โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตำนานคธูลูและเกรทโอลด์วัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตำนานคธูลูและเกรทโอลด์วัน

ตำนานคธูลู vs. เกรทโอลด์วัน

ตำนานคธูลู (Cthulhu Mythos) เป็นตำนานสมมุติ ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นจักรวาลร่วมของงานประพันธ์ซึ่งริเริ่มโดย เอช. พี. เลิฟคราฟท์ นักประพันธ์ ออกัสต์ เดอเลธ เป็นผู้เริ่มใช้ศัพท์นี้โดยตั้งตามคธูลู ตำนานคธูลูไม่ใช่ซีรีส์เดียว แต่รวมถึงงานประพันธ์ทุกรูปแบบที่ใช้รูปแบบ ตัวละคร ฉาก และ เนื้อหาซึ่งมีรูปแบบเดียวกัน ซึ่งงานประพันธ์เหล่านี้ ได้สร้างตำนานซึ่งนักประพันธ์ในแนวเลิฟคราฟท์ใช้ประกอบงานเขียนจนถึงปัจจุบัน และขยายจักรวาลสมมุตินี้ออกไปจนพ้นแนวคิดเดิมของเลิฟคราฟท. กรทโอลด์วัน หรือ เฒ่าผู้ยิ่งใหญ่ เป็นศัพท์ซึ่งใช้เรียกสิ่งสมมุติในวรรณกรรมกลุ่มตำนานคธูลู ซึ่งมีที่มาจากบทประพันธ์ของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ แม้เกรทโอลด์วันที่มีชื่อเสียงที่สุดจะมาจากผลงานของเลิฟคราฟท์เอง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตัวละครจากงานเขียนของนักประพันธ์คนอื่น โดยรวมแล้ว เกรทโอลด์วัน (ซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่า โอลด์วัน โดยนักประพันธ์) มีอำนาจที่ด้อยกว่าเอาเตอร์ก็อด แต่ก็ได้รับการบูชาจากลัทธิต่างๆทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตำนานคธูลูและเกรทโอลด์วัน

ตำนานคธูลูและเกรทโอลด์วัน มี 12 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฮัสเทอร์ดีพวันคธูลูคโธเนียนนีโครโนมิคอนแชนแทคไนท์กอนท์เกมเล่นตามบทบาทเอช. พี. เลิฟคราฟท์เอลเดอร์ก็อดเอลเดอร์ธิงเอาเตอร์ก็อด

ฮัสเทอร์

ัสเทอร์ (Hastur) หรือฮัสทูลหรือฮัสโทล เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า เกรทโอลด์วัน ในเรื่องชุดตำนานคธูลู มีฉายาว่า ผู้มิอาจเอ่ยนาม (the Unspeakable และ Him Who Is Not to be Named) ฮัสเทอร์ปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น ไฮตา คนเลี้ยงแกะ (Haïta the Shepherd) ของแอมโบรส เบียร์ซซึ่งตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2436 โดยเป็นเทพของคนเลี้ยงแกะ ต่อมา โรเบิร์ต ดับเบิลยู. แคมเบอร์ได้นำฮัสเทอร์มาใช้ในงานประพันธ์ของตนเองโดยเป็นทั้งชื่อของบุคคลและสถานที่ซึ่งเชื่อมโยงกับดวงดาวต่างๆ รวมถึงดาวอัลดิบาแรน.

ตำนานคธูลูและฮัสเทอร์ · ฮัสเทอร์และเกรทโอลด์วัน · ดูเพิ่มเติม »

ดีพวัน

ีพวัน (Deep One) เป็นอมนุษย์ในงานประพันธ์ชุดตำนานคธูลูของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ โดยปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น The Shadow Over Innsmouth (พ.ศ. 2474) มีลักษณะคล้ายกับกบและปลา อาศัยอยู่ในทะเล และสามารถสืบพันธุ์กับมนุษย์ได้ สิ่งที่ปรากฏในเรื่องชุดตำนานคธูลูมากมายที่เกี่ยวโยงกับดีพวัน เช่น เมือง Innsmouth นครใต้สมุทร Y'ha-nthlei กลุ่มภาคีแห่งดากอน และอสุรกายซึ่งเรียกว่า เจ้าพ่อดากอนกับเจ้าแม่ไฮดรา หลังจากที่ปรากฏตัวในงานของเลิฟคราฟท์แล้ว ดีพวันยังปรากฏตัวในงานประพันธ์ของนักเขียนคนอื่นๆ โดยเฉพาะออกัสต์ เดอเล.

ดีพวันและตำนานคธูลู · ดีพวันและเกรทโอลด์วัน · ดูเพิ่มเติม »

คธูลู

ูลูในนครรุลูเยห์ คธูลู (Cthulhu), คธุลฮู, คุลลูหรือธูลู (ชื่อจริงของคธูลูนั้นเป็นภาษาที่มนุษย์ไม่สามารถออกเสียงได้ถูกต้อง) เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า เกรทโอลด์วัน ในงานประพันธ์ของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ คธูลูปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น "เสียงเรียกของคธูลู" (The Call of Cthulhu) ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2471 และมีบทบาทเล็กๆในงานเขียนเรื่องอื่นๆของเลิฟคราฟท์ ออกัสต์ เดอเลธใช้ศัพท์คำว่า ตำนานคธูลู (Cthulhu Mythos) เพื่อจำแนกงานเขียนของเลิฟคราฟท์และตัวเขาเองที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน ซึ่งในเวลาต่อมาได้รวมถึงงานประพันธ์ของคนอื่นๆซึ่งใช้ตัวละครและเนื้อหาแบบเดียวกันทั้งหมด (เรียกได้อีกอย่างว่าเรื่องสยองขวัญแนวเลิฟคราฟท์ (Lovecraftian horror) ชื่อของคธูลูมักใช้เปรียบเทียบในความหมายของสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว.

คธูลูและตำนานคธูลู · คธูลูและเกรทโอลด์วัน · ดูเพิ่มเติม »

คโธเนียน

นียน (Chthonians) เป็นเผ่าพันธุ์ในเรื่องชุดตำนานคธูลู โดยมีบทบาทครั้งแรกในเรื่องสั้น Cement Surroundings (พ.ศ. 2512) ของไบรอัน ลัมลีย์แต่ไม่ได้ปรากฏตัวให้เห็น คโธเนียนมีบทบาทสำคัญในนิยายเรื่องThe Burrowers Beneath (พ.ศ. 2517).

คโธเนียนและตำนานคธูลู · คโธเนียนและเกรทโอลด์วัน · ดูเพิ่มเติม »

นีโครโนมิคอน

นีโครโนมิคอนจำลอง นีโครโนมิคอน (อักษรละติน: Necronomicon)เป็นตำราเวทย์สมมุติที่ปรากฏในงานประพันธ์ชุดตำนานคธูลูของเอช. พี. เลิฟคราฟท์และถูกหยิบยืมไปอ้างถึงโดยนักประพันธ์อื่นๆ โดยปรากฏครั้งแรกในเรื่องสั้น The Hound ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2467 แต่หนึ่งปีก่อนหน้านั้น เลิฟคราฟท์ก็ได้อ้างคำพูดของตัวละคร อับดุล อัลฮาเซรด ซึ่งเป็นผู้แต่งนีโครโนมิคอนไว้แล้วในเรื่อง The Nameless City เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้นั้นมีเรื่องราวของเกรทโอลด์วันและพิธีกรรมที่ใช้อัญเชิญอยู่ด้วย นักประพันธ์คนอื่นๆ เช่นออกัสต์ เดอเลธและคลาก แอชตัน สมิทได้ยืมเอานีโครโนมิคอนไปอ้างถึงในงานเขียนของตนเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากเลิฟคราฟท์ซึ่งคิดว่าการยกมาใช้ร่วมกันนี้จะทำให้บรรยากาศของเรื่องสมจริงยิ่งขึ้น ทำให้มีผู้อ่านจำนวนมากเข้าใจผิดว่าหนังสือเล่มนี้มีจริง มีการสั่งซื้อหรือขอนีโครโนมิคอนผ่านทางผู้ขายหนังสือและบรรณารักษ์เป็นจำนวนมาก บางครั้งก็มีการแกล้งใส่ชื่อนีโครโนมิคอนไว้ในรายการหนังสือหายาก และเคยมีนักศึกษาแอบใส่บัตรของนีโครโนมิคอนไว้ในบัตรห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเยล หลังจากที่เลิฟคราฟท์เสียชีวิตไปแล้ว สำนักพิมพ์ต่างๆก็ได้ตีพิมพ์หนังสือโดยใช้ชื่อว่านีโครโนมิคอนเป็นจำนวนมาก หนังสือรวมงานศิลป์เล่มแรกของเอช อาร์ กีเกอร์ก็ใช้ชื่อว่านีโครโนมิคอน.

ตำนานคธูลูและนีโครโนมิคอน · นีโครโนมิคอนและเกรทโอลด์วัน · ดูเพิ่มเติม »

แชนแทค

แชนแทค (shantak) เป็นสัตว์ประหลาดที่ปรากฏในงานประพันธ์ชุดตำนานคธูลูของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ โดยปรากฏตัวครั้งแรกในนิยายเรื่อง เดอะดรีมเควสต์ออฟอันโนนคาดัธ (พ.ศ. 2469).

ตำนานคธูลูและแชนแทค · เกรทโอลด์วันและแชนแทค · ดูเพิ่มเติม »

ไนท์กอนท์

นท์กอนท์ (Nightgaunt) เป็นอมนุษย์ในเรื่องชุดตำนานคธูลู ไนกอนท์ปรากฏตัวในบทกวี Night-Gaunts และนิยาย The Dream-Quest of Unknown Kadathของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ โดยมีที่มาจากฝันร้ายในวัยเด็กของเลิฟคราฟท์เอง.

ตำนานคธูลูและไนท์กอนท์ · เกรทโอลด์วันและไนท์กอนท์ · ดูเพิ่มเติม »

เกมเล่นตามบทบาท

กมเล่นตามบทบาท หรือ เกมอาร์พีจี (Role-playing game: RPG) คือเกมประเภทหนึ่งที่ผู้เล่นสมมุติรับบทเป็นตัวละครหนึ่งในเกม โดยเล่นตามกฎกติกาของเกมผ่านการป้อนคำสั่งและเลือกเงื่อนไขที่เกมกำหนดมา โดยผลลัพธ์ที่เกิดจะแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขที่เลือก โดยเกมอาจจะเป็นทั้งลักษณะ การเล่นโดยเขียนในกระดาษ วิดีโอเกมหรือคอมพิวเตอร์เกมก็ได้ ในยุคแรกๆเกมเล่นตามบทบาทจะเป็นลักษณะของเกมกระดาน ที่ผู้เล่นจะแบ่งฝ่ายเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้นำในเกม ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านกระดานในเกม ขณะที่ผู้เล่นอีกฝ่ายจะเป็นผู้เล่นต้องสร้างตัวละครและทอยเต๋ากำหนดค่าต่างๆ รวมถึงกระทำตามกฎต่างๆ เช่น การพูดคุยหาข้อมูล, การต่อสู้กับสัตว์ประหลาด, การเก็บวัตถุและอาวุธ, เก็บสะสมค่าประสบการณ์และเลื่อนระดับ (เลเวล) จุดเด่นที่ทำให้เกมเล่นตามบทบาทได้รับความนิยม เพราะเกมเล่นตามบทบาทจะมีอิสระในกฎกติกา ทำให้การเล่นในแต่ละครั้งจะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับที่ผู้นำเกมเลือก เกมเล่นตามบทบาทแบบกระดานที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศมีมาก แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ดันเจี้ยนส์แอนด์ดราก้อน และ วอร์แฮมเมอร์ เมื่อถึงยุคที่เครื่องเกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เกมเล่นตามบทบาทหลายๆเกมก็พัฒนากลายมาเป็นวิดีโอเกมแนวเล่นตามบทบาท โดยยังคงลักษณะเดิมของตัวเกมไว้ เช่น การให้ผู้เล่นสร้างตัวละครขึ้นเอง การต่อสู้ที่อ้างอิงหลักการทอยลูกเต๋า และอิสรภาพในเกม แต่เมื่อความนิยมเกมเล่นตามบทบาทได้เข้าในประเทศญี่ปุ่นได้เกิดเกมเล่นตามบทบาทแบบญี่ปุ่นขึ้น หรือที่เรียกว่า คอนโซล-โรลเพลย์อิงเกม (Console-Roleplaying Game) ซึ่งจะตัดทอนเสรีภาพในการเล่นลง แต่จะเสริมเนื้อหาที่เรื่องราวและตัวละครให้มากขึ้น ส่วนเกมของฝั่งอเมริกาจะเรียกว่า คอมพิวเตอร์-โรลเพลย์อิงเกม (Computer-Roleplaying Game) และฝ่ายเกมกระดานก็ถูกเรียกว่า เทเบิ้ลทอป-โรลเพลย์อิงเกม (Tabletop-Roleplaying Game) ในปัจจุบันคำจัดการความของคำว่า เกมเล่นตามบทบาท หรือ RPG นั้น ในฝั่งประเทศแถบเอเชียจะหมายถึง เกมที่มีการเก็บค่าประสบการณ์, การต่อสู้กับสัตว์ประหลาด, ฉากต่อสู้แบบตัดฉากจากฉากสนาม และเนื้อเรื่องที่สวยงามและสนุกสนาน แต่ในเกมฝั่งอเมริกาจะหมายถึง เกมที่มีเสริภาพในการเล่น, การสรรค์สร้างตัวละครได้ตามต้องการ ในประเทศไทย นักเล่นเกมคอมพิวเตอร์บางส่วนเรียกเกมเล่นตามบทบาทบนเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอนโซลว่า เกมภาษา เนื่องจาก ผู้เล่นรู้สึกว่าเกมเล่นตามบทบาทมีใช้การเลือกคำสั่ง ผ่านบทสนทนาของตัวละคร (ในช่วงแรกเป็นภาษาญี่ปุ่น) สำหรับการดำเนินเกม ในปัจจุบันถึงแม้ว่าเกมเล่นตามบทบาทบนเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอนโซลยังเป็นที่นิยม แต่ก็ยังมีการจำหน่ายเกมเล่นตามบทบาทแบบกระดานอยู่ เกมเล่นตามบทบาทแบบเกมกระดานที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ ดันเจี้ยนส์แอนด์ดราก้อน และ วอร์แฮมเมอร์ เกมเล่นตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ เดียอาโบล และ ดิเอลเดอร์สครอลส์ เกมเล่นตามบทบาทของเครื่องคอมโซลที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ ไฟนอลแฟนตาซี และ ดราก้อนเควสต.

ตำนานคธูลูและเกมเล่นตามบทบาท · เกมเล่นตามบทบาทและเกรทโอลด์วัน · ดูเพิ่มเติม »

เอช. พี. เลิฟคราฟท์

หมือนของเอช. พี. เลิฟคราฟท์และงานสร้างสรรค์ โฮเวิร์ด ฟิลิปส์ เลิฟคราฟท์ (Howard Phillips Lovecraft - 20 สิงหาคม พ.ศ. 2433 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2480) เป็นนักเขียนนิยายชาวอเมริกัน โดยแนวเรื่องของเลิฟคาท์นั้นมักมีลักษณะผสมกันระหว่างนิยายสยองขวัญ นิยายวิทยาศาสตร์และแฟนตาซี ซึ่งอิทธิพลของเลิฟคราฟท์ที่มีต่อวงวรรณกรรมก็คือการริเริ่มเรื่องชุดตำนานคธูลู ในขณะที่มีชีวิตอยู่นั้น งานประพันธ์ของเลิฟคราฟท์ได้รับความนิยมในวงแคบเท่านั้น แต่ต่อมาก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สตีเฟน คิง กล่าวถึงเลิฟคราฟท์ไว้ว่าเป็นผู้เขียนนิยายสยองขวัญแบบคลาสสิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ยี.

ตำนานคธูลูและเอช. พี. เลิฟคราฟท์ · เกรทโอลด์วันและเอช. พี. เลิฟคราฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลเดอร์ก็อด

อลเดอร์ก็อด หรือ เทพโบราณ (Elder God) เป็นศัพท์ซึ่งใช้เรียกเทพสมมุติในวรรณกรรมกลุ่มตำนานคธูลู (Cthulhu Mythos) ซึ่งมีที่มาจากบทประพันธ์ของ เอช. พี. เลิฟคราฟท.

ตำนานคธูลูและเอลเดอร์ก็อด · เกรทโอลด์วันและเอลเดอร์ก็อด · ดูเพิ่มเติม »

เอลเดอร์ธิง

อลเดอร์ธิง (Elder Thing บางครั้งก็เรียกว่า โอลด์วัน) เป็นมนุษย์ต่างดาวในเรื่องชุดตำนานคธูลู โดยเอลเดอร์ธิงปรากฏตัวครั้งแรกในนิยายเรื่อง At the Mountains of Madness ซึ่งประพันธ์โดยเอช. พี. เลิฟคราฟท์ในปีพ.ศ. 2479 นอกจากนั้นเลิฟคราฟท์ยังระบุถึงเอลเดอร์ธิงในเรื่องสั้น The Dreams in the Witch-House และ The Shadow Out of Time.

ตำนานคธูลูและเอลเดอร์ธิง · เกรทโอลด์วันและเอลเดอร์ธิง · ดูเพิ่มเติม »

เอาเตอร์ก็อด

อซาธอทที่อยู่ ณ ใจกลางของจักรวาล เอาเตอร์ก็อด หรือ อุตรเทพ เป็นศัพท์ซึ่งใช้เรียกเทพสมมุติในวรรณกรรมกลุ่มตำนานคธูลู ซึ่งมีที่มาจากบทประพันธ์ของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ แต่เลิฟคราฟท์เองไม่ได้ใช้ศัพท์นี้ หากแต่ใช้ศัพท์ว่า เทพอื่น (Other Gods) แทน โดยรวมแล้ว เอาเตอร์ก็อดเป็นเทพที่มีอำนาจมากกว่าเกรทโอลด์วันและมีอิทธิพลในระดับจักรวาล แต่ความแตกต่างของเทพทั้งสองกลุ่มก็ค่อนข้างคลุมเครือ และบางครั้งผู้ศึกษางานประพันธ์กลุ่มตำนานคธูลูก็ไม่อาจแยกเทพทั้งสองกลุ่มออกจากกันได้.

ตำนานคธูลูและเอาเตอร์ก็อด · เกรทโอลด์วันและเอาเตอร์ก็อด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตำนานคธูลูและเกรทโอลด์วัน

ตำนานคธูลู มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ เกรทโอลด์วัน มี 77 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 12, ดัชนี Jaccard คือ 11.21% = 12 / (30 + 77)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตำนานคธูลูและเกรทโอลด์วัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »