เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฮุ่ยเหนิงและเซน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฮุ่ยเหนิงและเซน

ฮุ่ยเหนิง vs. เซน

รีระที่ไม่เน่าเปื่อยของพระฮุ่ยเหนิง พระฮุ่ยเหนิง (慧能 หรือ 惠能) หรือ ท่านพุทธทาสภิกษุ ออกเสียงว่า "เว่ยหลาง" เป็นภิกษุที่มีชีวิตสมัยราชวงศ์ถัง เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ในนิกายเซนนับจากพระโพธิธรรม หลังจากสืบทอดบาตรจีวรและธรรมจากพระสังฆปริณายกองค์ก่อน คือ หวางยั่น (ฮ่งยิ้ม) เป็นพระสังฆปริณายกแห่งนิกายเซนองค์ที่ 5 เจ้าอาวาสวัดตุงซั่น เว่ยหล่างมักถูกนำไปอ้างถึงในลัทธิอนุตตรธรรมว่าเป็นบรรพจารย์แห่งอนุตตรธรรมด้วย ลัทธินี้กล่าวว่ามีคำสอนเร้นลับเผยแพร่ได้เฉพาะผู้ได้รับอาณัติสวรรค์ โดยสืบต่อกันจากจิตถึงจิต เป็นการเฉพาะตัว รับช่วงต่อได้ทีละหนึ่งคนจากวิสุทธิอาจารย์ และจะเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั่วไปไม่ได้ จนกระทั่งปัจจุบันจึงถึงยุคที่เผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษา ซึ่งขัดกับหลักคำสอนของเว่ยหล่าง ในหมวดคำสอนครั้งสุดท้ายของท่าน ใจความว่า "สำหรับคำสอนของฉันทั้งหมด นับแต่ได้กล่าวเทศนาในวัดไทฟันตราบจนบัดนี้ จงคัดลอกเป็นเล่มแล้วแจกจ่ายกันไปก็ได้ แต่ให้ชื่อว่า สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์แห่งธรรมรถ จงทะนุถนอม ไว้ให้ดี แล้วมอบต่อกันไปตามอนุชนแต่ละรุ่น เพื่อช่วยเหลือสัตว์ทั้งปวง บุคคลที่สั่งสอนตามคำสอนนี้ เป็นผู้ที่สั่งสอนตามธรรมแท้ พอแล้วสำหรับธรรม ส่วนการรับช่วงจีวรนั้น ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัน เพราะเหตุใดหรือ? เพราะว่าท่านทั้งหลายต่างก็ศรัทธาต่อคำสอนของฉันโดยพร้อมมูล ทั้งท่านก็ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ แล้ว ท่านย่อมสามารถสืบต่อจุดประสงค์อันสูงยิ่งของสำนักเราให้ลุล่วงไปได้ นอกจากนั้นตามความหมายในโศลกของท่านโพธิธรรม พระสังฆปริณายกองค์แรกผู้ถ่ายทอดพระธรรมและบาตรจีวรท่านก็ไม่ประสงค์จะให้มอบแก่ใครต่อไปอีก โศลกนั้นคือ:- จุดประสงค์ในการมาดินแดนนี้ ก็เพื่อถ่ายทอดพระธรรม สำหรับปลดปล่อยสัตว์ที่ถูกครอบงำไว้ ด้วยความหลงผิด เมื่อมีกลีบครบห้ากลีบ ดอกไม้นั้นก็สมบูรณ์ หลังจากนั้นไป ผลจะปรากฏขึ้นเองตามธรรมชาติ" และเมื่อมีคำถามในเรื่องการถ่ายทอดธรรมอันเร้นลับที่ว่าไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามที่อนุตรธรรมกล่าวอ้าง ก็ได้กล่าวถึงในที่ประชุมก่อนเว่ยหล่างมรณภาพเช่นกัน ใจความว่า ที่ประชุมถามว่า "ใครครับ พระคุณท่าน ที่ท่านได้ถ่ายทอดขุมกำเนิดแห่งดวงตาของธรรมแท้?" พระสังฆปริณายกตอบว่า "มนุษย์ในหลักธรรมย่อมได้รับ และบรรดาผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้วจากความคิดเห็นอันเฉียบขาด ย่อมเข้าใจ" ซึ่งจะเห็นได้ว่าธรรมนั้นมิใช่สิ่งเร้นรับอันใดเลย ปัจจุบันประเทศไทยเอง ก็มีการจัดสร้างรูปเหมือนของของพระฮุ่ยเหนิง ที่สร้างตามรูปแบบสรีระที่ไม่เน่าเปื่อยของท่าน ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเททองหล่อรูปเหมือนของพระฮุ่ยเหนิง เพื่อประดิษฐานบนหอบูรพาจารย์ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2558 ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่อาจาริยคุณ ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ต่อมาพระธรรมาจารย์หมิงเซิงมหาเถระ รองประธานสำนักพุทธศาสนาแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประธานสำนักพุทธศาสนามณฑลกวางตุ้ง เจ้าอาวาสวัดกวางเซี้ยว เมืองกวางโจว ได้เมตตามอบรูปหล่อพระสังฆนายก "หุ่ยเหนิง" เนื้อทองเหลือง สูง 1.98 เมตร จากวัดกวงเซี้ยว ที่จัดสร้างเพียง 3 องค์ (วัดกวงเซี้ยว แห่งนี้เป็นวัดที่ท่านหุ้ยเหนิง ได้ปลงผมใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ และได้นำเกศาบรรจุไว้ในสถูป 7 ชั้น ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่ และยังเป็นสถานที่พระอาจารย์โพธิธรรม(ตั๊กม้อ) ได้เคยพักอาศัยเมื่อ 2 พันกว่าปีก่อนด้วย) โดยรูปปฏิมานี้ ได้ปั้นและหล่อโดยช่างฝีมือ ชื่อ พ่านเคอ เป็น 1 ใน 4 ช่างปั้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน เพื่ออัญเชิญกลับสู่ประเทศไทย และประดิษฐานเป็นการถาวร เปิดให้สาธุชนได้เข้ากราบสักการะ ภายในหอบูรพาจารย์ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย พุทธมณฑลสาย 6 ถือเป็นนิมิตหมายมงคล แห่งการเผยแผ่พระพุทธธรรมมหายาน สายฌาน(เซ็น) และบารมีธรรมแห่งพระบูรพาจารย์ จากต้นกำเนิดสู่ประเทศไท. ระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) เซน (禅, ぜん; Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฮุ่ยเหนิงและเซน

ฮุ่ยเหนิงและเซน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระโพธิธรรม

พระโพธิธรรม

'''"พระโพธิธรรม"''' โดยโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) พระโพธิธรรม (โพธิธรฺม, เทวนาครี बोधिधर्म; อักษรโรมัน (NLAC): bōdhidharma; 菩提達摩, พินอิน: Pútídámó, Dámó) แต่ในนิยายกำลังภายในในประเทศไทยมักเรียก ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ (สำเนียงแต้จิ๋ว ตรงกับจีนกลางว่า ต๋าหมอ) เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานนิกายเซน มีประวัติไม่ชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่ามีตัวตนอยู่จริง และเป็นผู้สถาปนาวัดเส้าหลิน ในจีน ทั้งยังได้เผยแพร่วิชามวยจีนในหมู่พระเณรของวัดเส้าหลิน จนมีชื่อเสียงมาจวบจนทุกวันนี้ ตามตำนานระบุว่า ท่านเกิดเมื่อราว..

พระโพธิธรรมและฮุ่ยเหนิง · พระโพธิธรรมและเซน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฮุ่ยเหนิงและเซน

ฮุ่ยเหนิง มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ เซน มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.70% = 1 / (7 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฮุ่ยเหนิงและเซน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: