โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาสนวิหารโคโลญและอาสนวิหารโบแว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อาสนวิหารโคโลญและอาสนวิหารโบแว

อาสนวิหารโคโลญ vs. อาสนวิหารโบแว

อาสนวิหารโคโลญ (Cologne Cathedral; Kölner Dom) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกระดับอาสนวิหารในเมืองโคโลญ เป็นวิหารประจำมุขนายกแห่งโคโลญ สถานที่นี่มีชื่อเสียงในฐานะเป็นที่ศาสนสถาน นิกายโรมันคาทอลิก สถานที่แห่งสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่ประพิธีกรรมของสามมหากษัตริย์แห่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นสถานที่เก็บหีบสามกษัตริย์ไว้ ณ ที่แห่งนี้ด้วย ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองแห่งนี้ มีผู้เยี่ยมชมราวๆ 20,000 คนต่อวัน อาสนวิหารโคโลญได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 1248 แต่มีปัญหาให้ต้องหยุดพักการก่อสร้างไปบ้าง จึงต้องใช้เวลากว่าหกร้อยปีจึงสร้างเสร็จสมบูรณ์ และ สร้างเสร็จในปี 1880 พร้อมกับมีพีธีวางหลักหินบันทึกข้อมูลการก่อสร้าง อาสนวิหารโคโลญเป็นศาสนสถานของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก นับเป็นวิหารที่ใหญ่และเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกในเป็นเวลา 4 ปี (ปี ค.ศ 1880-1884) ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองโคโลญ ถูกทิ้งระเบิดทางอากาศทั้งหมด 14 ลูก แม้วิหารจะได้รับความเสียหายบางส่วน แต่ก็ไม่พังทลายลงมา ซึ่งเชื่อว่าเป็นปาฏิหาริย์ บ้างก็เชื่อว่า เพราะวิหารเป็นจุดสังเกตที่สำคัญของนักบิน จึงไม่ต้องการจะระเบิดทำลายทิ้งไปเสียทีเดียว จากความเสียหายดังกล่าว จึงมีการซ่อมแซมภายในต่อมาตั้งแต่ ปี..1945 - 1948 แต่ถึงอย่างไรก็ดีปัจจุบันก็ยังคงติดอันดับสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกอยู่ด้วย และปัจจุบันก็ได้ถูกจัดอันดับให้อยู่อันดับ 4 วิหารที่สูงที่สุดในโลกลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโกธิก เป็นหอคอยแฝดสูง 157.38 เมตร กว้าง 86 เมตร ยาว 144 เมตร สร้างเพื่ออุทิศให้นักบุญซีโมนเปโตรและพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารโคโลญนับจุดหมายสำคัญของเมืองโคโลญและประเทศเยอรมนี และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกในปี 2536 (จากเหตุผลที่ i, ii, iv) ปัจจุบัน อาสนวิหารเปิดให้เข้าชมภายในได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถเข้าชมในส่วนพิพิธภัณฑ์ของมีค่าที่ขุดค้นพบเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกสมัยโรมันในราคา 5 ยูโร และ การเดินจุดชมวิวบนหอคอยสูง ในราคา 3 ยูโร สามารถเดินทางด้วยรถไฟที่สถานีกลาง รหัส HBF (Köln Hauptbahnhof หรือ Cologne Central Station). อาสนวิหารโบแว (Cathédrale de Beauvais) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งโบแว (Cathédrale Saint-Pierre de Beauvais) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโบแว นัวยง และซ็องลิส ตั้งอยู่ที่เมืองโบแว จังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร เป็นอาสนวิหารแบบกอธิกที่มีบริเวณร้องเพลงสวดที่สูงที่สุดในโลก (48.50 เมตร) อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่แบบสถาปัตยกรรมกอทิกแห่งหนึ่งที่แสดงถึงความสำเร็จสูงสุดและความกล้าหาญทางสถาปัตยกรรม โดยตัวอาคารมีเพียงแขนกางเขน (คริสต์ศตวรรษที่ 16) และบริเวณร้องเพลงสวด พร้อมทั้งมุขโค้งและชาเปลจำนวน 7 หลัง (คริสต์ศตวรรษที่ 13) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากทางจรมุข นอกจากนี้ยังพบโบสถ์เล็กแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 เรียกว่า "บาเซิฟวร์" (Basse Œuvre) ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะจนอยู่ในสภาพดีตั้งอยู่บริเวณที่จะเป็นที่ตั้งของบริเวณกลางโบสถ์อีกด้วย อาสนวิหารโบแวได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อาสนวิหารโคโลญและอาสนวิหารโบแว

อาสนวิหารโคโลญและอาสนวิหารโบแว มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มุขนายกสถาปัตยกรรมกอทิกอาสนวิหารซีโมนเปโตรโรมันคาทอลิก

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

มุขนายกและอาสนวิหารโคโลญ · มุขนายกและอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

สถาปัตยกรรมกอทิกและอาสนวิหารโคโลญ · สถาปัตยกรรมกอทิกและอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

อาสนวิหารและอาสนวิหารโคโลญ · อาสนวิหารและอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ซีโมนเปโตรและอาสนวิหารโคโลญ · ซีโมนเปโตรและอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

อาสนวิหารโคโลญและโรมันคาทอลิก · อาสนวิหารโบแวและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อาสนวิหารโคโลญและอาสนวิหารโบแว

อาสนวิหารโคโลญ มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาสนวิหารโบแว มี 40 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 8.93% = 5 / (16 + 40)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อาสนวิหารโคโลญและอาสนวิหารโบแว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »