ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เกียวโต (นคร)และโทกูงาวะ อิเอยาซุ
เกียวโต (นคร)และโทกูงาวะ อิเอยาซุ มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รัฐบาลเอโดะคันไซประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นประเทศญี่ปุ่นนางาซากิโอซากะโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิโตเกียวเกาะฮนชู
รัฐบาลเอโดะ
รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.
รัฐบาลเอโดะและเกียวโต (นคร) · รัฐบาลเอโดะและโทกูงาวะ อิเอยาซุ ·
คันไซ
ันไซ หรือเรียก คิงกิ (近畿) เป็นเขตแดนทางภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นบนเกาะฮนชู โดยเขตคันไซประกอบไปด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ เฮียวโงะ เคียวโตะ โอซะกะ ชิงะ นะระ วะกะยะมะ และมิเอะ คันไซมีขนาดประมาณ 27,335.11 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 22,757,897 คน (พ.ศ. 2553) อัตราความหนาแน่น 755.39 คน/ตารางกิโลเมตร ภูมิภาคคินคิ หรือที่คนส่วนใหญ่จะเรียกกันในนามของภูมิภาคคันไซ หรือภาคกลางตอนใต้ของญี่ปุ่น ภูมิภาคคันไซแห่งนี้เป็นอีกภูมิภาคที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น นอกเหนือจากภูมิภาคคันโตซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงโตเกียวเมืองหลวง ภูมิภาคคันไซนับเป็นภูมิภาคที่ความเจริญมาช้านานเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของญี่ปุ่นในยุคแรก ๆ ประวัติศาสตร์คือ เมืองนะระและเมืองเคียวโตะ เมืองหลวงทั้งสองแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศญี่ปุ่นมานับพันปี มีพระราชวังที่ประทับองค์จักรพรรดิหรือพระราชวังอิมพีเรียล ณ เมืองเคียวโตะ ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่กรุงโตเกียว นอกจากจะเป็นศูนย์กลางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นแล้ว ภูมิภาคแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของเมืองอุตสาหกรรมหลายแห่ง ได้แก่ นครโอซะกะ ศูนย์กลางการค้าและอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศเป็นเมืองใหญ่อันดับสามรองจากกรุงโตเกียวและโยะโกะฮะมะ เมืองเคียวโตะและนารา เมืองหลวงเก่าที่ยังคงอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญและงดงามเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงเมืองโคเบะซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น.
คันไซและเกียวโต (นคร) · คันไซและโทกูงาวะ อิเอยาซุ ·
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ประตูซุซะกุ ประตูเมืองหลวงเฮโจวเกียว สมัยนะระ (บูรณะขึ้นมาใหม่) คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ ในชุด ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ วาดเมื่อปี พ.ศ. 2369 โดยคะสึชิกะ โฮะกุไซ ประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น (ภาษาญี่ปุ่น: 日本の歴史; นิฮงโนะเระกิชิ).
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นและเกียวโต (นคร) · ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นและโทกูงาวะ อิเอยาซุ ·
ประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..
ประเทศญี่ปุ่นและเกียวโต (นคร) · ประเทศญี่ปุ่นและโทกูงาวะ อิเอยาซุ ·
นางาซากิ
มืองนางาซากิ เป็นเมืองเอกและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนางาซากิ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น นางาซากิถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆเพื่อการประมง ซึ่งทำให้นางาซากิกลายเป็นศูนย์กลางอิทธิพลของชาวโปรตุเกสและชาวยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 มีโบสถ์และศาสนสถานของศาสนาคริสต์มากมายในนางาซากิ ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้ ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก นอกเหนือไปจากนี้ ท่าเรือในนางาซากิ ยังเคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง และ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นามของเมืองว่า "นางาซากิ" (長崎) มีความหมายว่า "แหลมที่ทอดยาว" ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 9 สิงหาคม..
นางาซากิและเกียวโต (นคร) · นางาซากิและโทกูงาวะ อิเอยาซุ ·
โอซากะ
อซากะ เป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสามนครเคฮันชิง ตั้งอยู่ในภาคคันไซบนเกาะฮนชู ในเขตจังหวัดโอซากะ เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่มีสถานะเป็นนครโดยข้อบัญญัติรัฐบาลญี่ปุ่น นครโอซากะมีประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน แต่ในช่วงเวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านคน ซึ่งเป็นรองเพียงแต่โตเกียวเท่านั้น อัตราส่วนประชากรกลางวันต่อกลางคืนเท่ากับ 141 เปอร์เซ็นต์ นครตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโยะโดะ อ่าวโอซากะ และทะเลเซะโตะ โอซากะเป็นเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้าและวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีสมญาว่า ครัวของชาติ เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอะโดะ และปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น.
เกียวโต (นคร)และโอซากะ · โทกูงาวะ อิเอยาซุและโอซากะ ·
โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ
ทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1537 – 18 กันยายน ค.ศ. 1598) เป็นไดเมียวคนสำคัญของญี่ปุ่นในยุคอะซุชิ-โมะโมะยะมะ เนื่องจากได้สร้างวีรกรรมต่อจากโอดะ โนบุนาง.
เกียวโต (นคร)และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ · โทกูงาวะ อิเอยาซุและโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ·
โตเกียว
ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.
เกียวโต (นคร)และโตเกียว · โตเกียวและโทกูงาวะ อิเอยาซุ ·
เกาะฮนชู
นชู (สำเนียงญี่ปุ่นอ่านว่า) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นพื้นที่กว่าร้อยละ 60 ของประเทศญี่ปุ่น มีพื้นที่ 227,962.59 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าเกาะอังกฤษเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 1,300 กิโลเมตร ความกว้างตั้งแต่ 50-250 กิโลเมตร มีชายฝั่งติดทะเลยาวกว่า 5,450 กิโลเมตรรอบเกาะGeography of the World. Dorling kindersley: London, 2003.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ เกียวโต (นคร)และโทกูงาวะ อิเอยาซุ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง เกียวโต (นคร)และโทกูงาวะ อิเอยาซุ
การเปรียบเทียบระหว่าง เกียวโต (นคร)และโทกูงาวะ อิเอยาซุ
เกียวโต (นคร) มี 80 ความสัมพันธ์ขณะที่ โทกูงาวะ อิเอยาซุ มี 50 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 6.92% = 9 / (80 + 50)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เกียวโต (นคร)และโทกูงาวะ อิเอยาซุ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: