ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เคนต์และเมืองเทศมณฑล
เคนต์และเมืองเทศมณฑล มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สหราชอาณาจักรเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักรเทศมณฑลของอังกฤษ
สหราชอาณาจักร
หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..
สหราชอาณาจักรและเคนต์ · สหราชอาณาจักรและเมืองเทศมณฑล ·
เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร
มหาวิหารเช่นนครยอร์คที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหารยอร์ค เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร (ภาษาอังกฤษ: City status in the United Kingdom) เป็นเมืองที่ได้รับพระราชทานฐานะจากพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (British monarch) ให้แก่ชุมชนที่ทรงเลือก การได้รับพระราชทานฐานะเป็นนครเป็นแต่การได้รับสิทธิที่จะเรียกตนเองเป็น “นคร” โดยไม่มีสิทธิพิเศษใดใดนอกไปจากนั้น แต่กระนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่เป็นที่ต้องการกันเป็นอย่างแพร่หลายเพราะเป็นการนำมาซึ่งความมีหน้ามีตาของเมือง นอกจากนั้นการมอบสิทธิก็มิได้มีหลักเกณฑ์มาตรฐานแต่อย่างใด แต่ในอังกฤษและเวลส์ฐานะการเป็น “นคร” มักจะมอบให้แก่เมืองที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหาร ประเพณีการตั้งเมืองที่มีมหาวิหารขึ้นเป็น “นคร” เริ่มมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1540 เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงก่อตั้งสังฆมลฑล (ซึ่งก็หมายถึงการมีมหาวิหาร) ในเมืองแปดเมืองและพระราชทานฐานะเมืองต่างๆ เหล่านั้นให้เป็น “นคร” โดยทรงมอบพระราชเอกสารสิทธิ (letters patent) ให้ การมอบฐานะการเป็นนครให้เมืองในไอร์แลนด์และในเวลส์มีจำนวนน้อยกว่าในอังกฤษมาก ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นไอร์แลนด์เหนือมีเมืองที่มีฐานะเป็นนครมีเพียงสองเมือง ส่วนในสกอตแลนด์ฐานะนครไม่มีให้กันอย่างเป็นทางการจนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งในเวลานั้นก็เริ่มมีการฟื้นฟูการมอบฐานะการเป็นนครโดยเริ่มในอังกฤษ ที่การมอบฐานะจะตามด้วยการก่อตั้งมหาวิหาร และต่อมาการมอบฐานะก็เกิดขึ้นในสกอตแลนด์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การมอบฐานะการเป็นนครในอังกฤษและเวลส์ก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าไม่จำเป็นต้องเป็นเมืองที่มีมหาวิหารและสิทธิที่มอบให้ตั้งแต่นั้นมาก็ขึ้นอยู่กับมาตรฐานหลายอย่างเช่นตามจำนวนประชากรในเมืองที่ได้รับฐานะเป็นต้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีการยุบเลิกรัฐบาลท้องถิ่นบางรัฐบาลที่เป็นผลของการปฏิรูปรัฐบาลท้องถิ่นที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น (ไอร์แลนด์) ค.ศ. 1840 (Municipal Corporations (Ireland) Act 1840) ทำให้เมืองเก่าหลายเมืองถูกยุบฐานะ แต่ก็ได้มีการมอบพระราชเอกสารสิทธิให้แก่เมืองที่ถูกกระทบกระเทือนเพื่อให้เมืองต่างๆ เหล่านั้นมีฐานะตามที่เคยเป็นมา ในปัจจุบันโรเชสเตอร์, เพิร์ธ และเอลกินเป็นเพียงเมืองสามเมืองเท่านั้นในสหราชอาณาจักรที่สูญเสียฐานะในการเป็นนคร.
เคนต์และเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร · เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักรและเมืองเทศมณฑล ·
เทศมณฑลของอังกฤษ
มณฑลการปกครองของอังกฤษ เป็นการแบ่งการเขตการปกครองหนึ่งในระดับการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเพื่อใช้ในทางการบริหาร, ทางการเมือง และในการแบ่งเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส” ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น.
เคนต์และเทศมณฑลของอังกฤษ · เทศมณฑลของอังกฤษและเมืองเทศมณฑล ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ เคนต์และเมืองเทศมณฑล มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง เคนต์และเมืองเทศมณฑล
การเปรียบเทียบระหว่าง เคนต์และเมืองเทศมณฑล
เคนต์ มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ เมืองเทศมณฑล มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 10.00% = 3 / (20 + 10)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เคนต์และเมืองเทศมณฑล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: