยได่แก่ข้อความเสียงเช่นกลอง, แตรและนกหวีด เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมด้วยไฟฟ้าและแม่เหล็กไฟฟ้าได้แก่โทรเลข, โทรศัพท์และ โทรพิมพ์, เครือข่าย, วิทยุ, เครื่องส่งไมโครเวฟ, ใยแก้วนำแสง, ดาวเทียมสื่อสารและอินเทอร์เน็ต การปฏิวัติ ในการสื่อสารโทรคมนาคมไร้สายเริ่มต้นขึ้นในปี 190X กับการเป็นผู้บุกเบิกพัฒนาใน การสื่อสารทางวิทยุโดย Guglielmo มาร์โคนี ที่ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ในปี 1909 สำหรับความพยายามของเขา นักประดิษฐ์ผู้บุกเบิกและนักพัฒนาอื่นๆที่น่าทึ่งมากๆในด้านการ สื่อสารโทรคมนาคมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวมถึง ชาร์ลส์ วีทสโตน และ ซามูเอล มอร์ส (โทรเลข), Alexander Graham Bell (โทรศัพท์), เอ็ดวิน อาร์มสตรอง และลี เดอ ฟอเรสท์ (วิทยุ) เช่นเดียวกับที่ จอห์น โลจี แบร์ด และ Philo Farnsworth (โทรทัศน์) กำลังการผลิตที่มีประสิทธิภาพของโลกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมสองทางเพิ่มขึ้นจาก 281 เพตาไบต์ของข้อมูล (ที่ถูกบีบอัดอย่างดีที่สุด) ในปี 1986 เป็น 471 petabytes ในปี 1993 และ 2.2 (บีบอัดอย่างดีที่สุด) เอ็กซาไบต์ ในปี 2000 และ 65 (บีบอัดอย่างดีที่สุด) exabytes ในปี 2007 นี่คือเทียบเท่าข้อมูลของสองหน้า หนังสือพิมพ์ต่อคนต่อวันในปี 1986 และ หกเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ต่อคนต่อวันในปี 2007 ด้วยการเจริญเติบโตขนาดนี้, การสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเศรษฐกิจโลกและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกประมาณ$ 4.7 ล้านล้านภาคเศรษฐกิจในปี 2012 รายได้จากการให้บริการของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกถูกประเมินไว้ที่ $1.5 ล้านล้านในปี 2010 สอดคล้องกับ 2.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก (GDP).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาอินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลอีเทอร์เน็ตแพ็กเกตสวิตชิงแลนแวนใยแก้วนำแสงเราเตอร์เนตเวิร์กสวิตช์

ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา

โมเดล ATM ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา หรือ เอทีเอ็ม (Asynchronous Transfer Mode: ATM) เป็นเครือข่ายสื่อสาร ที่ใช้โพรโทคอลชื่อเดียวกันคือ ATM เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะ ข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากๆ มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึงระดับ Gbps สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมีได้ตั้งแต่สายโคแอกเชียล สายไฟเบอร์ออปติค หรือสายไขว้คู่ (Twisted pair) โดย ATM นั้นถูกพัฒนามาจากเครือข่ายแพ็กเก็ตสวิตซ์ (packet switched) ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่าแพ็กเก็ต (packet) ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละแพ็กเก็ตออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพเคลื่อนไหว, ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือเสียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และยังมีการรับประกันคุณภาพของการส่ง เนื่องจากมี Quality of Service (QoS) จุดเด่นของเครือข่าย ATM ที่เหนือกว่าเครือข่ายประเภทอื่น คือ อัตราการส่งผ่านข้อมูลสูง และเวลาในการเดินทางของข้อมูลน้อย จึงทำให้มีบางกลุ่มเชื่อว่า ATM จะเป็นเทคโนโลยีหลักของเครือข่าย LAN ในอนาคต เนื่องจากสามารถรองรับ Application ที่ต้องการอัตราส่งผ่านข้อมูลสูง เช่น การประชุมทางไกล (Videoconferencing) หรือแม้กระทั่ง Application แบบตอบโต้กับระหว่าง Client กับ Sever ATM เป็นระบบเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์ชนิดพิเศษ เนื่องด้วยกลุ่มข้อมูลที่ส่งแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์โดยทั่วไปจะเรียกว่า "แพ็กเก็ต" แต่ ATM จะใช้ "เซลล์" แทน ที่ใช้คำว่าเซลล์เนื่องจาก เซลล์นั้นจะมีขนาดที่เล็กและคงที่ ในขณะที่แพ็กเก็ตมีขนาดไม่คงที่ และใหญ่กว่าเซลล์มาก โดยมาตรฐานแล้วเซลล์จะมีขนาด 53 ไบต์ โดยมีข้อมูล 48 ไบต์ และอีก 5 ไบต์ จะเป็นส่วนหัว (Header) ทำให้สวิตซ์ของ ATM ทำงานได้เร็วกว่าสวิตซ์ของเครือข่ายอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียข้อมูล ATM สวิตซ์จะใช้เทคนิคการปรับจราจร (Traffic Shapping) เพื่อกำหนดให้แพ็กเก็ตข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดที่วางไว้ เช่น ในกรณีที่สถานีส่งข้อมูลในอัตราที่สูงเกินกว่าลิงก์จะรองรับได้ ATM สวิตซ์ก็จะทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์แพ็กเก็ตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และส่งต่อในปริมาณที่ลิงก์จะรองรับได้ หรือที่กำหนดไว้เท่านั้น และอีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้คือ การกำหนดนโยบายจราจร (Traffic Policing) คือ ถ้ามีเซลล์ข้อมูลที่ส่งเกินกว่าอัตราข้อมูลที่กำหนดไว้ก็จะถูกทำสัญลักษณ์ไว้เพื่อแสดงว่าเซลล์นี้มีลำดับความสำคัญต่ำ(Priority) เมื่อส่งผ่านเซลล์นี้ต่อไปก็อาจจะถูกละทิ้งหรือไม่ก็ได้นั้นขึ้นอยู่กับความคับคั่งของเครือข่าย.

ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ · ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาและโทรคมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ · อินเทอร์เน็ตและโทรคมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล

อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ย่อว่า ไอพี​ (Internet Protocol: IP) หรือ เกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต เป็นโพรโทคอลการสื่อสารที่สำคัญใน Internet protocol suite สำหรับถ่ายทอดดาต้าแกรม(หน่วยข้อมูลพื้นฐานของแพ็กเกต ซึ่งการส่ง, เวลาถึงและลำดับที่ถึง ไม่ถูกรับประกันโดยเครือข่าย)ข้ามเขตแดนเครือข่าย ฟังก์ชันการกำหนดเส้นทางของมันจะช่วยงานภายในเครื่อข่ายและก่อตั้งระบบอินเทอร์เน็ตขึ้น การทำงานของไอพีเป็นการทำงานแบบไม่รับประกันความถูกต้องของข้อมูล รุ่นปัจจุบันคือ IPv4 และกำลังอยู่ในช่วงผลักดันให้ใช้ IPv6 ในอดีต IP เป็นบริการดาต้าแกรมแบบ connectionless ใน Transmission Control Program เดิมที่ถูกแนะนำโดย Vint Cerf และบ๊อบ คาห์นในปี 1974; อีกตัวหนึ่งเป็น Transmission Control Protocol (TCP) แบบ connection-oriented ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตจึงมักจะเรียกว่า TCP / IP รุ่นแรกของ IP, Internet Protocol เวอร์ชัน 4 (IPv4) เป็นโพรโทคอลที่โดดเด่นของอินเทอร์เน็ต ผู้รับช่วงต่อของมันคือ Internet Protocol เวอร์ชัน 6 (IPv6).

อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ · อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลและโทรคมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

อีเทอร์เน็ต

อีเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Ethernet) เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เป็นฐานหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด เนื่องจากเป็นเทคโนโลยี LAN ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงภายใต้ความดูแลรับผิดชอบของ IEEE สิ่งสำคัญที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง คือ "ความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth)" โดยมีการปรับปรุงความเร็วจาก 10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) เป็น 100 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งเรียก Ethernet นี้ว่า Fast Ethernet มีทั้งระบบการส่งสัญญาณแบบกึ่งทางคู่ (Half-Duplex) และแบบทางคู่ (Full-Duplex) ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า ATM (Asynchronous Transfer Mode) ในปี 1999 ได้มีการพัฒนาระบบการส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ต ให้มีความเร็วที่ 1000 Mbps หรือ 1 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) โดยใช้การส่งสัญญาณจาก 2 คู่สาย เป็น 4 คู่สาย โดยยังคงใช้พอร์ตการเชื่อมต่อแบบเดิมที่ระบบ 100 Mbps และ 10 Mbps ใช้อยู่ (Registered Jack 45: RJ45) และยังคงสามารถเลือกใช้งานระบบการส่งสัญญาณแบบกึ่งทางคู่ และแบบทางคู่ ได้ เช่นเดียวกับระบบ 100 Mbps คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบอีเทอร์เน็ตที่ทำงานที่ 100 Mbps จะยังคงสามารถต่อกับ อุปกรณ์ 1000 Mbps ได้ แต่ความเร็วจะลดลงมาแค่ที่การส่งข้อมูลที่อัตราความเร็ว 100 Mbps เช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบอีเทอร์เน็ต 1000 Mbps มาเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์ 100 Mbps ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาระบบอีเทอร์เน็ตให้มีอัตราการส่งข้อมูลที่ 10 กิกะบิตต่อวินาที (10000 Mbps) โดยยังคงมีความสามารถ เช่นเดียวกับระบบ 1 กิกะบิตต่อวินาที (เลือกการส่งสัญญาณแบบทางคู่หรือกึ่งทางคู่ได้, นำอุปกรณ์รุ่นก่อนหน้ามาเชื่อมต่อได้) หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:มาตรฐานไอทริปเพิลอี.

อีเทอร์เน็ตและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ · อีเทอร์เน็ตและโทรคมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

แพ็กเกตสวิตชิง

แพ็กเกตสวิตชิง (packet switching) วิธีการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายดิจิทัลที่รวมกลุ่มข้อมูลที่จะส่งทั้งหมด-ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ชนิดหรือโครงสร้าง- จัดให้เป็นบล็อกที่มีขนาดเหมาะสมเรียกว่าแพ็กเกต ถูกนำเสนอครั้งแรกสำหรับการใช้งานทางทหารในช่วงต้นทศวรรษ 1960 และนำไปใช้บนเครือข่ายขนาดเล็กในปี 1968 วิธีการส่งข้อมูลในลักษณะนี้กลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีระบบเครือข่ายพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังอินเทอร์เน็ตและแลนส่วนใหญ่ แพ็กเกตสวิตชิงส่งมอบกระแสข้อมูล(ลำดับของแพ็กเกต)ต่อเนื่องแบบ variable-bit-rate ผ่านทางเครือข่ายที่ใช้ร่วมกัน เมื่อข้อมูลไหลไปตามเนทเวิร์คอะแดปเตอร์, สวิตช์, เราเตอร์และโหนดเครือข่ายอื่น ๆ แพ็กเกตจะถูกพักเอาไว้และเข้าคิว ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดความล่าช้าและทรูพุทที่แปรไปตามปริมาณการจราจรในเครือข่าย แพ็กเกตสวิตชิงแตกต่างไปจากกระบวนทัศน์ของเครือข่ายที่สำคัญอื่นอย่างเช่นเซอร์กิตสวิตชิง วิธีนั้นจะจำกัดจำนวนจุดเชื่อมต่อหรือเส้นทางเฉพาะระหว่างโหนดต่อโหนดด้วยอัตราความเร็วและความล่าช้าที่คงที่สำหรับการใช้งานพิเศษในช่วงเซสชั่นการสื่อสาร ในกรณีที่มีค่าธรรมเนียมในการใช้งาน (ตรงข้ามกับอัตราคงที่) เช่นในการให้บริการการสื่อสารเคลื่อนที่ เซอร์กิตสวิตชิงคิดค่าธรรมเนียมต่อหน่วยเวลาของการเชื่อมต่อ, แม้ในขณะที่ไม่มีข้อมูลที่เชื่อมต่อ, ในขณะที่แพ็กเกตสวิตชิงคิดค่าธรรมเนียมต่อหน่วยของข้อมูล การสื่อสารโหมด Packet อาจจะนำมาใช้โดยมีหรือไม่มีโหนดส่งต่อช่วงกลาง (แพ็กเกตสวิตช์หรือเราเตอร์).

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และแพ็กเกตสวิตชิง · แพ็กเกตสวิตชิงและโทรคมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

แลน

แลน (Local Area Network หรือ LAN) หรือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 3 รูปแบบการเชื่อมโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) การเชื่อมโยงเครือข่ายระดับเมืองหรือแมน (MAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ.

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และแลน · แลนและโทรคมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

แวน

เครือข่ายครอบคลุมบริเวณเมืองใหญ่ หรือ แมน (Metropolitan Area Networks, MANs) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากจะมีขนาดครอบคลุมเมืองหรือบริเวณมหาวิทยาลัย ระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยปกติแล้วจะเป็นระบบไร้สายเช่นการใช้คลื่นไมโครเวฟหรือใช้ใยแก้วนำแสง เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสถานที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ตัวอย่างการใช้งานจริง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษา จะมีระบบแมนเพื่อเชื่อมต่อระบบแลนของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้างเทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่ายแมนได้แก่ ATM, FDDI และ SMDSระบบเครือข่ายแมนที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์.

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และแวน · แวนและโทรคมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

ใยแก้วนำแสง

ใยแก้วนำแสงใยแก้วนำแสง หรือ ออปติกไฟเบอร์ หรือ ไฟเบอร์ออปติก เป็นแก้วหรือพลาสติกคุณภาพสูง ที่สามารถยืดหยุ่นโค้งงอได้ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 8-10 ไมครอน (10 ไมครอน.

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และใยแก้วนำแสง · โทรคมนาคมและใยแก้วนำแสง · ดูเพิ่มเติม »

เราเตอร์

ราเตอร์ 27 Terabit ต่อวินาที ตัวอย่างเราเตอร์ซิสโก 1800 เราเตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่หาเส้นทางและส่ง(forward)แพ็กเกตข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปยังเครือข่ายปลายทางที่ต้องการ เราเตอร์ทำงานบนเลเยอร์ที่ 3 ตามมาตรฐานของ OSI Model เราเตอร์มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ สวิตช์ (Switch) ที่มีความสามารถแจกไอพี ได้ เราเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับสองเส้นทางหรือมากกว่าจากเครือข่ายที่แตกต่างกัน เมื่อแพ็คเก็ตข้อมูลเข้ามาจากเส้นทางหนึ่ง เราเตอร์จะอ่านข้อมูล address ที่อยู่ในแพ็คเก็ตเพื่อค้นหาปลายทางสุดท้าย จากนั้น, ด้วยข้อมูลในตารางเส้นทางหรือนโยบายการส่ง, จะส่งแพ็กเก็ตไปยังเครือข่ายข้างหน้าตามเส้นทางนั้น เราเตอร์จะดำเนินการ "กำกับการจราจร" บนเส้นทางนั้นด้วย แพ็คเก็ตข้อมูลโดยทั่วไปจะถูกส่งจากเราเตอร์หนึ่งไปยังอีกเราเตอร์หนึ่งผ่านเครือข่ายที่เป็น Internetwork จนกว่าจะถึงโหนดปลายทาง.

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเราเตอร์ · เราเตอร์และโทรคมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เนตเวิร์กสวิตช์

นทเวิร์คสวิตช์ (Network Switch) เป็นอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกลุ่มเครือข่ายหรืออุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปคำๆนี้หมายถึง network bridge หรือสะพานเครือข่ายหลายพอร์ตที่ประมวลและจัดเส้นทางข้อมูลที่ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (data link layer - เลเยอร์ 2) ของแบบจำลองโอเอสไอ.

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเนตเวิร์กสวิตช์ · เนตเวิร์กสวิตช์และโทรคมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ โทรคมนาคม มี 52 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 12.05% = 10 / (31 + 52)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: