ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อารยธรรมไมซีนีและเทพปกรณัมกรีก
อารยธรรมไมซีนีและเทพปกรณัมกรีก มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรีซยุคอาร์เคอิกกรีซโบราณวรรณกรรมกรีกโบราณสงครามกรุงทรอย
กรีซยุคอาร์เคอิก
กรีซยุคอาร์เคอิก (Archaic Greece) ยุคอาร์เคอิกของกรีซ คือสมัยอารยธรรมของประวัติศาสตร์กรีซโบราณที่รุ่งเรืองราวระหว่าง 800 ถึง 480 ปีก่อนคริสต์ศักราช อันเป็นยุคก่อนก่อนหน้ากรีซยุคคลาสสิก (ศตวรรษที่ 4 และ 5 ก่อนคริสตกาล) กรีซในยุคอาร์เคอิกเป็นช่วงเวลาที่จำนวนประชากรกรีกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีลำดับเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ที่พลิกโฉมหน้าอารยธรรมของชาวกรีก ณ ช่วงสิ้น.ที่ 8 ก่อนคริสตกาล จนกลายสภาพไปในลักษณะที่แทบจำไม่ได้หากเปรียบเทียบกับยุคก่อนหน้า นักวิชาการเชื่อว่ายุคอาร์เคอิกของกรีซ เกิดขึ้นจากการปฏิวัติที่สำคัญสองประเภท คือ การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง ประเภทหนึ่ง และ การปฏิวัติทางปัญญา อีกประเภทหนึ่ง การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง นำไปสู่การสร้างแผนที่ และการกำหนดสถานะทางการเมืองระหว่างกันขึ้นในโลกของชาวกรีก เริ่มมีการก่อตั้งนครรัฐ "โปลิส" (poleis) ที่มีแบบแผนเฉพาะตัวขึ้นมา ในยุคนี้ชาวกรีกได้พัฒนาทฤษฎีการเมือง การเศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การสงคราม และวัฒนธรรมขึ้นอย่างรวดเร็ว และสิ่งเหล่านี้ปูพื้นฐานไปสู่ยุคทอง หรือยุคคลาสสิคของอารยธรรมกรีก นอกจากนี้ชาวกรีกในยุคอาร์เคอิกยังได้ฟื้นฟูการเขียนที่หายไปในระหว่างยุคมืด โดยมีการพัฒนาตัวอักษรกรีกจนมีลักษณะอย่างที่ใช้กันมาจนปัจจุบัน ทำให้วรรณคดีของกรีซโดยเฉพาะมหากาพย์ของโฮเมอร์ เปลี่ยนจากการถ่ายทอดทางมุขปาถะ (ปากเปล่า) มาเป็นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในด้านศิลปะได้ปรากฏการสร้างเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสีแดง (red-figure pottery) ด้านการทหารได้มีการพัฒนากระบวนทัพแบบฮอปไลต์ขึ้น ซึ่งกลายเป็นแกนหลักและยุทธวิธีหลักของกองทัพกรีก ในนครเอเธนส์สถาบันประชาธิปไตยยุคเริ่มแรกถูกนำมาใช้ภายใต้การการชี้นำของโซลอน และต่อมาการปฏิรูปของไคลธีนีส (Cleisthenes) ในช่วงปลายยุคนำได้พัฒนาไปสู่ ประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ อันเป็นรูปแบบการปกครองที่สืบต่อเนื่องมาในสมัยคลาสสิค คำว่า "กรีซยุคอาร์เคอิก" เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่กลายมาเป็นคำมาตรฐานที่ใช้กันตั้งแต่นั้นมา คำดังกล่าวเป็นคำที่มาจากการศึกษาศิลปะกรีกที่หมายถึงลักษณะส่วนใหญ่ของศิลปะการตกแต่งพื้นผิวและประติมากรรม ที่ตกอยู่ระหว่างศิลปะเรขาคณิตกับกรีซคลาสสิก.
กรีซยุคอาร์เคอิกและอารยธรรมไมซีนี · กรีซยุคอาร์เคอิกและเทพปกรณัมกรีก ·
กรีซโบราณ
กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.
กรีซโบราณและอารยธรรมไมซีนี · กรีซโบราณและเทพปกรณัมกรีก ·
วรรณกรรมกรีกโบราณ
หน้ากระดาษจากหนังสือเรื่อง ''งานและวัน'' ของเฮสิโอด ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1539 วรรณกรรมกรีกโบราณ คือ วรรณคดีที่เขียนด้วยภาษากรีกโบราณ ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีการจารึกเป็นภาษากรีกต่อมาจนถึงสมัยจักรวรรดิไบเซนไทน์ งานวรรณคดีภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือตกทอดมา คือ มหากาพย์สองเรื่องที่กวีโฮเมอร์รจนาขึ้นในยุคอาร์เคอิก หรือประมาณศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ได้แก่ อีเลียด และโอดิสซี ซึ่งเล่าเหตุการที่เกิดขึ้นในยุคขุนศึกของอารยธรรมไมซีนี มหากาพย์สองเรื่องนี้ กับงานเขียนร้อยกรองในยุคเดียวกัน ได้แก่ เพลงสวดโฮเมอริค (Homeric Hymns) และบทกวีอีกสองเรื่องของเฮสิโอด คือ ธีออโกนี (Theogony) และ งานและวัน (works and days) ถือได้ว่าเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและรากฐานของธรรมเนียมทางวรรณกรรมของชาวกรีก สืบต่อไปถึงยุคคลาสสิค, สมัยอารยธรรมเฮเลนิสติก และยังเป็นรากฐานให้กับวรรณคดีของชาวโรมันอีกด้วย งานวรรณกรรมกรีกโบราณ เริ่มต้นขึ้นจากบทกวีขับร้องประกอบการเล่นดนตรีอย่างเช่น มหากาพย์ของโฮเมอร์ และบทกวีไลริค (lyric poetry) ซึ่งมีกวีนามอุโฆษ เช่น แซพโพ อัลซีอัส และพินดาร์ เป็นแบบอย่างที่มีอิทธิพลในช่วงยุคบุกเบิกของศิลปะทางกวีนิพนธ์ ต่อมามีการพัฒนาศิลปะการละครขึ้น งานนาฏกรรมบทละครที่ตกทอดมาได้แก่ของ เอสคิลัส (ราว 525-456 ก.คริสต์) ซอโฟคลีส (497-406 ก.คริสต์) ยูริพิดีส (480-406 ก.คริสต์) และอริสโตฟานีส (446-436 ก.คริสต์) ในบรรดานาฏศิลปินทั้งสี่ เอสคิลัสเป็นนักประพันธ์ละครคนแรกสุดที่มีงานตกทอดมาถึงเราอย่างสมบูรณ์ ซอโฟคลีสเป็นนักแต่งบทละครที่มีชื่อเสียงจากงานโศกนาฏกรรมไตรภาคเกี่ยวกับอีดิปัส โดยเฉพาะเรื่องพระเจ้าอีดิปัส (Oedipus Rex) และแอนติโกเน่ฯ ยูริพิดีสมีชื่อเสียงจากการสร้างงานประพันธ์ที่พยายามท้าทายขอบเขตของโศกนาฏกรรม ส่วนนักประพันธ์สุขนาฏกรรม (หรือ หัสนาฏกรรม) อริสโตฟานีสมีปรีชาสามารถในสาขางานสุขนาฏกรรมแบบดั้งเดิม (old comedy) ในขณะที่เมแนนเดอร์เป็นผู้บุกเบิกสุขนาฏกรรมใหม่ ภาพวาดจากซีนในบทสนทนา ซิมโพเซียม (ปรัชญาว่าด้วยความรัก) ของเพลโต (Anselm Feuerbach, 1873) สำหรับงานร้อยแก้วมีเฮโรโดตัส และธิวซิดิดีส เป็นผู้บุกเบิกงานเขียนทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกรีซในช่วงศตวรรษที่ 5 (และความเป็นมาก่อนหน้านั้น) ซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งสองท่านมีชีวิตอยู่ เพลโตถ่ายทอดความคิดเชิงปรัชญาผ่านบทสนทนา ซึ่งมีโสเครตีสผู้เป็นอาจารย์ของท่านเป็นจุดศูนย์กลาง ในขณะที่อริสโตเติ้ลลูกศิษย์ของเพลโตบุกเบิกสาขาปรัชญาใหม่ๆ รวมทั้งพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง รวมทั้งการจำแนกหมวดหมู่สัตว์ และทฤษฎีทางกลศาสตร์ซึ่งเป็นชุดความรู้ที่สังคมตะวันตกยึดถือกันต่อมาอีกเกือบสองพันปีจนกระทั่งถูกเปลี่ยนแปลงในสมัยของไอแซก นิวตัน.
วรรณกรรมกรีกโบราณและอารยธรรมไมซีนี · วรรณกรรมกรีกโบราณและเทพปกรณัมกรีก ·
สงครามกรุงทรอย
"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ (Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.
สงครามกรุงทรอยและอารยธรรมไมซีนี · สงครามกรุงทรอยและเทพปกรณัมกรีก ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ อารยธรรมไมซีนีและเทพปกรณัมกรีก มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง อารยธรรมไมซีนีและเทพปกรณัมกรีก
การเปรียบเทียบระหว่าง อารยธรรมไมซีนีและเทพปกรณัมกรีก
อารยธรรมไมซีนี มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ เทพปกรณัมกรีก มี 46 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 6.78% = 4 / (13 + 46)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อารยธรรมไมซีนีและเทพปกรณัมกรีก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: