โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุเอะโนะ

ดัชนี อุเอะโนะ

้านหน้าสถานีอุเอะโน การชมดอกซากุระในสวนอุเอะโนะ บึงชิโนะบะสุ และหลังคาของหอเบนเทนโด อุเอะโนะ เป็นย่านที่ตั้งอยู่ในเขตไทโต (台東区 Taitō-ku) หนึ่งในเขตปกครองพิเศษ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ย่านนี้เป็นย่านที่มีชื่อเสียงจากการเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟอุเอะโนะ (上野駅 Ueno-Eki) และสวนอุเอะโนะ (上野公園 Ueno Kōen) ย่านอุเอะโนะยังเป็นที่ตั้งของสถานที่ทางวัฒนธรรมที่น่าชมอีกหลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โตเกียว (東京国立博物館 Tōkyō Kokuritsu Hakubutsukan) หอศิลปะตะวันตกแห่งชาติ (โตเกียว ญี่ปุ่น) (国立西洋美術館 Kokuritsu Seiyō Bijutsukan) พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (国立科学博物館 Kokuritsu Kagaku Hakubutsukan) และหอประชุมที่เป็นสถานที่จัดแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ๆ เป็นต้น ย่านอุเอะโนะมีวัดทางพุทธศาสนาในย่านนี้อีกหลายแห่ง เช่น หอเบนเทนโด (弁天堂 Bentendō) ที่สร้างอุทิศให้เทพีเบนไซเทน (弁財天 Benzaiten) หรือพระสุรัสวดี ที่ทางญี่ปุ่นถือเป็นเทพีในพุทธศาสนา วันนี้ตั้งอยู่บนเกาะในบึงชิโนะบะสุ (不忍池 Shinobazu no Ike) และวัดคันเอจิ (寛永寺 Kan'ei-ji) วัดสำคัญของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ ในยุคเอะโดะ วัดนี้มีเจดีย์ตั้งอยู่ในบริเวณของสวนอุเอะโนะด้วย ในบริเวณใกล้ๆกับวัดคันเอจิ มีศาลเจ้าโทโชงุ (東照宮 Tōshō-gū) เป็นศาลเจ้าชินโตที่สร้างอุทิศแด่โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) โชกุนผู้สถาปนารัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ และเมืองเอะโดะ (ต่อมาคือกรุงโตเกียว) เป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่น จากสถานีอุเอะโนะไปทางทิศใต้ มีถนนอะเมะยะโยะโกะ (アメヤ横丁 Ameyayokochō) หรือเรียกสั้นๆว่า "อะเมะโยะโกะ" (アメ横 Ameyoko) เป็นถนนเชิงตลาดที่ร้านค้าทั้งของสดของแห้ง สินค้าต่างๆ รวมถึงสินค้าหนีภาษีขนาดทั้งสองข้างของถนน.

14 ความสัมพันธ์: พระสุรัสวดีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียวยุคเอะโดะรัฐบาลเอโดะศาสนาพุทธสวนอุเอะโนะสถานีรถไฟอุเอะโนะประเทศญี่ปุ่นแขวงพิเศษของโตเกียวโชกุนโทกูงาวะ อิเอยาซุโตเกียวไทโต (โตเกียว)เบ็นไซเต็ง

พระสุรัสวดี

ระสุรัสวตี เทวีอักษรศาสตร์(ตราสัญลักษณ์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระสุรัสวดี หรือ พระสรัสวดี (सरस्वती สรสฺวตี) เป็นเทพสตรีในศาสนาฮินดู ทรงอุปถัมภ์ความรู้, ศิลปะ, ดนตรี, ปัญญา และการเรียนรู้Kinsley, David (1988).

ใหม่!!: อุเอะโนะและพระสุรัสวดี · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว

ัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว หรือ TNM เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น สร้างขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: อุเอะโนะและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเอะโดะ

อะโดะ หรือยุคที่เรียกว่า ยุคโทะกุงะวะ (徳川時代 Tokugawa-jidai) ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868 คือยุคที่มีไดเมียวตระกูลโทะกุงะวะเป็นโชกุน เริ่มเมื่อโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน..

ใหม่!!: อุเอะโนะและยุคเอะโดะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: อุเอะโนะและรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: อุเอะโนะและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สวนอุเอะโนะ

ผู้คนกำลังชมดอกไม้ สวนอุเอะโนะ เป็นสวนสาธารณะที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ ตั้งอยู่ในอุเอะโนะ เขตไทโต โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่ตั้งของวัดคันเอจิ โชกุนตระกูลโตะกุงะวะเป็นผู้สร้างวัดนี้เพื่อคุ้มครองปราสาทเอโดะจากการโจมตีของฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ วัดนี้ถูกทำลายในช่วงสงครามโบะชิน สวนอุเอะโนได้รับการอนุญาตให้สร้างบนที่ดินจักรพรรดิ โดยจักรพรรดิไทโช ในปี ค.ศ. 1924 มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า อุเอะโนะ อนชิ โคเอ็ง (上野恩賜公園) แปลว่า "สวนอุเอะโนะ ของขวัญจักรพรรดิ" รูปปั้นไซโง ตะกะโมะริ รูปปั้นที่มีชื่อเสียงเป็นรูป ไซโง ตะกะโมะริ กำลังพาสุนัขของเขาเดินเล่นในสวนนี้ นักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวญี่ปุ่น มักจะมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โตเกียว พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และ พิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันตกแห่งชาติ) หอคอนเสิร์ต สระชิโนะบะสุ และสวนสัตว์อุเอะโนะ หัวรถจักรไอน้ำ ตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สวนอุเอะโนะและพื้นที่รอบข้างเป็นที่รู้จัก และปรากฏอยู่ในนิยายญี่ปุ่นหลายเรื่อง ผลงานชื่อ"ประตูนรก" ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันตกแห่งชาติ สวนอุเอะโนะเป็นที่อยู่ของคนจรจัดหลายคน อ.

ใหม่!!: อุเอะโนะและสวนอุเอะโนะ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟอุเอะโนะ

งหลัก ทางเข้าหนึ่งของสถานี สถานีรถไฟอุเอะโนะ เป็นสถานีรถไฟหลักในเขตไทโต กรุงโตเกียว ใช้เดินทางไปยังย่านอุเอะโนะและสวนอุเอะโนะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว พิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันตกแห่งชาติ สวนสัตว์อุเอะโนะ มหาวิทยาลัยศิลปกรรมและดนตรีแห่งชาติโตเกียว และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอื่นๆ เป็นทั้งศูนย์กลางหลักของรถไฟและจุดหมายปลายทางของรถไฟระยะไกลจากภูมิภาคทางเหนือของญี่ปุ่น แต่เมื่อต่อขยายเส้นทาง ชิงกันเซ็ง ไปถึงสถานีโตเกียว บทบาทการเป็นจุดหมายของสถานีอุเอะโนะก็น้อยลงไปในระยะหลัง ใกล้กับสถานีอุเอะโนะเป็นสถานีเคเซอุเอะโนะ ซึ่งเป็นปลายทางในโตเกียวของ สายหลักเคเซ ที่วิ่งไปยังสถานีท่าอากาศยานนาริต.

ใหม่!!: อุเอะโนะและสถานีรถไฟอุเอะโนะ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: อุเอะโนะและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

แขวงพิเศษของโตเกียว

แขวงพิเศษ เป็นเขตการปกครองระดับเทศบาลในมหานครโตเกียวซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 23 แขวง โดยในอดีตถือเป็นส่วนของเมืองโตเกียว อันเป็นเมืองเอกของจังหวัดโตเกียว (東京府 โตเกียว-ฟุ) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: อุเอะโนะและแขวงพิเศษของโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

โชกุน

กุน เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการทหารแห่งญี่ปุ่นระหว่าง..

ใหม่!!: อุเอะโนะและโชกุน · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอยาซุ

ทกูงาวะ อิเอยาซุ คือผู้สถาปนาบะกุฟุ (รัฐบาลทหาร) ที่เมืองเอะโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) และเป็นโชกุนคนแรกจากตระกูลโทกูงาวะที่ปกครองประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่สิ้นสุด ศึกเซะกิงะฮะระและเริ่มต้นยุคเอะโดะ เมื่อปี..

ใหม่!!: อุเอะโนะและโทกูงาวะ อิเอยาซุ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: อุเอะโนะและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ไทโต (โตเกียว)

ทโต เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เขตไทโตมีพื้นที่ 10.08 ตารางกิโลเมตร ในพ.ศ. 2551 เขตไทโตมีประชากร 175,346 คน และความหนาแน่นประชากร คนต่อตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: อุเอะโนะและไทโต (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

เบ็นไซเต็ง

็นไซเต็ง หรือที่เรียกอย่างสั้นว่า เบ็นเต็ง เป็นเทพีองค์หนึ่งตามคติพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่น เป็นเทพีองค์เดียวกับพระสรัสวดีของคติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คติการนับถือเบ็นไซเต็ง เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-8 ผ่านการแปล สุวรรณประภาสสูตร (Suvarṇa-prabhāsa Sūtra; 金光明経) จากภาษาจีนสู่ญี่ปุ่น โดยเนื้อหาให้พระคัมภีร์ดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับเบ็นไซเต็ง และยังปรากฏใน สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (Saddharma Puṇḍarīka Sūtra; 妙法蓮華経) ที่ปรากฏองค์พร้อมกับเครื่องดนตรีญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เรียกว่า บิวะ (琵琶) ต่างกับพระสรัสวดีที่ถือ พิณ (วีณา) เบ็นไซเต็ง เป็นหนึ่งในเทพแห่งโชคลาภทั้งเจ็ด และเป็นเทพีแห่งกวี อักษรศาสตร์ นาฏกรรม และดนตรี เชื่อกันว่าผู้ใดนับถือเทวีพระองค์นี้ก็จะพบแสงสว่างแห่งปัญญา ในอดีตเกชะนิยมบูชาเบ็นไซเต็งเพราะเชื่อว่าจะทำให้มีความสามารถเชิงระบำรำฟ้อน ส่วนพวกตีนแมวและพวกย่องเบาเองก็นิยมบูชาเทวีพระองค์นี้เช่นกัน เพราะเชื่อว่าเบ็นไซเต็งจะดลบันดาลให้ภารกิจลุล่วงไปด้วยดี.

ใหม่!!: อุเอะโนะและเบ็นไซเต็ง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »