โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขตวัลลูน

ดัชนี เขตวัลลูน

ตวัลลูน (Région wallonne; Wallonische Region; Wallonië) เรียกอีกอย่างว่า "วาโลเนีย" เป็นเขตการปกครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศเบลเยียม ร่วมกับเขตฟลามส์และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ มีเนื้อที่ 55% ของเนื้อที่ประเทศ แต่มีประชากรเป็นอันดับที่ 3 แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส แต่เขตวัลลูนก็มิได้รวมเข้ากับชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมเหมือนในกรณีของเขตฟลามส์ซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับชุมชนฟลามส์ นอกจากนี้ในเขตวัลลูนยังมีประชาคมผู้ใช้ภาษาเยอรมัน ซึ่งอยู่ในทิศตะวันออกที่มีสภาแยกดูแลในด้านการศึกษาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับเขตอื่น ๆ เขตวัลลูนมีสภาและรัฐบาลดูแลกิจการภายในเขต ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เมืองหลวงของเขตคือนามูร์ มีภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม วาโลเนียนั้นเป็นเพียงอันดับสองรองจากสหราชอาณาจักรในด้านอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะการถลุงเหล็กและถ่านหิน ซึ่งนำมาซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของเขตภูมิภาควัลลูน ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 วัลลูนถือเป็นครึ่งหนึ่งของเบลเยียมที่ร่ำรวยที่สุด แต่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักลดลงอย่างมาก ทำให้เขตฟลามส์นั้นก้าวหน้าขึ้นกว่าเขตวัลลูนในด้านเศรษฐกิจ ในปัจจุบันเขตวัลลูนนั้นมีปัญหาด้านอัตราผู้ไม่มีงานทำค่อนข้างสูง และยังมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากร (GDP per Capita) ต่ำกว่าเขตฟลามส์อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและภาษาของทั้งสองภูมิภาคหลักของเบลเยียมนั้นได้นำพามาซึ่งปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในระดับประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เมืองหลวงของวาโลเนียตั้งอยู่ที่นามูร์ แต่เขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดนั้นคือลีแยฌ ส่วนเขตเทศบาลเดียวที่มีประชากรมากที่สุดคือ ชาร์เลอรัว เมืองใหญ่ต่างๆในวาโลเนียนั้นตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำซอมบร์ และแม่น้ำเมิส อันประกอบด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดกว่าสองในสามของเขต อันเป็นเขตอุตสาหกรรมในอดีตของเบลเยียม ด้านทิศเหนือนั้นเป็นที่ราบลุ่มภาคกลางของเบลเยียม ซึ่งเหมือนกับเขตฟลามส์ อันมีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็นเขตอาร์เดนน์ ซึ่งประกอบด้วยภูเขาสลับอย่างหนาแน่น พรมแดนของเขตวัลลูนทางด้านเหนือนั้นติดกับเขตฟลามส์ และประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านใต้และตะวันตกจรดกับประเทศฝรั่งเศส ส่วนทิศตะวันออกนั้นติดกับประเทศเยอรมนี และประเทศลักเซมเบิร์ก.

32 ความสัมพันธ์: ชาร์เลอรัวชุมชนฟลามส์ชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมกันยายนการปฏิวัติอุตสาหกรรมภาษาฝรั่งเศสภาษาดัตช์ภาษาเยอรมันมณฑลลักเซมเบิร์กมณฑลลีแยฌมณฑลวัลลูนบราบันต์มณฑลนามูร์มณฑลแอโนมงส์รายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวงลีแยฌสหราชอาณาจักรสงครามโลกครั้งที่สองผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19คริสต์ศตวรรษที่ 20ตูร์แนประเทศฝรั่งเศสประเทศลักเซมเบิร์กประเทศเบลเยียมประเทศเยอรมนีประเทศเนเธอร์แลนด์นามูร์แม่น้ำเมิซเขตฟลามส์เขตการปกครองของประเทศเบลเยียมเซอแร็ง

ชาร์เลอรัว

ร์เลอรัว (Charleroi) เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศเบลเยียม ตั้งอยู่ในมณฑลแอโน อยู่ทางใต้ของกรุงบรัสเซลส์ประมาณ 50 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 203,000 คน และมีประชากรบริเวณปริมณฑลประมาณ 500,000 คน นับเป็นเมืองใหญ่จากประชากรอันดับห้าของประเทศเบลเยียมรองจากบรัสเซลส์, แอนต์เวิร์ป, ลีแยฌ และเกนต์ และหากนับเฉพาะจำนวนประชากรในเขตเทศบาล ชาร์เลอรัวจะเป็นเทศบาลใหญ่อันดับสามรองจากแอนต์เวิร์ปและเกนต์ ชาร์เลอรัวตั้งอยู่ริมสองฝั่งของแม่น้ำแม่น้ำซ็องบร์ (Sambre) เดิมมีการประกอบอุตสาหกรรมจำนวนมาก เช่นการทำเหมืองถ่านหินและอุตสาหกรรมเหล็กกล้า จนได้รับชื่อเล่นว่า Pays Noir (ประเทศสีดำ) อย่างไรก็ตามโรงงานส่วนใหญ่ถูกปิดตัวลงตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1950 ภูมิทัศน์ของเมืองก็ยังคงมีบริเวณของเสียจากอาคารอุตสาหกรรมเก่าอยู่ทั่วไป ประวัติศาสตร์ของชาร์เลอรัวเริ่มต้นใน ค.ศ. 1666 ในสมัยที่สเปนมีอำนาจเหนือเนเธอร์แลนด์ ผู้สำเร็จราชการชาวสเปนได้เข้ามาเวนคืนพื้นที่จากชาวท้องถิ่นและสร้างป้อมปราการที่ริมแม่น้ำซ็องบร์ สะพานข้ามแม่น้ำถูกสร้างขึ้น ที่ดินถูกแจกจ่ายไปสู่ประชาชน และได้รับการตั้งชื่อเมืองเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าการ์โลสที่ 2 (Charles II) พระมหากษัตริย์แห่งสเปนในสมัยนั้น.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและชาร์เลอรัว · ดูเพิ่มเติม »

ชุมชนฟลามส์

ตพื้นที่ของชุมชนฟลามส์ ชุมชนฟลามส์ (Vlaamse Gemeenschap) ในทางการปกครองของเบลเยียม เป็นสถาบันชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ตามกฎหมายในขอบเขตพื้นที่ภาษาดัตช์ และเขตทวิภาษาในเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ ทั้งนี้ บทบาทของชุมชนฟลามส์ได้นำมารวมกับเขตฟลามส์ บริหารโดยสภาฟลามส์ในบรัสเซลส์ ชุมชนฟลามส์ยังมีความหมายในทางสังคมและวัฒนธรรม หมายถึงองค์กร สื่อ สังคม วัฒนธรรมของชาวฟลามส์ อีกนัยหนึ่งคือความเป็น"ชาติฟลามส์".

ใหม่!!: เขตวัลลูนและชุมชนฟลามส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม

มชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม หรือ ชุมชนฝรั่งเศสฯ (Communauté française de Belgique, Franse Gemeenschap) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการได้ว่า "สหพันธ์วาโลเนีย-บรัสเซลส์" (Fédération Wallonie-Bruxelles, Wallonia-Brussels Federation) เป็นหนึ่งในสามชุมชนอย่างเป็นทางการของเบลเยียม ร่วมกับชุมชนฟลามส์และชุมชนผู้พูดภาษาเยอรมันแห่งเบลเยียม ชุมชนฝรั่งเศสนั้นดูแลชาวเบลเยียมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหลัก ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าเป็นชุมชุนผู้พูดภาษาฝรั่งเศส โดยมีสภาและรัฐบาลปกครองเป็นของตนเอง โดยสภาของชุมชนฝรั่งเศสประกอบด้วยสมาชิกจากสภาวัลลูนและสภาของเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ ธงสัญลักษณ์ของชุมชนฝรั่งเศสฯนั้นใช้ธงสัญลักษณ์ของเขตวัลลูน ที่ซึ่งกว่าร้อยละ 80 ของประชากรนั้นใช้ภาษาฝรั่งเศสในการดำรงชีพ โดยมีเมืองหลวงของชุมชนอยู่ที่ นครบรัสเซล.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

กันยายน

กันยายน เป็นเดือนที่ 9 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกันยายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกันย์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีตุล แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกันยายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวสิงโตและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว เดือนกันยายนในภาษาอังกฤษ September มาจากภาษาละติน septem เนื่องจากเป็นเดือนที่ 7 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนกันยายนในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและกันยายน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

รงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ภาพ ''เหล็กและถ่านหิน'' โดยวิลเลียม เบลล์ สกอตต์, ค.ศ. 1855-60 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) คือช่วงเวลาตั้งแต..

ใหม่!!: เขตวัลลูนและการปฏิวัติอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและภาษาดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg ลุกซ็องบูร์, ลักเซมเบิร์ก: Lëtzebuerg) เป็นมณฑลทางใต้ที่สุดของเขตวัลลูนและประเทศเบลเยียม โดยทางตะวันตกมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลนามูร์, ทางเหนือติดต่อกับมณฑลลีแยฌของประเทศเบลเยียม, ทางตะวันออกติดต่อกับประเทศลักเซมเบิร์ก และทางใต้ติดต่อกับจังหวัดอาร์แดน, จังหวัดเมิซ และจังหวัดเมอร์เตมอแซลของประเทศฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์กมีเมืองหลวงชื่ออาร์ลง ประกอบด้วยเขตการปกครอง 5 เขต ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 44 เทศบาล และมีพื้นที่ 4,440 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทำให้ลักเซมเบิร์กเป็นมณฑลที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและมณฑลลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลลีแยฌ

ลีแยฌ (Liège) หรือ ลึททิช (Lüttich) เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกที่สุดของเขตวัลลูนและประเทศเบลเยียม โดยทางเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลเฟลมิชบราบันต์, มณฑลลิมเบิร์กของประเทศเบลเยียมและจังหวัดลิมเบิร์กของประเทศเนเธอร์แลนด์, ทางตะวันออกติดต่อกับประเทศเยอรมนี, ทางตะวันตกติดต่อกับมณฑลวัลลูนบราบันต์และมณฑลนามูร์ และทางใต้ติดต่อกับมณฑลลักเซมเบิร์กของประเทศเบลเยียมและประเทศลักเซมเบิร์ก ประชากรส่วนใหญ่ของลีแยฌพูดภาษาฝรั่งเศส แต่ในบางเมืองทางตะวันออกของมณฑลใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลัก ลีแยฌมีแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำเมิซ ลีแยฌมีเมืองหลวงเป็นชื่อเดียวกันกับมณฑล และมีพื้นที่ 3,862 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 4 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 84 เทศบาล.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและมณฑลลีแยฌ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลวัลลูนบราบันต์

วัลลูนบราบันต์ (Walloon Brabant) หรือ บราบ็อง-วาลง (Brabant-Wallon) เป็นมณฑลในเขตวัลลูนของประเทศเบลเยียม โดยทางเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลเฟลมิชบราบันต์, ทางตะวันออกติดต่อกับมณฑลลีแยฌ และทางใต้ติดต่อกับมณฑลนามูร์และมณฑลแอโนของประเทศเบลเยียม วัลลูนบราบันต์มีเมืองหลวงชื่อวาฟวร์ และมีพื้นที่ 1,091 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเขตการปกครองเพียงเขตเดียว ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 27 เทศบาล วัลลูนบราบันต์ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1955 จากการแยกอดีตมณฑลบราบันต์เป็น 3 ส่วน ได้แก่ มณฑลวัลลูนบราบันต์, มณฑลเฟลมิชบราบันต์ และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับมณฑลใด และการแยกมณฑลครั้งนี้ทำให้เกิดเขตการปกครองรูปแบบใหม่ขึ้น 3 เขต ได้แก่ เขตฟลามส์, เขตวัลลูน และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ ยุทธการวอเตอร์ลู ซึ่งเป็นยุทธการครั้งสุดท้ายของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เกิดขึ้นที่เมืองวอเตอร์ลู ในมณฑลวัลลูนบราบันต.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและมณฑลวัลลูนบราบันต์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลนามูร์

นามูร์ (Namur) เป็นมณฑลในเขตวัลลูนของประเทศเบลเยียม โดยทางตะวันตกมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลแอโน, ทางเหนือติดต่อกับมณฑลวัลลูนบราบันต์และมณฑลลีแยฌ, ทางตะวันออกติดต่อกับมณฑลลักเซมเบิร์กของประเทศเบลเยียม และทางใต้ติดต่อกับจังหวัดแอนและจังหวัดอาร์แดนของประเทศฝรั่งเศส นามูร์มีเมืองหลวงเป็นชื่อเดียวกันกับมณฑล และมีพื้นที่ 3,666 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเขตการปกครอง 3 เขต ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 38 เทศบาล มณฑลนามูร์มีแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำเมิซ ซึ่งไหลผ่านทางตอนใต้ของมณฑล.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและมณฑลนามูร์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลแอโน

แอโน (Hainaut) เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกที่สุดของเขตวัลลูนในประเทศเบลเยียม โดยทางเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลฟลานเดอร์ตะวันตก, มณฑลฟลานเดอร์ตะวันออกและมณฑลเฟลมิชบราบันต์, ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับมณฑลวัลลูนบราบันต์, ทางตะวันออกติดต่อกับมณฑลนามูร์ของประเทศเบลเยียม, และทางตะวันตกติดต่อกับจังหวัดนอร์และจังหวัดแอนของประเทศฝรั่งเศส แอโนมีเมืองหลวงชื่อมงส์ มีเมืองใหญ่ที่สุดชื่อชาร์เลอรัว และมีพื้นที่ 3,786 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 7 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 69 เทศบาล มณฑลแอโนมีประชากรจำนวน 1,332,042 คน ซึ่งทำให้แอโนเป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดของเขตวัลลูน.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและมณฑลแอโน · ดูเพิ่มเติม »

มงส์

มงส์ (Mons) เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศเบลเยียม เป็นเมืองหลวงของมณฑลแอโน มีประชากรประมาณ 95,000 คน และมีประชากรบริเวณปริมณฑลประมาณ 257,000 คน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงบรัสเซลส์ประมาณ 60 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงปารีสประมาณ 240 กิโลเมตร ทางตะวันออกของลีลประมาณ 75 กิโลเมตร และทางตะวันตกของอาเคินประมาณ 180 กิโลเมตร มงส์ตั้งอยู่ที่จุดตัดระหว่างทางหลวงยุโรป E19 (อัมสเตอร์ดัม-แอนต์เวิร์ป-บรัสเซลส์-ปารีส) กับทางหลวงยุโรป E42 (ลีล-ชาร์เลอรัว-ลีแยฌ-แฟรงก์เฟิร์ต) ในยุค 1860 หลังจากที่เบลเยียมได้รับเอกราชระยะหนึ่ง เมืองต่างๆ รวมทั้งมงส์ได้รับการรื้อฟื้น มีการสร้างถนนขนาดใหญ่และโครงการสร้างเมืองอื่นๆ การปฏิวัติอุตสาหกรรมและเหมืองถ่านหินทำให้มงส์กลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมหนักและเป็นกระดูกสันหลังอุตสาหกรรมของเขตวัลลูน อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มงส์ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมสำคัญได้ถูกทิ้งระเบิดและเกิดการสู้รบระหว่างกองกำลังจากอเมริกากับกองกำลังเยอรมนี หลังจากสงครามอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ก็เสื่อมถอยลง ปัจจุบันมงส์เป็นเมืองมหาวิทยาลัยและศูนย์กลางการค้า และด้วยประวัติศาสตร์ มรดกทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ทำให้มงส์ได้รับเลือกเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรปประจำปี ค.ศ. 2015.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและมงส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง

ปัจจุบันทั่วโลกมีรัฐเอกราชซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติส่วนใหญ่ 196 รัฐ (ทั้งหมดเป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ยกเว้นนครรัฐวาติกัน ปาเลสไตน์ และคอซอวอ) และมีรัฐอีก 8 แห่งที่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติส่วนใหญ.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและรายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ลีแยฌ

ลีแยฌ (Liège), ลึททิช (Lüttich), เลยก์ (Luik) เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดลีแยฌ ตั้งอยู่ในหุบเขาริมแม่น้ำเมิส ใกล้กับพรมแดนทางตะวันออกของเบลเยียมซึ่งติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ลีแยฌเป็นเมืองหลวงทางเศรษฐกิจของเขตวัลลูน มีประชากรประมาณ 197,000 คน มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ประมาณ 30,000 คน และมีประชากรบริเวณปริมณฑลประมาณ 600,000 คน ซึ่งถือได้ว่ามีผู้อยู่อาศัยมากที่สุดในวัลโลเนีย ลีแยฌเป็นเมืองใหญ่จากประชากรอันดับสามของประเทศเบลเยียมรองจากกรุงบรัสเซลส์และแอนต์เวิร์ป และเป็นเทศบาลใหญ่อันดับสี่รองจากแอนต์เวิร์ป เกนต์ และชาร์เลอรอย ในอดีตที่ตั้งของลีแยฌเคยเป็นรัฐในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ชื่อ "ราชรัฐมุขนายกลีแยฌ" ซึ่งก่อตั้งตั้งแต่ ค.ศ. 980 แต่ได้ถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1795 เมื่อพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยลีแยฌ (University of Liège: ULg) ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และเปิดอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1817 ประมาณครึ่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ลีแยฌเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ซึ่งนำความเจริญมาสู่วัลโลเนีย แต่ต่อมาได้มีการลดความสำคัญของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และเหล็กลง ลีแยฌมีชื่อเล่นคือ La Cité Ardente (เมืองที่ร้อนแรง) โดยชื่อนี้มาจากนิยายอิงประวัติศาสตร์ชื่อเดียวกันโดย Henri Carton de Wiart ใน ค.ศ. 1904 ซึ่งในขณะนั้นชื่อนี้ยังไม่เคยถูกใช้.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและลีแยฌ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: เขตวัลลูนและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น

accessdate.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 19

ริสต์ศตวรรษที่ 19 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1900.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและคริสต์ศตวรรษที่ 19 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและคริสต์ศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

ตูร์แน

ตูร์แน (Tournai) หรือ โดร์นิก (Doornik) เป็นเมืองในเขตวัลลูน มณฑลแอโน และเขตเทศบาลหนึ่งของเบลเยียม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงบรัสเซลส์ไปประมาณ 85 กิโลเมตร ตัวเมืองมีแม่น้ำสเกลต์พาดผ่านกลางเมือง เมืองตูร์แนยังเป็นที่ตั้งของมุขมณฑลตูร์แน (Diocese of Tournai) อีกด้วย ตูร์แนเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งเบลเยียม คู่กับอาร์ลงและตองเคอเรน อันเป็นเมืองสำคัญส่วนหนึ่งของเคาน์ตีฟลานเดอร์ (Comté de Flandre) ตั้งแต่สมัยยุคกลาง โดยเป็นที่ตั้งของหอระฆังที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเบลเยียม และอาสนวิหารแม่พระแห่งตูร์แน ซึ่งทั้งสองแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก โดยมหาวิหารนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ของยุคกลางที่ผสมผสานกันด้วยสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอทิกอย่างสวยงาม พร้อมทั้งหอคอยขนาดใหญ่จำนวนห้าหออันเป็นเอกลักษณ์สำคัญและเป็นที่มาของชื่อเล่นของตูร์แนว่า "เมืองแห่งหอระฆังทั้งห้า".

ใหม่!!: เขตวัลลูนและตูร์แน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg; ลักเซมเบิร์ก: Lëtzebuerg; Luxembourg; Luxemburg) หรือชื่อทางการคือ ราชรัฐลักเซมเบิร์ก (Grand Duchy of Luxembourg; ลักเซมเบิร์ก: Groussherzogtum Lëtzebuerg; Grand-Duché de Luxembourg; Großherzogtum Luxemburg) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป มีพรมแดนด้านตะวันออกติดกับประเทศเยอรมนี ด้านใต้ติดกับฝรั่งเศส และด้านตะวันตกติดกับเบลเยียม.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและประเทศลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นามูร์

นามูร์ (Namur) หรือ นาเมิน (Namen) เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศเบลเยียม นามูร์เป็นเมืองหลวงของทั้งมณฑลนามูร์และเขตวัลลูน ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำเมิซกับแม่น้ำซ็องบร์ อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงบรัสเซลส์ 63 กิโลเมตร ทางตะวันออกของชาร์เลอรัว 28 กิโลเมตร และทางตะวันตกของลีแยฌ 56 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 110,000 คน นามูร์เป็นศูนย์กลางการค้าและอุตสาหกรรมที่สำคัญ มีการผลิตเครื่องจักร เครื่องหนัง โลหะ และเครื่องลายคราม นอกจากนี้ยังเป็นชุมทางรถไฟที่สำคัญของสายเหนือ-ใต้ระหว่างบรัสเซลส์กับลักเซมเบิร์กและสายตะวันตก-ตะวันออกระหว่างลีลกับลีแ.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและนามูร์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเมิซ

แม่น้ำเมิซ (Meuse) หรือในประเทศเนเธอร์แลนด์เรียก แม่น้ำมาส (Maas) เป็นแม่น้ำสายใหญ่ในยุโรป อยู่ทางตะวันตกของทวีป ต้นน้ำอยู่ในจังหวัดโอต-มาร์นทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ผ่านประเทศเบลเยียมทางด้านตะวันออก แล้วไหลเข้าไปในเนเธอร์แลนด์ไปรวมกับแม่น้ำวาลที่เมืองคอร์เกิม (Gorinchem) แล้วจึงไหลลงทะเลเหนือ รวมความยาว 925 กม.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและแม่น้ำเมิซ · ดูเพิ่มเติม »

เขตฟลามส์

ตฟลามส์ (Vlaams Gewest, Région flamande, Flamish region) หรือเรียกอีกอย่างว่า เขตเฟลมิช เป็นหนึ่งในสามเขตการปกครองอย่างเป็นทางการของประเทศเบลเยียม ร่วมกับเขตวัลลูนและเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ เขตฟลามส์มีเนื้อที่อยู่ทางเหนือของประเทศและกินพื้นที่ประมาณ 13,522 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 44.29 ของประเทศ) เป็นภูมิภาคที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป โดยประมาณ 455 คนต่อตารางกิโลเมตร ใช้ภาษาดัตช์เป็นภาษาราชการ ในความหมายปัจจุบัน ฟลานเดอร์ (Flanders) มักใช้หมายถึงเขตฟลาม.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและเขตฟลามส์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตการปกครองของประเทศเบลเยียม

การแบ่งเขตการปกครองของประเทศเบลเยียม นั้นมีลักษณะการปกครองโดยรัฐบาลกลาง (แบบสหพันธรัฐ) อันประกอบด้วย 3 ชุมชน (Community), 3 เขต (Region) และ 4 เขตภาษา (Language area) ซึ่งทั้งสามแบบนี้ประกอบรวมกันเป็นประเทศเบลเยียม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียมปี..

ใหม่!!: เขตวัลลูนและเขตการปกครองของประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

เซอแร็ง

ศาลาว่าการเมืองเซอแร็ง เซอแร็ง (Seraing) เป็นเมืองในประเทศเบลเยียม ในจังหวัดลีแยฌ บนฝั่งแม่น้ำเมิซ เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมโลหะของประเทศ ผลิตเครื่องจักรและมีแก้วคริสตัลที่มีชื่อเสียง หมวดหมู่:เมืองในประเทศเบลเยียม หมวดหมู่:จังหวัดลีแยฌ.

ใหม่!!: เขตวัลลูนและเซอแร็ง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วัลโลเนียวาลโลเนีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »