โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อัมโบรโจ โลเรนเซตตีและแม่พระและพระกุมาร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อัมโบรโจ โลเรนเซตตีและแม่พระและพระกุมาร

อัมโบรโจ โลเรนเซตตี vs. แม่พระและพระกุมาร

อัมโบรจิโอ ลอเร็นเซ็ตติ (ภาษาอังกฤษ: Ambrogio Lorenzetti หรือ Ambruogio Laurati) (ราว ค.ศ. 1290 - 9 มิถุนายน ค.ศ. 1348) เป็นจิตรกรสมัยกอธิคชาวอิตาลีของตระกูลการเขียนภาพแบบเซียนนา ของคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง อัมโบรจิโอ ลอเร็นเซ็ตติเกิดราวปี ค.ศ. 1348 ในประเทศอิตาลี และเสียชีวิตด้วยกาฬโรคเช่นเดียวกับเปียโตร ลอเร็นเซ็ตตีพี่ชายที่เป็นจิตรกรเช่นกันเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1348 อัมโบรจิโอ ลอเร็นเซ็ตติเป็นหนึ่งในศิลปินที่มีชื่อเสียงที่จอร์โจ วาซารีลงบันทึกไว้ในหนังสือ “ชีวิตศิลปิน” อัมโบรจิโอมีผลงานระหว่างปี ค.ศ. 1348 ถึงปี ค.ศ. 1348 อัมโบรจิโอแสดงถึงอิทธิพลของซิโมเน มาร์ตินิแต่เป็นงานที่เป็นธรรมชาติมากกว่า งานชิ้นแรกๆ ที่สุดเท่าที่ทราบคืองานเขียน “พระแม่มารีและพระบุตร” (ค.ศ. 1319, พิพิธภัณฑ์ไดโอเซซาโน, ซานคาชิอาโน) หลักฐานเกี่ยวกับอัมโบรจิโอถูกบันทึกไว้ที่ฟลอเร็นซ์จนปี ค.ศ. 1321 แต่ก็กลับมาอีกหลังจากที่ไปทำงานที่เซียนนาเป็นเวลาหลายปี จิตรกรรมฝาผนังบนผนังใน “ศาลาแห่งเก้า” (Sala dei Nove) และ “ศาลาแห่งความสันติสุข” (Sala della Pace) ในศาลาว่าการเมืองเซียนาเป็นผลงานชิ้นเอกของยุคเรอเนสซองซ์ตอนต้นที่มิใช่งานที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา “เก้า” เป็นคณาธิปไตยของสมาคมช่างและผู้มีผลประโยชน์ทางการเงินเก้าสมาคมที่ปกครองสาธารณรัฐเซียนนาในขณะนั้น ผนังสามด้านเป็นภาพเขียนของการประชุมที่เป็นอุปมานิทัศน์ของคุณธรรมใน “อุปมานิทัศน์ของรัฐบาลที่ดี” (Allegory of Good Government) บนผนังอีกสองด้านอัมโบรจิโอเขียนภาพปริทัศน์ของ “ผลของการมีรัฐบาลที่ดีต่อบ้านเมือง” (Effects of Good Government on Town and Country) และภาพ “อุปมานิทัศน์ของรัฐบาลที่ไม่ดี” (Allegory of Bad Government) และภาพคู่กัน “ผลของการมีรัฐบาลที่ไม่ดีต่อบ้านเมือง” (Effects of Bad Government on Town and Country) ภาพผลของรัฐบาลที่ดีอยู่ในสภาพที่ดีกว่า ทำให้เป็นภาพที่แสดงสารานุกรมของชีวิตอันสงบสุขของชาวเมืองในยุคกลางและทิวทัศน์ชนบท หลักฐานแรกของนาฬิกาทรายนาฬิกาทรายจะพบได้ในภาพเขียนนี้. แม่พระและพระกุมาร (Madonna and Child; Madonna col Bambino) เป็นรูปเคารพที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งในศาสนาคริสต์ เป็นรูปของพระนางมารีย์พรหมจารี (ซึ่งชาวคาทอลิกเรียกว่าแม่พระ) และพระกุมารเยซู (พระเยซูเมื่อทรงพระเยาว์) “แม่พระและพระกุมาร” โดย ฟิลลิปโป ลิปปี (Filippo Lippi).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อัมโบรโจ โลเรนเซตตีและแม่พระและพระกุมาร

อัมโบรโจ โลเรนเซตตีและแม่พระและพระกุมาร มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ศิลปะกอทิกสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจิตรกรรมฝาผนังซากรากอนแวร์ซาซีโอเน

ศิลปะกอทิก

ลปะกอทิก (Gothic art) เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปีต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาในการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะในประเทศอื่นในยุโรปตะวันตกที่เรียกกันว่าศิลปะกอทิกนานาชาติ ศิลปะกอทิกนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยกอธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสี จิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร ศิลปะกอธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (ฝรั่งเศส) มหาวิหารนัวยง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารล็อง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารอามีแย็ง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์ (อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ (อังกฤษ) เป็นต้น มุขด้านตะวันออกของวิหาร Chartres Cathedral (ราว ค.ศ. 1145) รูปปั้นประกอบสถาปัตยกรรมนี้เป็นประติมากรรมศิลปะกอทิกตอนต้น ซึ่งแสดงวิวัฒนาการในรูปแบบเป็นแบบอย่างแก่ประติมากรรุ่นต่อมา ศิลปะกอทิกเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า"กอธิค" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนปลายของอิตาลี เรียกรูปแบบของศิลปะ ที่เกิดในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นผลงานของพวกกอท แฟรงก์ ลอมบาร์ค สลาฟ และแซกซัน ซึ่งต่างเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ไร้ความเจริญทางศิลปวิทยาการ ประการสำคัญ เป็นชนเผ่าที่ทำลายจักรวรรดิโรมันและถึงพร้อมด้านศิลปวิทยาการ ดังนั้นถ้อยสำเนียงหรือนัยยะ ที่ใช้เรียกว่า "ศิลปะกอทิก" จึงเป็นการเรียกขานที่บ่งบอกไปในทางเย้ยหยันมากกว่าการชื่นชม เมื่อเปรียบเทียบกับคุณค่าศิลปะแบบกรีก-โรมัน ที่มีกฎเกณท์ชัดเจน ซึ่งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาได้รื้อฟื้นกลับมาปรับใช้ในยุคสมัยของตน จนเรียกชื่อยุคว่าเรอเนซองค์ หรือฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หมายถึงย้อนกลับไปรื้อฟื้นศิลปวิทยาการแบบกรีก-โรมันขึ้นมาอีกนั้น จึงยิ่งส่งผลให้มองศิลปกรรมอันเกิดจากฝีมือของผู้ทำลายอาณาจักรโรมันยิ่งดูไร้คุณค่าไร้รสนิยมยิ่งขึ้น จนนักวิจารณ์บางคนในยุคเรอเนซองส์ใช้คำกล่าวหาศิลปะกอธิคค่อนข้างรุนแรงว่าเป็นศิลปะที่ "ไร้รสนิยม" และ"วิตถาร" อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวยุโรปทั่วไปนอกจากอิตาลีแล้ว มักจะเรียกศิลปกรรมกอธิคอย่างยอมรับมากกว่าจะดูแคลน โดยพวกเขาจะเรียกศิลปะกลุ่มนี้เป็นภาษาละตินว่า Opus Modernum หรืองานสมัยใหม่ ศิลปกรรมกอทิกเป็นศิลปะที่มีคุณค่าในตนเองอีกลักษณะรูปแบบหนึ่งของโลก ส่งผลต่อกระแสการหวนกลับไปสู่การชื่นชมและสร้างงานศิลปกรรมกอธิคอีกครั้งในศตวรรษที่ 18 ทั้งในยุโรปและอเมริกา จนกลายเป็นยุคที่เรียกว่า Gothic Revival.

ศิลปะกอทิกและอัมโบรโจ โลเรนเซตตี · ศิลปะกอทิกและแม่พระและพระกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอัมโบรโจ โลเรนเซตตี · สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแม่พระและพระกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมฝาผนัง

วาติกัน, โรม ประเทศอิตาลี จิตรกรรมฝาผนังโดยดิโอนิเซียส (Dionisius) เล่าเรื่องนักบุญนิโคลัส จิตรกรรมฝาผนัง จากมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” ของดานเตโดยโดเมนิโค ดิ มิเคลลิโน (Domenico di Michelino) ที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ จิตรกรรมฝาผนังจากบาวาเรียประเทศเยอรมนี “ที่ฝังศพของนักดำน้ำ” พบเมื่อปีค.ศ. 1968 (470 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จิตรกรรมฝาผนังจากอจันตา (Ajanta) คริสต์ศตวรรษที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังโคลาของนักรำที่ Brihadisvara Temple ประมาณ ค.ศ. 1100 จิตรกรรมฝาผนัง (ภาษาอังกฤษ: Mural painting) คือภาพเขียนหลายชนิดที่เขียนบนปูนบนผนังหรือเพดาน เทคนิคที่นิยมกัน คือ การวาดภาพบนผนังปูนปลาสเตอร์เปียก (fresco) โดยที่คำว่า “fresco” มาจากภาษาอิตาลี “affresco” ซึ่งมาจากคำว่า “fresco” หรือ “สด” รากศัพท์มาจากภาษาเยอรมัน.

จิตรกรรมฝาผนังและอัมโบรโจ โลเรนเซตตี · จิตรกรรมฝาผนังและแม่พระและพระกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

ซากรากอนแวร์ซาซีโอเน

ซากรากอนแวร์ซาซีโอเน (Sacra conversazione; Holy Conversation/Sacred Conversation) การสนทนาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นชื่อศิลปะศาสนาคริสต์แบบหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมกันในประเทศอิตาลีซึ่งองค์ประกอบของภาพจะมีแม่พระและพระกุมาร ท่ามกลางเหล่าเซนต์ ลักษณะองค์ประกอบที่ว่านี้เริ่มวาดกันในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่มาแทนบานพับภาพที่องค์ประกอบมีส่วนสัมพันธ์แบบทัศนียภาพกับช่องว่างภายในภาพ ตัวอย่างงานชิ้นแรก ๆ ที่ใช้การเขียนลักษณะนี้ก็ได้แก่งานของปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา หรืองานของฟราอันเจลีโก หรือฟีลิปโป ลิปปี.

ซากรากอนแวร์ซาซีโอเนและอัมโบรโจ โลเรนเซตตี · ซากรากอนแวร์ซาซีโอเนและแม่พระและพระกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อัมโบรโจ โลเรนเซตตีและแม่พระและพระกุมาร

อัมโบรโจ โลเรนเซตตี มี 23 ความสัมพันธ์ขณะที่ แม่พระและพระกุมาร มี 34 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 7.02% = 4 / (23 + 34)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อัมโบรโจ โลเรนเซตตีและแม่พระและพระกุมาร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »