โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์

ดัชนี อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์

ฟรีดริช วิลเฮล์ม ไฮน์ริช อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์ (Friedrich Wilhelm Heinrich Alexander von Humboldt) เป็นชาวปรัสเซียเชื้อชาติเยอรมันผู้เป็นทั้งนักภูมิศาสตร์, นักธรรมชาติวิทยา, นักสำรวจ และผู้เสนอปรัชญาในยุคโรแมนติกที่ทรงอิทธิพล เขาเป็นบุคคลสำคัญผู้วางรากฐานวิชาชีวภูมิศาสตร์ และยังผลักดันการวัดทางกายภาพภูมิประเทศอย่างเป็นระบบในระยะยาวซึ่งเป็นกลายรากฐานของการเฝ้าสังเกตุสภาพอากาศและสนามแม่เหล็กภูมิศาสตร์สมัยใหม่ ระหว่างปี..

16 ความสัมพันธ์: บารอนชาลส์ ดาร์วินพอเมอเรเนียภูมิศาสตร์มหาสมุทรแอตแลนติกยุคเรืองปัญญาราชอาณาจักรปรัสเซียราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สันลาตินอเมริกาศิลปะจินตนิยมสมาพันธรัฐเยอรมันอัลเฟรด รัสเซล วอลเลซปรัสเซียนิกายลูเทอแรนเบอร์ลินเฮนรี เดวิด ทอโร

บารอน

รอน (Baron) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางที่ใช้กันในยุโรป ซึ่งในระบบบรรดาศักดิ์ของสหราชอาณาจักร บารอน อยู่ในลำดับล่างสุดต่ำกว่าไวเคานต์ สำหรับขุนนางที่เป็นสตรี จะเรียกว่า บารอเนส (Baroness) ซึ่งเขตการปกครองในอำนาจของบารอนตามระบบเจ้าขุนมูลนาย ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในปัจจุบันแต่ยังคงสืบตระกูลได้อยู่ ในสมัยกลาง บารอนเป็นผู้ที่ได้รับตำแหน่งการปกครองโดยตรงจากพระมหากษัตริย์เพื่อปกครองดินแดน และจะต้องส่งบรรณาการเป็นกองกำลังทหารและอัศวิน เพื่อช่วยรบในนามของกษัตริย์ ในปัจจุบัน สหราชอาณาจักรได้มีการเพิ่มบรรดาศักดิ์ที่ไม่สามารถสืบตระกูลได้ "Non-hereditary life peers" ซึ่งผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจะอยู่ในตำแหน่ง บารอน เช่นกัน และนอกจากนี้ บารอน ยังใช้เรียกบุตรชายคนแรกที่เกิดจากบิดาที่เป็นตำแหน่ง เอิร์ล โดยอนุโลม.

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และบารอน · ดูเพิ่มเติม »

ชาลส์ ดาร์วิน

ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี..

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และชาลส์ ดาร์วิน · ดูเพิ่มเติม »

พอเมอเรเนีย

แผนที่การแบ่งบริเวณการบริหารของพอเมอเรเนียปัจจุบัน พอเมอเรเนีย (Pomerania; Pommern; Pomorze; Pòmòrze, Pòmòrskô) เป็นอาณาบริเวณในประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยูทางฝั่งใต้ของทะเลบอลติก เป็นบริเวณที่แบ่งระหว่างโปแลนด์กับเยอรมนีปัจจุบัน ภูมิภาคพอเมอเรเนียครอบคลุมตั้งแต่แม่น้ำเรคนิทซ์ (Recknitz) ใกล้เมืองชตรัลซุนด์ทางตะวันตก ไปทางปากแม่น้ำโอเดอร์ไกล้เมืองชเชตชีน ไปยังปากแม่น้ำวิสตูลาไกล้เมืองกดัญสก์ (Gdańsk) ทางตะวันออก ภูมิภาคพอเมอเรเนียเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวโปแลนด์ ชาวเยอรมัน และชาวคาชูเบีย (Kashubians) เป็นบริเวณที่ได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักในคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อมีการเคลื่อนย้ายประชากร พอเมอเรเนียเป็นที่ราบต่ำของที่ราบยุโรปเหนือ (North European Plain) นอกไปจากศูนย์กลางชุมชนของเมืองใหญ่สองสามเมืองแล้ว ดินที่มีคุณภาพต่ำก็ใช้ในการทำไร่ สลับกับดินแดนที่เป็นทะเลสาบเล็ก ๆ อยู่ประปราย ป่า และเมืองเล็ก ๆ การเกษตรกรรมที่สำคัญก็ได้แก่การเลี้ยงปศุสัตว์ การทำป่า การประมง และการปลูกธัญพืช, หัวบีตที่ใช้ทำน้ำตาลและมันฝรั่ง ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของบริเวณนี้จากการมีบริเวณพักตากอากาศริมฝั่งทะเล ส่วนบริเวณอุตสาหกรรมอันจำกัดที่สำคัญก็มีการต่อเรือ การผลิตโลหะ น้ำตาล และกระดาษ.

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และพอเมอเรเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์

แผนที่โลก ภูมิศาสตร์ (geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่น ๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง.

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และยุคเรืองปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และราชอาณาจักรปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน

ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน (Ralph Waldo Emerson, พ.ศ. 2346-2425) กวีและนักเขียนบทความ เกิดที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเริ่มชีวิตด้วยการเป็นครู ต่อมาเมื่อ..

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน · ดูเพิ่มเติม »

ลาตินอเมริกา

นแดนลาตินอเมริกา ลาตินอเมริกา (América Latina; Amérique Latine; Latinoamérica, América Latina) คือ กลุ่มประเทศในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ที่พูดภาษากลุ่มโรมานซ์ เป็นหลัก ได้แก.

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และลาตินอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะจินตนิยม

''Wanderer above the Sea of Fog'' ภาพวาดของ แคสเปอร์ เดวิด ฟรีดดริก ในปี 1818 ศิลปะจินตนิยม (Romanticism) เริ่มต้นขึ้นในช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในยุโรปตะวันตก เป็นการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดทางปรัชญา วรรณกรรม และศิลปกรรม อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป กำเนิดของศิลปะจินตนิยมมีส่วนมาจากการต่อต้านแนวคิดทางสังคมและการเมืองแบบเก่าของยุคแสงสว่าง รวมถึงปฏิกิริยาต่อต้านการศึกษาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมากแนวคิดของศิลปะในยุคนี้จะสะท้อนออกมาในงานศิลปะแบบภาพวาด ดนตรี และวรรณกรรม ตัวอย่างศิลปินผู้มีชื่อเสียงในยุคจินตนิยม ได้แก่ ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน, เฟรเดริก ชอแป็ง, วิลเลียม เบลก เป็นต้น.

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และศิลปะจินตนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธรัฐเยอรมัน

มาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation; Deutscher Bund) เป็นสมาคม 39 รัฐเยอรมันในยุโรปกลางอย่างหลวม ตั้งขึ้นโดยการประชุมใหญ่แห่งเวียนน..

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และสมาพันธรัฐเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ

อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ''' อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ (Alfred Russel Wallace; พ.ศ. 2366 — 2456) นักธรรมชาติวิทยา นักภูมิศาสตร์ นักมานุษยวิทยาและนักชีววิทยาชาวอังกฤษ เกิดที่ อัสค์ มอนมัธไชร์ เวลส์ตะวันออกเฉียงใต้ วอลเลซได้เดินทางเก็บตัวอย่างพืชพรรณแถบแอมะซอนเมื่อ..

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และอัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัสเซีย

ปรัสเซีย (Prussia) หรือ พร็อยเซิน (Preußen) หรือ โบรุสเซีย (ละติน: Borussia) เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากดัชชีปรัสเซียและรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค อันเป็นรัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคที่ชื่อว่าพร็อยเซิน รัฐแห่งนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นเป็นเวลาหลายศตวรรษ การมีกองทัพที่เข็มแข็งทำให้ปรัสเซียประสบความสำเร็จในการแผ่ขยายดินแดน ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิจส์แบร์กก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701 ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวเยอรมัน" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวปรัสเซีย".

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี เดวิด ทอโร

นรี เดวิด ทอโร ในปี 1856 เฮนรี เดวิด ทอโร (Henry David Thoreau, 12 กรกฎาคม 2360 - 6 พฤษภาคม 2405) นักเขียนและนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เกิดที่เมืองคองคอร์ด รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อจบการศึกษาในปี..

ใหม่!!: อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์และเฮนรี เดวิด ทอโร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Alexander von Humboldt

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »