โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อีโอซิโนฟิลและเซลล์ทีเฮลเปอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อีโอซิโนฟิลและเซลล์ทีเฮลเปอร์

อีโอซิโนฟิล vs. เซลล์ทีเฮลเปอร์

ลักษณะของอีโอซิโนฟิล อีโอซิโนฟิล (Eosinophil) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล โดยมีนิวเคลียสขนาดใหญ่ ปกติจะเห็นเป็น 2 lobe และสามารถเห็นแกรนูลชัดเจนโดยมีขนาดประมาณ 0.5 ไมครอน ซึ่งจะติดสีแดงอิฐเมื่อมองดูจากฟิล์มเลือด โดยปกติเราสามารถพบอีโอซิโนฟิลในไขกระดูกประมาณ 0-3 เปอร์เซนต์ และในกระแสเลือด ประมาณ 0-4 เปอร์เซนต์ต่อเม็ดเลือดขาวทั้งหมด หรือประมาณ 0-432 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร อีโอซิโนฟิลสร้างจากไขกระดูก โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 วัน หลังจากนั้น จะเข้าสู่กระแสเลือด ประมาณ 6-8 ชั่วโมง และจะกระจายไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยอีโอซิโนฟิลที่อยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ อาจจะกลับเข้าไปสู่กระแสเลือดและไขกระดูกอีกก็ได้ นอกจากนี้ พบว่าอีโอซิโนฟิลสามารถเคลื่อนที่ไปยังเนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบอีกด้วย โดยปกติอีโอซิโนฟิลมีหน้าที่เกี่ยวข้องการตอบสนองต่อการติดเชื้อพยาธิ การแพ้ หรือ การอักเสบ โดยภาวะที่พบอีโอซิโนฟิลสูงนั้น อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น ร่างกายเกิดอาการแพ้ (Allergic disorders) การติดเชื้อพยาธิ โรคผิวหนังบางชนิด เป็นต้น. Antigen กระตุ้นให้ T cell เปลี่ยนเป็น "cytotoxic" CD8+ cell หรือ "helper" CD4+ cell เซลล์ทีเฮลเปอร์ เป็นชนิดย่อยชนิดหนึ่งของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์เหล่านี้มักไม่มีบทบาทในการทำลายเซลล์อื่นหรือจับกินสิ่งแปลกปลอม ไม่สามารถฆ่าเซลล์เจ้าบ้านที่ติดเชื้อหรือฆ่าจุลชีพก่อโรคได้ และถ้าไม่มีเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ เซลล์ชนิดนี้อาจถูกมองว่าไม่มีประโยชน์ได้ เซลล์ทีเฮลเปอร์มีบทบาทในการกระตุ้นและชี้นำการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ และถือว่ามีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน มีส่วนจำเป็นในการระบุการเปลี่ยนคลาสแอนติบอดีของเซลล์บี มีบทบาทในการกระตุ้นและการเจริญของเซลล์ทีไซโตท็อกซิก และมีบทบาทในการเพิ่มขีดความสามารถในการทำลายแบคทีเรียของฟาโกไซต์อย่างแมโครฟาจได้ บทบาทต่อเซลล์อื่นๆ เหล่านี้เองที่ทำให้เซลล์ชนิดนี้ถูกเรียกว่าเซลล์ทีเฮลเปอร์ เชื่อกันว่าเซลล์ทีเฮลเปอร์ที่เจริญเต็มที่จะมีโปรตีนผิวหน้า CD4 แสดงออกอยู่เสมอ เซลล์ทีที่แสดงออกถึง CD4 จะถูกเรียกว่า เซลล์ที CD4+ มักถือกันว่าเซลล์ที CD4+ เป็นเซลล์ก่อนหน้าที่จะถูกกำหนดบทบาทเป็นเซลล์ทีเฮลเปอร์ ถึงแม้จะมีข้อยกเว้นที่พบไม่บ่อยบางอย่างก็ตาม ตัวอย่างเช่น ยังมีชนิดย่อยอื่นๆ ของเซลล์ทีเรกูลาทอรี เซลล์ทีเอ็นเค และเซลล์ทีไซโตท็อกซิก ที่ปรากฏการแสดงออกของ CD4 ด้วยเช่นกัน เซลล์ที่กล่าวภายหลังเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นเซลล์ทีเฮลเปอร์ และจะไม่ถูกกล่าวถึงอีกในบทความนี้ ความสำคัญของเซลล์ทีเฮลเปอร์เห็นได้จากการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสนี้จะติดเชื้อเซลล์ที่แสดงออกถึง CD4 รวมถึงเซลล์ทีเฮลเปอร์ด้วย ในช่วงท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี จำนวนของเซลล์ที CD4+ จะลดต่ำลง นำไปสู่ระยะแสดงอาการของการติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อเอดส์ นอกจากนี้ยังมีโรคที่พบไม่บ่อยอีกบางชนิดที่ทำให้เซลล์ที CD4+ หายไปหรือทำงานไม่เป็นปกติ โรคเหล่านี้ทำให้มีอาการคล้ายคลึงกัน และหลายโรคมีอันตรายถึงชีวิต หมวดหมู่:ลิมโฟไซต์ หมวดหมู่:วิทยาภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:เซลล์เม็ดเลือด หมวดหมู่:โลหิตวิทยา หมวดหมู่:เซลล์.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อีโอซิโนฟิลและเซลล์ทีเฮลเปอร์

อีโอซิโนฟิลและเซลล์ทีเฮลเปอร์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เม็ดเลือดขาว

เม็ดเลือดขาว

A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.

อีโอซิโนฟิลและเม็ดเลือดขาว · เซลล์ทีเฮลเปอร์และเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อีโอซิโนฟิลและเซลล์ทีเฮลเปอร์

อีโอซิโนฟิล มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ เซลล์ทีเฮลเปอร์ มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 5.88% = 1 / (5 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อีโอซิโนฟิลและเซลล์ทีเฮลเปอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »