เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สัตว์กินเนื้อและเสือปลา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สัตว์กินเนื้อและเสือปลา

สัตว์กินเนื้อ vs. เสือปลา

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท. ือปลา หรือ เสือแผ้ว (ชื่อเรียกเสือปลาในตัวที่มีขนาดใหญ่; Fishing cat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็ก จัดเป็นแมวป่าขนาดกลาง รูปร่างอ้วนป้อม ขนตามลำตัวค่อนข้างสั้นและหนา ขนสีเทาอมน้ำตาล หรือขนสีเทาอมมะกอก มีจุดสีน้ำตาลเข้มแกมดำเรียงเป็นลายแนวขนานไปกับความยาวลำตัว โดยขนแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ซึ่งพัฒนามาเพื่อหากินกับน้ำโดยเฉพาะ ขนชั้นในสั้นเกรียนและแน่นมากจนน้ำซึมผ่านไม่ได้ ทำให้ตัวของเสือปลาแห้ง และช่วยรักษาความอบอุ่นเอาไว้ในขณะลงจับปลาในน้ำ ขนชั้นในสั้นกว่าขนชั้นนอก มีความหนาและยาวกว่าขนชั้นใน ขนชั้นนอกเป็นชั้นที่มีลวดลายและหนามันวาว หางยาวเพียงหนึ่งในสามของลำตัว มีพังผืดบาง ๆ ยึดระหว่างนิ้วเท้าหน้า ยังไม่พัฒนา เก็บเล็บไม่ได้เหมือนเสือชนิดอื่น ๆ เสือปลามีหัวขนาดใหญ่ หูสั้นมีกรอบสีดำ ดวงตาสีเขียว มีความยาวตั้งแต่หัวถึงลำตัว 70–90 เซนติเมตร หรือเกินกว่านั้น หางสั้น 20–30 เซนติเมตร น้ำหนัก 7–11 กิโลกรัม ขนาดของเสือปลาอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหารซึ่งก็คือความสมบูรณ์ของป่า ลูกเสือปลาขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายแมวดาว (P. bengalensis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันมาก มีการกระจายพันธุ์กว้างขวาง ในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น มักอาศัยใกล้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ เข่น ลำธาร, แม่น้ำ, ทะเลสาบ, ป่าชายเลน พบได้ตั้งแต่ตะวันตกเฉียงเหนือ, เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, และตะวันตกเฉียงใต้ ของอินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล, ภูฏาน, จีน, รัสเซีย, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เกาะสุมาตรา และเกาะชวา เสือปลามักอาศัยหากินอยู่ตามป่าเบญจพรรณ, ป่าพรุหรือป่าละเมาะ และป่าชายเลน เพราะอาหารหลัก คือ ปลา จึงเป็นที่มาของชื่อ สามารถจับปลาหรือสัตว์น้ำ เช่น อึงอ่าง, คางคก, กบ, เขียด, ปาด, ปลาไหล, ปู และสัตว์บกขนาดเล็ก เช่น หนู, กระรอก, กระต่าย, พังพอน, ชะมดเช็ด, ไก่ป่า และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น งู, นาก, ตุ่น, เป็ดน้ำ กินได้เก่งมาก โดยจะนั่งรอตะปบ หรือตะครุบปลาในแหล่งน้ำตื้น สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว โดยใช้ขาหลังตีน้ำ ปีนต้นไม้ได้เก่ง มักอยู่บนต้นไม้ แต่ไม่ทำรังอาศัยอยู่บนต้นไม้ มักทำรังอยู่ในโพรงใต้ต้นไม้ เสือปลามีการผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ตั้งท้อง 60–65 วัน ออกลูกในเดือนมีนาคม–เมษายน มีการผสมพันธุ์ช่วงเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน ออกลูกในเดือนกันยายน–ตุลาคม ออกลูกครั้งละ 1–4 ตัว 1–15 วันแรกตายังปิดอยู่ 55–60 วัน กินปลาหรือสัตว์น้ำและสัตว์บกขนาดเล็ก 120–180 วัน ยังไม่หย่านม จนเมื่ออายุได้ 10–12 เดือน แม่จะแยกจากไป เพื่อฝึกให้หากินเองลำพังตามธรรมชาติ บางครั้ง (บางปี) ฤดูร้อนอากาศแห้งแล้งฝนขาดช่วงตกเป็นระยะเวลานาน น้ำในแหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งขอด มีผลทำให้ปลาและสัตว์น้ำไม่มีที่อยู่อาศัย อาหารของเสือปลาหมดไป จึงทำให้ต้องออกจากป่ามาหาอาหารกินในเขตชุมชนมนุษย์ และอาศัยอยู่ใกล้กับชุมนุมมนุษย์ เช่น ในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร มีวัดแห่งหนึ่งชื่อ "วัดกระทุ่มเสือปลา" แสดงถึงในอดีตเคยมีเสือปลาชุกชุม ซึ่งในตัวขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเสือแผ้วอาจคุกคามปศุสัตว์ขนาดใหญ่ของมนุษย์ได้ เช่น ลูกวัว การเลี้ยงเพื่อให้เชื่องในสถานที่เลี้ยง ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเสือปลาเป็นสัตว์ป่าที่มีอุปนิสัยดุมาก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สัตว์กินเนื้อและเสือปลา

สัตว์กินเนื้อและเสือปลา มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์เสือและแมวสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

วงศ์เสือและแมว

วงศ์เสือและแมว (Cat, Felid, Feline) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภท เสือ, สิงโต, ลิงซ์ และแมว โดยทั้งหมดอยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) โดยปรากฏครั้งแรกในสมัยโอลิโกซีน เมื่อประมาณ 30 ล้านปีก่อน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Felidae.

วงศ์เสือและแมวและสัตว์กินเนื้อ · วงศ์เสือและแมวและเสือปลา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และสัตว์กินเนื้อ · สัตว์และเสือปลา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สัตว์กินเนื้อและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและเสือปลา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

สัตว์กินเนื้อและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและเสือปลา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สัตว์กินเนื้อและเสือปลา

สัตว์กินเนื้อ มี 38 ความสัมพันธ์ขณะที่ เสือปลา มี 47 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 4.71% = 4 / (38 + 47)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สัตว์กินเนื้อและเสือปลา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: