โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อีเทอร์เน็ตและเนตเวิร์กสวิตช์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อีเทอร์เน็ตและเนตเวิร์กสวิตช์

อีเทอร์เน็ต vs. เนตเวิร์กสวิตช์

อีเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Ethernet) เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เป็นฐานหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด เนื่องจากเป็นเทคโนโลยี LAN ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงภายใต้ความดูแลรับผิดชอบของ IEEE สิ่งสำคัญที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง คือ "ความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth)" โดยมีการปรับปรุงความเร็วจาก 10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) เป็น 100 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งเรียก Ethernet นี้ว่า Fast Ethernet มีทั้งระบบการส่งสัญญาณแบบกึ่งทางคู่ (Half-Duplex) และแบบทางคู่ (Full-Duplex) ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า ATM (Asynchronous Transfer Mode) ในปี 1999 ได้มีการพัฒนาระบบการส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ต ให้มีความเร็วที่ 1000 Mbps หรือ 1 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) โดยใช้การส่งสัญญาณจาก 2 คู่สาย เป็น 4 คู่สาย โดยยังคงใช้พอร์ตการเชื่อมต่อแบบเดิมที่ระบบ 100 Mbps และ 10 Mbps ใช้อยู่ (Registered Jack 45: RJ45) และยังคงสามารถเลือกใช้งานระบบการส่งสัญญาณแบบกึ่งทางคู่ และแบบทางคู่ ได้ เช่นเดียวกับระบบ 100 Mbps คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบอีเทอร์เน็ตที่ทำงานที่ 100 Mbps จะยังคงสามารถต่อกับ อุปกรณ์ 1000 Mbps ได้ แต่ความเร็วจะลดลงมาแค่ที่การส่งข้อมูลที่อัตราความเร็ว 100 Mbps เช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบอีเทอร์เน็ต 1000 Mbps มาเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์ 100 Mbps ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาระบบอีเทอร์เน็ตให้มีอัตราการส่งข้อมูลที่ 10 กิกะบิตต่อวินาที (10000 Mbps) โดยยังคงมีความสามารถ เช่นเดียวกับระบบ 1 กิกะบิตต่อวินาที (เลือกการส่งสัญญาณแบบทางคู่หรือกึ่งทางคู่ได้, นำอุปกรณ์รุ่นก่อนหน้ามาเชื่อมต่อได้) หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:มาตรฐานไอทริปเพิลอี. นทเวิร์คสวิตช์ (Network Switch) เป็นอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกลุ่มเครือข่ายหรืออุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปคำๆนี้หมายถึง network bridge หรือสะพานเครือข่ายหลายพอร์ตที่ประมวลและจัดเส้นทางข้อมูลที่ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (data link layer - เลเยอร์ 2) ของแบบจำลองโอเอสไอ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อีเทอร์เน็ตและเนตเวิร์กสวิตช์

อีเทอร์เน็ตและเนตเวิร์กสวิตช์ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาแลน

ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา

โมเดล ATM ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา หรือ เอทีเอ็ม (Asynchronous Transfer Mode: ATM) เป็นเครือข่ายสื่อสาร ที่ใช้โพรโทคอลชื่อเดียวกันคือ ATM เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะ ข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากๆ มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึงระดับ Gbps สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมีได้ตั้งแต่สายโคแอกเชียล สายไฟเบอร์ออปติค หรือสายไขว้คู่ (Twisted pair) โดย ATM นั้นถูกพัฒนามาจากเครือข่ายแพ็กเก็ตสวิตซ์ (packet switched) ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่าแพ็กเก็ต (packet) ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละแพ็กเก็ตออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพเคลื่อนไหว, ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือเสียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และยังมีการรับประกันคุณภาพของการส่ง เนื่องจากมี Quality of Service (QoS) จุดเด่นของเครือข่าย ATM ที่เหนือกว่าเครือข่ายประเภทอื่น คือ อัตราการส่งผ่านข้อมูลสูง และเวลาในการเดินทางของข้อมูลน้อย จึงทำให้มีบางกลุ่มเชื่อว่า ATM จะเป็นเทคโนโลยีหลักของเครือข่าย LAN ในอนาคต เนื่องจากสามารถรองรับ Application ที่ต้องการอัตราส่งผ่านข้อมูลสูง เช่น การประชุมทางไกล (Videoconferencing) หรือแม้กระทั่ง Application แบบตอบโต้กับระหว่าง Client กับ Sever ATM เป็นระบบเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์ชนิดพิเศษ เนื่องด้วยกลุ่มข้อมูลที่ส่งแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์โดยทั่วไปจะเรียกว่า "แพ็กเก็ต" แต่ ATM จะใช้ "เซลล์" แทน ที่ใช้คำว่าเซลล์เนื่องจาก เซลล์นั้นจะมีขนาดที่เล็กและคงที่ ในขณะที่แพ็กเก็ตมีขนาดไม่คงที่ และใหญ่กว่าเซลล์มาก โดยมาตรฐานแล้วเซลล์จะมีขนาด 53 ไบต์ โดยมีข้อมูล 48 ไบต์ และอีก 5 ไบต์ จะเป็นส่วนหัว (Header) ทำให้สวิตซ์ของ ATM ทำงานได้เร็วกว่าสวิตซ์ของเครือข่ายอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียข้อมูล ATM สวิตซ์จะใช้เทคนิคการปรับจราจร (Traffic Shapping) เพื่อกำหนดให้แพ็กเก็ตข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดที่วางไว้ เช่น ในกรณีที่สถานีส่งข้อมูลในอัตราที่สูงเกินกว่าลิงก์จะรองรับได้ ATM สวิตซ์ก็จะทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์แพ็กเก็ตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และส่งต่อในปริมาณที่ลิงก์จะรองรับได้ หรือที่กำหนดไว้เท่านั้น และอีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้คือ การกำหนดนโยบายจราจร (Traffic Policing) คือ ถ้ามีเซลล์ข้อมูลที่ส่งเกินกว่าอัตราข้อมูลที่กำหนดไว้ก็จะถูกทำสัญลักษณ์ไว้เพื่อแสดงว่าเซลล์นี้มีลำดับความสำคัญต่ำ(Priority) เมื่อส่งผ่านเซลล์นี้ต่อไปก็อาจจะถูกละทิ้งหรือไม่ก็ได้นั้นขึ้นอยู่กับความคับคั่งของเครือข่าย.

ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาและอีเทอร์เน็ต · ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาและเนตเวิร์กสวิตช์ · ดูเพิ่มเติม »

แลน

แลน (Local Area Network หรือ LAN) หรือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 3 รูปแบบการเชื่อมโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) การเชื่อมโยงเครือข่ายระดับเมืองหรือแมน (MAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ.

อีเทอร์เน็ตและแลน · เนตเวิร์กสวิตช์และแลน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อีเทอร์เน็ตและเนตเวิร์กสวิตช์

อีเทอร์เน็ต มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ เนตเวิร์กสวิตช์ มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 10.53% = 2 / (5 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อีเทอร์เน็ตและเนตเวิร์กสวิตช์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »