อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์และเมแทบอลิซึม
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์และเมแทบอลิซึม
อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ vs. เมแทบอลิซึม
ระวังสับสนกับ: อัลไพน์ นิวต์ อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ หรือ ซาลาแมนเดอร์ แอททร้า (Alpine salamander, Golden salamander) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง จำพวกซาลาแมนเดอร์ จัดเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก หรือนิวต์ (Salamandridae) อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ เป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก มีลักษณะเด่นคือ มีสีดำตลอดทั้งตัว มี 5 นิ้ว ปลายนิ้วไม่มีเล็บ มีหัวใจทั้งหมด 3 ห้อง ผิวหนังเปียกชื้นไม่มีเกล็ด เหมือนซาลาแมนเดอร์ทั่วไป พบกระจายพันธุ์ในแถบเทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,800 เมตร พบได้ในประเทศแอลเบเนีย, ออสเตรีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, โครเอเชีย, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ลิกเตนสไตน์, มอนเตเนโกร, เซอร์เบีย และสวิสเซอร์แลนด์ ในลำธารที่สภาพอากาศหนาวเย็น โดยปกติทางตอนใต้ของเทือกเขาแอลป์ จะไม่ค่อยพบในที่ ๆ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 900 เมตร และมีรายงานว่าพบในที่ ๆ สูงที่สุด คือ 2,430 เมตร ในฝรั่งเศส และ 2,800 เมตร ที่ออสเตรีย คาเรนทันนี กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก ได้แก่ แมลง, หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ และหอยขนาดเล็ก อัลไพน์ ซาลาแมนเดอร์ ในช่วงฤดูหนาวจะขุดรูเพื่อจำศีล ในโพรงดินลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นของผิวหนัง โดยสภาพร่างกายในช่วงนี้จะอยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว อัตราเมแทบอลิซึมต่ำ อัตราการใช้ออกซิเจนจะลดลงอย่างมาก อาจเป็น 1/3 หรือ 1/100 ของอัตราปกติ หัวใจเต้นนาทีละไม่กี่ครั้ง ซึ่งอาจจะอยู่ในภาวะเช่นนี้ได้หลายเดือน จนกระทั่งเมื่ออุณหภูมิขึ้นสูงในระดับ 12-14 องศาเซลเซียส จึงจะขยับตัวออกมา ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่ง ของอัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ คือ ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2-3 ปี โดยตัวผู้จะปล่อยสเปิร์มทิ้งไว้ตามใบไม้ริมน้ำหรือไม้น้ำ หรือก้อนหินที่เปียกชื้นริมน้ำ แล้วจะเปลี่ยนตัวเองให้มีสีที่สวยขึ้น คือ สีทอง เพื่อดึงดูดใจตัวเมีย เมื่อปฏิสนธิแล้ว ไข่จะพัฒนาตัวเองเป็นตัวอ่อนอยู่ในร่างกายของแม่ก่อนที่จะออกมาสู่โลกภายนอก ทั้งนี้เป็นเพราะการปรับตัวให้เข้ากับสถานที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นที่ ๆ หนาวเย็น จนบางครั้งแหล่งน้ำที่อาศัยอยู่แข็งเป็นน้ำแข็ง อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงSalamandra atra... จิ้งจกน้ำสีนิลแห่งเทือกเขาแอลป์ โดย สุริศา ซอมาดี คอลัมน์ Aqua Survey, หน้า 76-81 นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 28: ตุลาคม 2012. กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์และเมแทบอลิซึม
อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์และเมแทบอลิซึม มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ออกซิเจน
ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.
ออกซิเจนและอัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ · ออกซิเจนและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์และเมแทบอลิซึม มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์และเมแทบอลิซึม
การเปรียบเทียบระหว่าง อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์และเมแทบอลิซึม
อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ มี 54 ความสัมพันธ์ขณะที่ เมแทบอลิซึม มี 152 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 0.49% = 1 / (54 + 152)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์และเมแทบอลิซึม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: