โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาแจ็กซ์และเทพปกรณัมกรีก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อาแจ็กซ์และเทพปกรณัมกรีก

อาแจ็กซ์ vs. เทพปกรณัมกรีก

รูปวาดบนภาชนะโบราณ อาแจ็กซ์อุ้มร่างของอคิลลีส อาแจ็กซ์ (Ajax) หรือ ไอแอ็ส (Aias) วีรบุรุษในสงครามกรุงทรอย เป็นบุคคลมีรูปร่างใหญ่โต มีพละกำลังที่แข็งแรงมาก เป็นทั้งญาติและเพื่อนร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับอคิลลีส ภาพวาดในสมัยโบราณที่ปรากฏมักเป็นรูปอาแจ็กซ์นั่งเล่นหมากรุกกับอคิลลีสในช่วงพักรบ อาแจ็กซ์เป็นหนึ่งในบรรดาผู้สมัครเป็นเจ้าบ่าวของนางเฮเลน และได้กระทำสาบานปกป้องนางเฮเลนกับผู้ใดก็ตามที่ได้เป็นสามี ดังนั้นเมื่อนางเฮเลนถูกลักพาตัวไป และท้าวเมนนิเลอัสร้องขอความช่วยเหลือ เขาจึงได้เข้าร่วมสงครามเมืองทรอยด้วย ในช่วงท้ายของสงคราม ภายหลังจากที่อคิลลีสถูกปารีสยิงธนูถูกข้อเท้าถึงแก่ความตาย อาแจ็กซ์เป็นผู้ที่อุ้มร่างของอคิลลีสฝ่าทหารของกรุงทรอยออกมา นอกจากนี้แล้ว อาแจ็กซ์ยังเป็นชื่อของอีกบุคคลหนึ่งที่ปรากฏบทบาทในสงครามกรุงทรอยด้วยเช่นกัน โดยอาแจ็กซ์ผู้นี้มักถูกเรียกว่า Ajax the Lesser (อาแจ็กซ์ผู้น้อย) ขณะที่อาแจ็กซ์ผู้มีร่างกายใหญ่โตจะถูกเรียกว่า Ajax the Great (อาแจ็กซ์ผู้ยิ่งใหญ่) โดยอาแจ็กซ์ผู้น้อยนี้เป็นบุตรของกษัตริย์โอลิอุส เป็นหนึ่งในผู้ที่หลงรูปโฉมของเฮเลน จึงได้นำกองทัพเรือจำนวนมากเข้าสู่สงครามกรุงทรอย อาแจ็กซ์ผู้น้อยเสียชีวิตจากการหนีจากการจมน้ำโดยโปเซดอนได้ และไต่ขึ้นไปนั่งบนหิน โปเซดอนจึงใช้สายฟ้าฟาดไปบนหินที่อาแจ็กซ์ผู้น้อยนั่งอยู่ให้แตกละเอียด จนอาแจ็กซ์ผู้น้อยจมน้ำตายอีกครั้ง ปัจจุบัน ชื่อของอาแจ็กซ์ผู้ยิ่งใหญ่ได้ถูกตั้งเป็นชื่อของสโมสรฟุตบอลระดับชั้นแนวหน้าแห่งหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ คือ อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม หมวดหมู่:การฆ่าตัวตาย หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก. รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อาแจ็กซ์และเทพปกรณัมกรีก

อาแจ็กซ์และเทพปกรณัมกรีก มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สงครามกรุงทรอย

สงครามกรุงทรอย

"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ ​(Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.

สงครามกรุงทรอยและอาแจ็กซ์ · สงครามกรุงทรอยและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อาแจ็กซ์และเทพปกรณัมกรีก

อาแจ็กซ์ มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ เทพปกรณัมกรีก มี 46 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.85% = 1 / (8 + 46)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อาแจ็กซ์และเทพปกรณัมกรีก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »