โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อูฐและอูฐสองหนอกป่า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อูฐและอูฐสองหนอกป่า

อูฐ vs. อูฐสองหนอกป่า

อูฐ (Camel; جمليات, ญะมัล) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในสกุล Camelus จัดอยู่ในวงศ์ Camelidae เป็นสัตว์ที่มีความอดทนสูง สามารถอาศัยอยู่ได้โดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำเลย 2 สัปดาห์ เพราะมีไขมันสะสมไว้ในหนอกและร่างกายเก็บรักษาน้ำได้เป็นอย่างดี จึงสามารถอยู่ในที่ทุรกันดารเช่นทะเลทรายได้เป็นอย่างดี กินอาหารประเภทใบไม้ในทะเลทราย ตัวโตเต็มที่มีความสูงถึงบ่าประมาณ 1.85 เมตร และหนอกสูงอีก 75 เซนติเมตร ความสามารถ วิ่งได้เร็ว 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเดินด้วยความเร็วคงที่ประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แบกน้ำหนักได้ 150-200 กิโลกรัม อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงได้จาก 34 องศาเซลเซียสในตอนกลางคืนมาเป็น 41 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน ปัจจุบันสัตว์ในตระกูลอูฐได้ถูกนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในบางประเทศ แต่ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เป็นอาหาร ตัดขน รีดนม และใช้เนื้อเพื่อบร. อูฐสองหนอกป่า หรือ อูฐแบคเตรียป่า (Wild bactrian camel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์กีบคู่ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายคลึงกับอูฐสองหนอก (C. bactrianus) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ อูฐสองหนอกป่า เป็นอูฐสองหนอกที่เป็นสัตว์ป่า และถือเป็นต้นสายพันธุ์ของอูฐสองหนอกในปัจจุบัน มีสองหนอกเพื่อใช้ในการเก็บไขมันเป็นพลังงานสำรองเป็นอูฐทั่วไป โดยไม่ได้ใช้เก็บน้ำ ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่ทนทรหดมากที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสถานะใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดแล้วชนิดหนึ่งของโลก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่พบกระจายพันธุ์เฉพาะในทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศจีนและมองโกเลีย เช่น ทะเลทรายโกบี, ทะเลทรายทากลามากัน และบางส่วนในคาซัคสถาน (และพบได้ตลอดฝั่งแม่น้ำในไซบีเรีย โดยมีการอพยพข้ามน้ำ) ซึ่งเป็นสถานที่ ๆ มีอุณหภูมิต่างกันสุดขั้ว โดยในช่วงเวลากลางวันอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 40-50 องศาเซลเซียส ในขณะที่ช่วงกลางคืนในฤดูหนาวอาจมีอุณหภูมิถึง -40 หรือ -50 องศาเซลเซียสได้ แต่อูฐสองหนอกป่าสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยกินเพียง พืชขนาดเล็ก ๆ ตามพื้นดิน และกินน้ำจากแหล่งน้ำที่เป็นน้ำเค็มจนเป็นเกล็ดเกลือกลางทะเลทราย เช่น ทะเลสาบลอปนอร์ได้ มีขนตายาว 2 ชั้นเพื่อป้องกันดวงตาจากฝุ่นทราย กีบเท้ามี 2 กีบแยกกันชัดเจนเวลาเมื่อเดิน เพื่อใช้สำหรับรับน้ำหนักบนพื้นทราย อูฐสองหนอกป่าสามารถนอนหลับในชั้นหิมะหนา ๆ ได้ในฤดูหนาว จัดเป็นอูฐที่ทนทรหดกว่าอูฐหนอกเดียว ที่พบในภูมิภาคอาหรับมาก อูฐสองหนอกป่า เป็นสัตว์ที่หากินเพียงลำพังตัวเดียวหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ เป็นสัตว์ที่หาได้ยากที่สุดชนิดหนึ่งในโลก จนได้ชื่อว่า "อูฐผี" โดยถือว่าหายากกว่าแพนด้ายักษ์ คาดว่ามีเพียงไม่เกิน 2,000 ตัวเท่านั้นในโลก โดยพบในจีนประมาณ 600 ตัว และในมองโกเลียราว 300-350 ตัวเท่านั้น ในฤดูผสมพันธุ์ คือ ฤดูใบไม้ร่วงจะมารวมตัวกันนับร้อยตัว แต่ในฤดูใบไม้ผลิจะแยกย้ายกันอยู่ โดยในพื้นที่หนึ่งตารางกิโลเมตรอาจได้เพียง 5 ตัวเท่านั้น อูฐสองหนอกป่าเป็นสัตว์ที่ขี้อายมาก วิ่งได้เร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถมองเห็นสิ่งที่ปรากฏบนเส้นขอบฟ้าได้ไกลถึง 20 กิโลเมตร จากการศึกษาทางพันธุกรรม พบว่าทั่วทั้งทวีปเอเชีย มีอูฐสองหนอกซึ่งเป็นสายพันธุ์แท้ ๆ ของอูฐสองหนอกป่าเพียง 30 ตัวเท่านั้น โดยผลการศึกษาพบว่าอูฐสองหนอกในปัจจุบันนั้นมีสายพันธุกรรมที่แตกต่างจากอูฐสองหนอกป.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อูฐและอูฐสองหนอกป่า

อูฐและอูฐสองหนอกป่า มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับสัตว์กีบคู่

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และอูฐ · สัตว์และอูฐสองหนอกป่า · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สัตว์มีแกนสันหลังและอูฐ · สัตว์มีแกนสันหลังและอูฐสองหนอกป่า · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและอูฐ · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและอูฐสองหนอกป่า · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

อันดับสัตว์กีบคู่และอูฐ · อันดับสัตว์กีบคู่และอูฐสองหนอกป่า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อูฐและอูฐสองหนอกป่า

อูฐ มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ อูฐสองหนอกป่า มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 12.90% = 4 / (14 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อูฐและอูฐสองหนอกป่า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »