โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อารยธรรมไมซีนีและโฮเมอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อารยธรรมไมซีนีและโฮเมอร์

อารยธรรมไมซีนี vs. โฮเมอร์

"ประตูสิงโต" (Lion Gate) ประตูทางเข้าหลักของป้อมปราการเมืองไมซีไน ศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล อารยธรรมไมซีนี (Mycenaean civilization) มาจากภาษากรีกโบราณ: (Μυκῆναι Mykēnai หรือ Μυκήνη Mykēnē) เป็นวัฒนธรรมอีเจียนในช่วงปลายสมัยเฮลลาดิค (ยุคสำริด) เจริญอยู่ระหว่างปี 1650 จนถึงปี 1100 ก่อนคริสตกาล อารยธรรมไมซีนีเป็นอารยธรรมแรกที่แสดงความก้าวหน้าในระดับสูงบนแผ่นดินใหญ่ของกรีซ โดยมีจุดเด่นที่การสร้างพระราชวังที่มีลักษณะเป็นป้อมปราการ เริ่มมีการจัดตั้งชุมชนเมือง การสร้างงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสี และระบบการเขียน ซึ่งปรากฏอยู่ในจารึกแผ่นดินเหนียวไลเนียร์บี อันเป็นหลักฐานทางตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีก ชาวไมซีเนียนมีนวัตกรรมหลายอย่างทั้งในทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และทางการทหาร และมีการเดินทางค้าขายไปทั่วแถบเมดิเตอร์เรเนียน ศาสนาของไมซีนีมีเทพเจ้าหลายองค์ เช่นเดียวกับเทพเจ้าในเทวสภาโอลิมปัส สังคมของชาวกรีกในยุคไมซีนีเป็นสังคมที่นักรบชาติกำเนิดสูงมีบทบาทหลัก และประกอบไปด้วยเครือข่ายรัฐพระราชวังที่มีระบบของลำดับชั้นทางปกครอง ความสัมพันธ์ทางสังคม และทางเศรษฐกิจที่เข้มงวด ผู้ปกครองสูงสุดในสังคมเป็นกษัตริย์ ซึ่งเรียกว่า อะนักซ์ (wanak) วัฒนธรรมกรีกในยุคไมซีนีต้องพบกับจุดจบ เมื่ออารยธรรมยุคสำริดในแถบเมดิเตอเรเนียนตะวันออกล่มสลายลง และติดตามมาด้วยยุคมืดของกรีซ อันเป็นช่วงที่สังคมกรีกเปลี่ยนผ่านแบบไร้การจดบันทึก(เป็นลายลักษณ์อักษร) ไปสู่กรีซยุคอาร์เคอิก อันเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมอย่างมีนัยสำคัญ โดยอำนาจที่เคยรวมศูนย์อยู่ที่พระราชวังได้กระจายตัวออกไป และมีการใช้เหล็กเพิ่มมากขึ้น มีทฤษฎีที่อธิบายการล่มสลายของอารยธรรมไมซีนีอยู่หลายทฤษฎี บ้างก็ว่าเป็นเพราะการรุกรานของชาวดอเรียนหรือเพราะการขยายอำนาจของ "ชาวทะเล" (the Sea Peoples) ในแถบเมดิเตอเรเนียนซึ่งชาวอียิปต์โบราณได้บันทึกไว้ ทฤษฎีอื่นๆที่ยอมรับกันก็เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อารยธรรมและประวัติศาสตร์ของยุคไมซีนีกลายเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของวรรณกรรมกรีกโบราณ โดยเฉพาะเทพปกรณัมกรีก ซึ่งรวมถึงวัฏมหากาพย์กรุงทรอย (Trojan Epic Cycle). รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อารยธรรมไมซีนีและโฮเมอร์

อารยธรรมไมซีนีและโฮเมอร์ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรีซโบราณสงครามกรุงทรอย

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

กรีซโบราณและอารยธรรมไมซีนี · กรีซโบราณและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกรุงทรอย

"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ ​(Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.

สงครามกรุงทรอยและอารยธรรมไมซีนี · สงครามกรุงทรอยและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อารยธรรมไมซีนีและโฮเมอร์

อารยธรรมไมซีนี มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ โฮเมอร์ มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 10.00% = 2 / (13 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อารยธรรมไมซีนีและโฮเมอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »