โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาสนวิหารและโบสถ์คริสต์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อาสนวิหารและโบสถ์คริสต์

อาสนวิหาร vs. โบสถ์คริสต์

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต. อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อาสนวิหารและโบสถ์คริสต์

อาสนวิหารและโบสถ์คริสต์ มี 27 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลการนมัสการภาษาละตินมุขมณฑลสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกหอล้างบาปอัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันอารามอาสนวิหารในสหราชอาณาจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์อ่างล้างบาปผังอาสนวิหารคาทีดราประเทศอังกฤษประเทศอิตาลีประเทศโปแลนด์ประเทศเช็กเกียประเทศเยอรมนีนักพรตนิกายลูเทอแรนแอบบีย์แองกลิคันโรมโรมันคาทอลิกเรลิกเขตแพริช

พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

ีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248 หรือพิธีมหาสนิท(Eucharist; Holy Communion) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์บางคณะเรียกว่าศีลมหาสนิท เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และไวน์ (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต) การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระเป็นเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน ในนิกายโปรเตสแตนต์ กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทตามพระวรสารนักบุญลูกา ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทเฉพาะตามที่พระศาสนจักรคาทอลิกกำหน.

พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และอาสนวิหาร · พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล (Episcopal polity /ɪˈpɪs.kə.pəl/) เป็นการปกครองคริสตจักรรูปแบบหนึ่งที่มีโครงสร้างเป็นลำดับชั้นบังคับบัญชา โดยมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้นำของคริสตจักรในระดับท้องถิ่น โครงสร้างเช่นนี้มีมาตั้งแต่สมัยคริสตจักรยุคโบราณ ซึ่งสืบทอดมาเป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน ทั้งนี้บางคริสตจักรที่ไม่ได้สืบสายมาจากสายนี้แต่รับวิธีการบริหารเช่นนี้มาก็มี คำว่า อิปิสโคปัล มาจากภาษากรีก επίσκοπος (อีปิสโคปอส) แปลว่าผู้ปกครองดูแล ซึ่งเป็นศัพท์ที่มีที่มาเดียวกับคำว่า bishop ในภาษาอังกฤษ คริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัลจะมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้ปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็นมุขมณฑล ที่ประชุมร่วม หรือซิโนด บิชอปทำหน้าที่ประธานทั้งในศาสนาและการเมือง และประกอบพิธีสำคัญ เช่น การบวช การยืนยันความเชื่อ และการอภิเษก หลาย ๆ คริสตจักรถือว่าบิชอปเป็นตำแหน่งที่มีการสืบต่อจากอัครทูตของพระเยซู จึงเป็นผู้มีสิทธิอำนาจในการปกครองคริสตจักร และถือว่าการปกครองโดยบิชอปเป็นวิธีการบริหารคริสตจักรที่ถูกต้องตามที่ระบุในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ในบางคริสตจักรได้แบ่งบิชอปหรือมุขนายกออกเป็นหลายชั้นหลายประเภท เช่น แบ่งมุขนายกออกเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลและมุขนายกเกียรตินาม มุขนายกแต่ละประเภทยังแบ่งออกเป็นมุขนายกและอัครมุขนายก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนบของแต่ละคริสตจักร บิชอปทั้งหลายจะร่วมสามัคคีธรรมกันในรูปของสภาหรือซิโนด สภามักมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบิชอปในการดูแลเขตปกครองของตน (ตัวอย่างเช่น สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย) ตั้งแต่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ชาวโปรเตสแตนต์ส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปใช้วิธีการปกครองแบบอื่น ได้แก่ แบบเพรสไบทีเรียน แบบคองกริเกชันนาลิสต์ ซึ่งเป็นผลจากแนวคิดของฌ็อง กาลแว็ง นักปฏิรูปศาสนาชาวฝรั่ง.

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลและอาสนวิหาร · การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

การนมัสการ

การนมัสการ (โปรเตสแตนต์) หรือ คารวกิจ (โรมันคาทอลิก) เป็นการบูชาพระเป็นเจ้าของคริสต์ศาสนิกชน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “worship” มาจากภาษา Anglo-Saxon ว่า “worthscipe” หรือ “worthship” หมายถึง การตอบสนองภายในจิตใจด้วยการแสดงออกมา อันเนื่องมาจากการที่เห็นความสำคัญและคุณค่าของสิ่งนั้น หรือคนนั้น หนังสือสดุดี บทที่ 96 ข้อ 8 กล่าวว่า “จงถวายพระสิริ ซึ่งควรแก่พระนามของพระองค์แด่พระเจ้า จงนำเครื่องบูชาและมายังบริเวณพระนิเวศของพระองค์” นั่นคือภาพในสมัยก่อนการเสด็จมากำเนิดของพระเยซูคริสต์ คนที่เห็นคุณค่าพระเจ้าจะนำเครื่องบูชามาถวายแด่พระเจ้าเป็นการนมัสการ.

การนมัสการและอาสนวิหาร · การนมัสการและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ภาษาละตินและอาสนวิหาร · ภาษาละตินและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

มุขมณฑลและอาสนวิหาร · มุขมณฑลและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกและอาสนวิหาร · สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

หอล้างบาป

หอล้างบาปกลมเมืองปีซาตั้งอยู่ข้างตัวมหาวิหาร หอล้างบาปประจำมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน หอล้างบาปที่ฟลอเรนซ์ หอล้างบาป หรือ หอบัพติศมา (Baptistery หรือ BaptistryCatholic Encyclopedia. ''Baptistery''. http://www.newadvent.org/cathen/02276b.htm.) เป็นคริสต์ศาสนสถาน ที่สร้างเป็นอิสระจากสิ่งก่อสร้างอื่นโดยมีอ่างล้างบาปเป็นศูนย์กลาง หอล้างบาปอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโบสถ์หรืออาสนวิหารซึ่งมีแท่นบูชาและคูหาสวดมนต์ของตนเอง ในศาสนาคริสต์ยุคแรกหอล้างบาปจะเป็นสถานสำหรับผู้จะเข้ารีตเรียนรู้เรื่องศาสนาก่อนจะรับศีลล้างบาป และเป็นที่ทำพิธีล้างบาป การสร้างหอล้างบาปอย่างสวยงามเป็นการแสดงถึงความสำคัญของการล้างบาปในศาสนาคริสต์ หอล้างบาปทรงแปดเหลี่ยมของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันเป็นหอล้างบาปแรกที่สร้างเพื่อการพิธีนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นแบบลักษณะตัวอย่างของหอล้างบาปที่สร้างกันต่อมา ซึ่งบางครั้งจะเป็นสิบสองเหลี่ยม หรือกลมอย่างที่ปิซา ในบริเวณโถงทางเข้าโบสถ์คริสต์เป็นบริเวณที่ใช้สำหรับใช้เรียนคำสอนและสารภาพความศรัทธาก่อนที่จะทำการรับศีลล้างบาป โถงกลางจะมีอ่างล้างบาปป็นหลัก ซึ่งจะเป็นที่ที่ผู้รับศีลจะลงไปใต้น้ำสามหน จากอ่างจะเป็นบันไดสามขั้นลงไปในอ่าง ห้อยอยู่เหนืออ่างอาจจะเป็นนกพิลาปทองหรือเงินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ รูปเคารพที่ทำจากโมเสกบนผนัง หรือจิตรกรรมฝาผนังมักจะเป็นฉากชีวิตของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา อ่างล้างบาปในระยะแรกมักจะทำด้วยหิน แต่ต่อมาก็มีการทำด้วโลหะบ้าง แหล่งน้ำของหอล้างบาปของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันมาจากน้ำพุธรรมชาติ ก่อนที่จะมาเป็นมหาวิหารสิ่งก่อสร้างเดิมเป็นวังของครอบครัวพลอติอิ แลเตอร์รัน (Plautii Laterani) ผู้เป็นผู้บริหารของจักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เป็นผู้ถวายวังนี้ให้กับบิชอปมิลทิอาเดส (Bishop Miltiades) น้ำพุธรรมชาติเป็นแหล่งน้ำของสิ่งก่อสร้างหลายสิ่งก่อสร้างภายในวัง เมื่อมีการเปลี่ยนศาสนาผู้เปลี่ยนก็ต้องรับล้างบาปทำให้แหล่งน้ำกลายเป็นความจำเป็น คาสสิโอโดรัสนักการเมืองและนักเขียนชาวโรมันบรรยายไว้ในปี..

หอล้างบาปและอาสนวิหาร · หอล้างบาปและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน ในพระสันตะปาปา (Arcibasilica Papale di San Giovanni in Laterano) หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน (Basilica di San Giovanni in Laterano) หรือเรียกอย่างสั้นว่า มหาวิหารลาเตรัน เป็นมหาวิหารเอกในกรุงโรมและเป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งกรุงโรม นับเป็นมหาวิหารที่เก่าแก่ที่สุดและมีตำแหน่งสูงสุดในบรรดามหาวิหารเอกทั้งสี่แห่งในกรุงโรม และมีสถานะเป็นโบสถ์แม่ของโบสถ์ทั้งปวงในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน เป็นมหาวิหารที่เก่าแก่มากที่สุดและมีความอาวุโสสูงสุดในบรรดามหาวิหารเอกทั้งสี่ในพระสันตะปาปาซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ในโรม มีลำดับศักดิ์อยู่เหนือแม้กระทั่งมหาวิหารนักบุญเปโตร และเป็นเพียงอาสนวิหารเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีฐานะเป็น อัครมหาวิหาร และเนื่องจากเป็นอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุด จึงได้รับการยกย่องให้เป็นอาสนวิหารแม่ของศาสนจักรโรมันคาทอลิก หัวหน้าพระคนบัจจุบันคือ พระคาร์ดินัลอากอสตีโน วัลลี ซึ่งเป็นคาร์ดินัลใหญ่แห่งมุขมณฑลโรม ในขณะที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นแคนันกิตติมศักดิ์ (honorary canon) ประจำมหาวิหารฯ โดยตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งแคนันกิตติมศักดิ์นี้เป็นตำแหน่งที่สืบทอดในหมู่ประมุขแห่งฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ด้านหน้าบริเวณทางเข้า มีศิลาจารึกเป็นภาษาละตินขนาดใหญ่ว่า Clemens XII Pont Max Anno V Christo Salvatori In Hon SS Ioan Bapt et Evang ซึ่งแปลอย่างย่อได้ว่า "สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 12 ในปีที่ 5 แห่งสมณสมัย ได้ทรงอุทิศอาคารหลังนี้แก่พระคริสต์เจ้าผู้ช่วยให้รอด ด้วยเกียรติของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร" หรือมีความหมายก็คือ เดิมดี มหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่พระเยซู และในหลายศตวรรษต่อมาก็ประกาศร่วมอุทิศให้แก่นักบุญยอห์นทั้งสอง คือยอห์นผู้ให้บัพติศมาและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครมหาวิหารฯตั้งอยู่ในกรุงโรม แต่อยู่นอกเขตแดนของนครรัฐวาติกันประมาณ 4 กิโลเมตรไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ แม้จะไม่ได้อยู่ในวาติกัน แต่อัครมหาวิหารแห่งนี้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในฐานะสมบัติของสันตะสำนัก จากผลของสนธิสัญญาลาเตรัน..

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันและอาสนวิหาร · อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อาราม

อาราม (monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios” (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน.

อารามและอาสนวิหาร · อารามและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารในสหราชอาณาจักร

อาสนวิหารซอลสบรี อาสนวิหาร (Cathedral) ในสหราชอาณาจักร มีทั้งที่ยังใช้เป็นอาสนวิหารหรือโบสถ์ประจำเขตแพริชอยู่ และที่ยกเลิกไปแล้ว.

อาสนวิหารและอาสนวิหารในสหราชอาณาจักร · อาสนวิหารในสหราชอาณาจักรและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

อาสนวิหารและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อ่างล้างบาป

อ่างล้างบาปที่มหาวิหารวอมส์ ประเทศเยอรมนี อ่างล้างบาปสมัยกลาง จากเมือง Norrköping ประเทศสวีเดน อ่างล้างบาป (Baptismal font) คือภาชนะที่ใช้ทำพิธีบัพติศมาสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ “พิธีบัพติศมา” ก็มีหลายแบบ -- พรมน้ำ รดน้ำ หรือจุ่มลงไปในน้ำทั้งตัว อย่างคำในภาษากรีกว่า βαπτιζω คำนี้แปลว่าดำลงไป แต่อ่างล้างบาปโดยทั่วไปจะเล็กเกินกว่าที่จะใช้วิธีนี้ได้นอกจากกับเด็กทารก.

อาสนวิหารและอ่างล้างบาป · อ่างล้างบาปและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ผังอาสนวิหารและอาสนวิหาร · ผังอาสนวิหารและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

คาทีดรา

ทีดราที่มหาวิหารโวลเทอร์ราในอิตาลี คาทีดราของพระสันตะปาปาในมุขโค้งด้านสกัดของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันซึ่งเป็นมหาวิหารของกรุงโรม คาทีดรา (cathedra) หรือ อาสนะบิชอป (bishop's throne) เป็นเก้าอี้ของบิชอป เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจในการเทศนาของบิชอปในคริสตจักรคาทอลิก คริสจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และกลุ่มอังกลิคัน คริสต์ศาสนสถานซึ่งเป็นที่ตั้งของอาสนะบิชอปจึงเรียกว่า อาสนวิหาร (cathedral) คำว่า "cathedra" ปรากฏในวรรณกรรมคริสเตียนยุคแรกในวลี "cathedrae apostolorum" ซึ่งบ่งบอกถึงอำนาจที่รับมาโดยตรงจากอัครทูต.

คาทีดราและอาสนวิหาร · คาทีดราและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ประเทศอังกฤษและอาสนวิหาร · ประเทศอังกฤษและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ประเทศอิตาลีและอาสนวิหาร · ประเทศอิตาลีและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ประเทศโปแลนด์และอาสนวิหาร · ประเทศโปแลนด์และโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเช็กเกีย

็กเกีย (Czechia; Česko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic; Česká republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย เช็กเกียประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเซีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เมืองหลวงของประเทศคือ ปราก เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน, ออสตราวา, เปิลเซน, ฮราเดตส์กราลอเว, เชสเกบุดเยยอวีตเซ และอูสตีนัดลาเบม นับตั้งแต่การยุบเลิกประเทศเชโกสโลวาเกียเมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐเช็กได้สนับสนุนให้ใช้ชื่อประเทศแบบสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า "เช็กเกีย" (Czechia) แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ชื่อ "เช็กเกีย" เป็นชื่อเรียกประเทศแบบสั้นอย่างเป็นทางการ.

ประเทศเช็กเกียและอาสนวิหาร · ประเทศเช็กเกียและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ประเทศเยอรมนีและอาสนวิหาร · ประเทศเยอรมนีและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

นักพรต

นักพรต (monk)กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 131 คือผู้บำเพ็ญพรต หรือผู้ประพฤติตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกาย ใจ ของตนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

นักพรตและอาสนวิหาร · นักพรตและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

นิกายลูเทอแรนและอาสนวิหาร · นิกายลูเทอแรนและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

แอบบีย์

“แอบบีย์คลูนี” ในประเทศฝรั่งเศส แอบบีย์ (Abbey) คืออารามหรือคอนแวนต์ในนิกายโรมันคาทอลิก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอธิการอาราม (Abbot) หรืออธิการิณีอาราม (Abbess) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อหรือแม่ฝ่ายจิตวิญญาณของเหล่านักพรตที่อาศัยในแอบบีย์ “แอบบีย์” เดิมมาจาก “abbatia” ในภาษาละติน (ซึ่งแผลงจากคำ “abba” ในภาษาซีเรียค ที่แปลว่า “พ่อ”) คำว่า “แอบบีย์” อาจจะหมายถึงคริสต์ศาสนสถานที่ในปัจจุบันไม่มีฐานะเป็นแอบบีแล้ว แต่ยังคงใช้ชื่ออยู่ ซึ่งบางครั้งก็ใช้ต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี เช่น แอบบีเวสต์มินสเตอร์ หรือใช้เรียกคฤหาสน์ชนบท หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เดิมเป็นแอบบี แต่มาเปลี่ยนมือเป็นของคฤหัสถ์หลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบอารามโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่น มิสเซนเดนแอบบีย์ (Missenden Abbey).

อาสนวิหารและแอบบีย์ · แอบบีย์และโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

อาสนวิหารและแองกลิคัน · แองกลิคันและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

อาสนวิหารและโรม · โบสถ์คริสต์และโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

อาสนวิหารและโรมันคาทอลิก · โบสถ์คริสต์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เรลิก

รลิก (relic) คือชิ้นส่วนร่างกายของนักบุญหรือบุคคลที่เป็นที่นับถือ หรือศาสนวัตถุโบราณอื่นๆ ที่มีการเก็บรักษาไว้ให้ศาสนิกชนได้บูชา หรือเป็นเครื่องระลึกถึง ความเชื่อเกี่ยวกับเรลิกมีความสำคัญในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิเชมัน ฯลฯ คำว่า relic มาจาก ภาษาละติน “reliquiae” แปลว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่ และคำว่า “reliquary” หมายถึงที่เก็บรักษาเรลิกซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้ หรือศาสนสถานสถานที่เช่นมหาวิหารหรือวั.

อาสนวิหารและเรลิก · เรลิกและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตแพริช

ตแพริช (Parish) หรือที่ชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าเขตวัด เป็นเขตปกครองในคริสต์ศาสนา ใช้หลายคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก แองกลิคัน เป็นต้น นอกจากใช้ในทางศาสนาแล้วในบางประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ยังใช้เขตแพริชหมายถึงเขตปกครองส่วนท้องถิ่นด้ว.

อาสนวิหารและเขตแพริช · เขตแพริชและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อาสนวิหารและโบสถ์คริสต์

อาสนวิหาร มี 121 ความสัมพันธ์ขณะที่ โบสถ์คริสต์ มี 64 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 27, ดัชนี Jaccard คือ 14.59% = 27 / (121 + 64)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อาสนวิหารและโบสถ์คริสต์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »