โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อเล็กซานเดอร์มหาราชและฮีรา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อเล็กซานเดอร์มหาราชและฮีรา

อเล็กซานเดอร์มหาราช vs. ฮีรา

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน. ีร่า หรือ เฮร่า (Hera; Ήρα, Ήρη) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูสในพระเจ้าโอลิมปัสของเทพปกรณัมและศาสนากรีก เป็นธิดาของโครนัสและเรีย หน้าที่หลักของพระนางคือเป็นเทพเจ้าแห่งสตรีและการสมรส ภาคโรมัน คือ จูโน พิจารณาว่าวัว สิงโตและนกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ ฮีร่าเป็นที่รู้จักจากธรรมชาติอิจฉาและพยาบาทของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่น ๆ ของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางเป็นเทพเจ้าหรือมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกฮีร่าปองร้ายมีมากมาย เช่น ลีโต มารดาของเทพอพอลโลและเทพีอาร์ทิมิส เฮราคลีส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดอะไนซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม ในมหากาพย์อีเลียด ของ โฮเมอร์ ได้กล่าวถึงพระนางว่า เทพีตาวัว (ox-eyed goddess) ซึ่งแสดงถึงสัตว์ประจำตัวของฮีรานั่นเอง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อเล็กซานเดอร์มหาราชและฮีรา

อเล็กซานเดอร์มหาราชและฮีรา มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อาร์ทิมิสอีเลียดซูสโฮเมอร์เฮราคลีส

อาร์ทิมิส

อาร์ทิมิส (Artemis,; Ἄρτεμις) เป็นหนึ่งในพระเจ้ากรีกโบราณที่มีการบูชากว้างขวางที่สุด ภาคโรมัน คือ ไดแอนาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.

อาร์ทิมิสและอเล็กซานเดอร์มหาราช · อาร์ทิมิสและฮีรา · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

อีเลียดและอเล็กซานเดอร์มหาราช · อีเลียดและฮีรา · ดูเพิ่มเติม »

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ซูสและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ซูสและฮีรา · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์

รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

อเล็กซานเดอร์มหาราชและโฮเมอร์ · ฮีราและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮราคลีส

''เฮราคลีสสู้กับไฮดรา'' ภาพวาดของอันโตนิโอ พอลเลียโล เฮราคลีส (Heracles หรือ Herakles) เป็นชื่อเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพเจ้ากรีก ชื่อมีความหมายว่า "ความรุ่งโรจน์ของเฮรา" เขาเป็นบุตรของเทพซูสกับนางแอลก์มินี เกิดที่เมืองธีบส์ เป็นหลานของแอมฟิไทรออน และเป็นเหลนของเพอร์ซูส เฮราคลีสนับเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในปกรณัมกรีก ชื่อในตำนานเทพโรมันว่า เฮอร์คิวลีส ซึ่งดัดแปลงเอาเรื่องราวของเขาในปกรณัมกรีกไปใช้ นับแต่เฮราคลีสเกิดมาก็ตกอยู่ในความริษยาพยาบาทของเทพีเฮรา ซึ่งหึงหวงเทพซูสผู้สามี แม้เฮราคลีสเป็นบุตรเทพซูส แต่กลับมีกำเนิดเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา เมื่อโตขึ้น เฮราคลีสได้แต่งงานกับนางเมการะ มีบุตรสามคน เทพีเฮราบันดาลให้เขาวิกลจริตและสังหารบุตรภรรยาตายสิ้น เมื่อเขาคืนสติก็จะฆ่าตัวตายตาม แต่ธีซูสเพื่อนสนิทห้ามปรามไว้ แนะให้ไปขอคำพยากรณ์จากวิหารเดลฟี คำพยากรณ์บอกให้เฮราคลีสไปหาท้าวยูริสเทียสและรับทำภารกิจทุกประการตามแต่จะได้รับ เพื่อเป็นการชำระมลทินให้บริสุทธิ์ ท้าวยูริสเทียสสรรหาภารกิจอันเหลือที่มนุษย์จะกระทำได้ เรียกกันว่า "The Twelves Labours of Heracles" หรือ ภารกิจ 12 ประการของเฮราคลีส ได้แก.

อเล็กซานเดอร์มหาราชและเฮราคลีส · ฮีราและเฮราคลีส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อเล็กซานเดอร์มหาราชและฮีรา

อเล็กซานเดอร์มหาราช มี 55 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฮีรา มี 31 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 5.81% = 5 / (55 + 31)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อเล็กซานเดอร์มหาราชและฮีรา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »