เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อันดับสัตว์กีบคู่และแอดแดกซ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อันดับสัตว์กีบคู่และแอดแดกซ์

อันดับสัตว์กีบคู่ vs. แอดแดกซ์

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ. แอดแดกซ์ หรือ แอนทิโลปขาว หรือ แอนทิโลปเขาเกลียว (addax, white antelope, screwhorn antelope) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นแอนทิโลปชนิดหนึ่ง จำพวกแอนทิโลปปศุสัตว์ จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Addax โดยคำว่า "แอดแดกซ์" นั้นมาจากภาษาอาหรับแปลว่า "สัตว์ป่าเขาเบี้ยว" ขณะที่ชื่อชนิดทางวิทยาศาสตร์ nasomaculatus มาจากภาษาละตินแปลว่า "จมูกเป็นจุด" (nasus (หรืออุปสรรคว่า naso) หมายถึง "จมูก" และ macula หมายถึง "จุด" และหน่วยคำเติม atus) ขณะที่ชาวเบดูอินจะรู้จักแอดแดกซ์ดี โดยคำว่าแอดแดกซ์นั้นมาจากภาษาอาหรับเรียกว่า bakr (หรือ bagr) al wahsh หมายถึง วัว, ควาย หรือสัตว์กีบทั่วไป แอดแดกซ์มีความแตกต่างจากแอนทิโลปอื่น ๆ ที่มีฟันขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมและไร้ต่อมบนหน้า มีความสูงจากไหล่ 91–115 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 120–130 เซนติเมตร ความยาวหาง 25–35 เซนติเมตร น้ำหนัก 60–125 กิโลกรัม ตัวเมียขนาดเล็กกว่าตัวผู้ มีขนสีน้ำตาลเทาในฤดูหนาว และเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือสีซีดในฤดูร้อน มีขนสีน้ำตาลหรือดำรูปตัวเอ็กซ์บนจมูก ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขาทั้งคู่ ลักษณะเขาบิดเป็นเกลียวยาว 55–85 เซนติเมตร และมีการขด 2–3 ครั้ง มีกีบเท้าขนาดใหญ่เพื่อเดินบนพื้นทราย ที่กีบเท้าทั้งหมดมีต่อมกลิ่นอยู่ แต่เป็นสัตว์ที่มีความเชื่องช้าจึงมักตกเป็นเหยื่อของสัตว์นักล่าอยู่เสมอ ๆ เช่น หมาล่าเนื้อแอฟริกา, ไฮยีนา, ชีตาห์, เสือดาว, คาราคัล, เซอวัล โดยเป็นสัตว์ที่ไม่ก้าวร้าวแม้จะถูกรบกวนก็ตาม พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาเหนือ โดยเป็นสัตว์พื้นเมืองของชาด, มอริเตเนีย และไนเจอร์ ปัจจุบันนี้สูญพันธุ์ไปแล้วที่แอลจีเรีย, อียิปต์, ลิเบีย, ซูดาน และสะฮาราตะวันตก และกำลังได้รับการฟื้นฟูที่โมร็อกโกและตูนิเซีย ปัจจุบันเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตเนื่องจากพบน้อยกว่า 500 ตัว ในแถบทะเลทรายสะฮารา เป็นสัตว์ที่มีความอดทนอย่างมากจากการขาดน้ำเนื่องจากรับน้ำจากอากาศและพืชจำพวกพุ่มไม้หรืออาเคเชียที่กินเข้าไป อีกทั้งยังมีกระเพาะที่มีความพิเศษที่เก็บน้ำไว้ใช้ในคราวจำเป็น และปัสสาวะก็มีความเข้มข้นเป็นพิเศษ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืนโดยจะหลบนอนอยู่ตามร่มเงาของภูเขาทรายในเวลากลางวันและหลบพายุทะเลทราย แต่แอดแดกซ์เป็นสัตว์ที่มีอยู่จำนวนมากในสถานที่เลี้ยงหรือเขตอนุรักษ์ทางธรรมชาติในปัจจุบัน มีโครงการขยายพันธุ์ในหลายประเทศในหลายทวีป ทั้ง อิสราเอล, ญี่ปุ่น, อเมริกาเหนือ, ซูดาน, อียิปต์, ออสเตรเลี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อันดับสัตว์กีบคู่และแอดแดกซ์

อันดับสัตว์กีบคู่และแอดแดกซ์ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์วัวและควายสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

วงศ์วัวและควาย

วงศ์วัวและควาย เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bovidae จัดเป็นสัตว์กินพืช ลักษณะเด่นของสัตว์ในวงศ์นี้ จะมีเขาที่ไม่มีการแตกกิ่ง ไม่มีการหลุดหรือเปลี่ยนในตลอดช่วงอายุขัย มีกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ห้องหรือ 4 ส่วน และมีการหมักย่อย โดยการหมักของกระเพาะอาหารจะอาศัยแบคทีเรียในท่อทางเดินอาหาร โดยส่วนใหญ่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในกระเพาะอาหารจะอยู่ที่ 6.7+0.5 มีถุงน้ำดี นอกจากนั้นสัตว์ในตระกูลนี้สามารถสำรอก อาหารออกมาจากกระเพาะหมัก เพื่อทำการเคี้ยวใหม่ได้ ที่เรียกว่า "เคี้ยวเอื้อง" ลูกที่เกิดใหม่จะใช้เวลาไม่นานในการเดินและวิ่งได้ อันเนื่องจากการวิวัฒนาการเพื่อให้เอาตัวรอดจากสัตว์กินเนื้อที่เป็นผู้ล่าในห่วงโซ่อาหาร สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้ เป็นสัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยและผูกพันอย่างดีในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจและปศุสัตว์ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ เป็นต้น สำหรับสัตว์ป่า มีการกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย ในแอฟริกาและบางส่วนของทวีปเอเชีย จะมีบางชนิดที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับกวาง (Cervidae) เช่น อิมพาลาหรือแอนทีโลป แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นสัตว์ในวงศ์นี้.

วงศ์วัวและควายและอันดับสัตว์กีบคู่ · วงศ์วัวและควายและแอดแดกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และอันดับสัตว์กีบคู่ · สัตว์และแอดแดกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สัตว์มีแกนสันหลังและอันดับสัตว์กีบคู่ · สัตว์มีแกนสันหลังและแอดแดกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและอันดับสัตว์กีบคู่ · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและแอดแดกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อันดับสัตว์กีบคู่และแอดแดกซ์

อันดับสัตว์กีบคู่ มี 38 ความสัมพันธ์ขณะที่ แอดแดกซ์ มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 6.06% = 4 / (38 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อันดับสัตว์กีบคู่และแอดแดกซ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: