เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อันดับพะยูนและอันดับเทนเรค

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อันดับพะยูนและอันดับเทนเรค

อันดับพะยูน vs. อันดับเทนเรค

อันดับพะยูน เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sirenia เดิมที สัตว์ในอันดับนี้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับเดียวกับอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ด้วยเห็นว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล และมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1816 อ็องรี มารี ดูว์ครอแต เดอ แบล็งวีล นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นบุคคลแรกที่ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน คือ Paenungulata รวมถึงการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของพะยูนสกุล Eotheroides ที่พบในประเทศอียิปต์ พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น (ประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว) Eotheroides เป็นสัตว์มี 4 ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน อีกทั้ง แอนสท์ แฮคเคิล นักชีววิทยาชาวเยอรมันได้วิจัยเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยพบว่าตัวอ่อนของสัตว์ทั้งสองนี้มีโครงสร้างทางสรีระที่คล้ายกันมากจนในอดีตเมื่อ 40 ล้านปีก่อน ช้างและพะยูนมีต้นตระกูลร่วมกัน ถึงวันนี้มันก็ยังมีงวงและจมูกที่ใช้หายใจเหมือนกัน มีพฤติกรรมสืบพันธุ์ที่คล้ายคลึงกัน และเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน ปัจจุบัน พะยูนได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 วงศ์ คือ Dugongidae และTrichechidae แบ่งได้เป็น 2 สกุล 4 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในทะเลและแม่น้ำสายใหญ่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก กินอาหารจำพวก หญ้าทะเล, สาหร่ายและตะไคร่น้ำ เป็นอาหาร โดยพะยูนชนิดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา คือ วัวทะเลชเตลเลอร์ (Hydrodamalis gigas) ที่อยู่ในวงศ์ Dugongidae ที่มีความยาวถึง 7 เมตร แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อราว 300 ปีก่อน โดยคำว่า "Sirenia" นั้นมาจากคำว่า "ไซเรน" ซึ่งเป็นอสูรกายที่อาศัยอยู่ในทะเลในเทพปกรณัมกรีก. อันดับเทนเรค เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Afrosoricida (มาจากภาษากรีก-ละติน หมายความว่า "ดูคล้ายหนูผีแอฟริกา") ซึ่งอันดับนี้เดิมเคยถูกรวมกับสัตว์อื่นที่มีความใกล้เคียงกัน คือ อันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) รูปร่างลักษณะของสัตว์ในอันดับนี้จะเหมือนกับสัตว์จำพวกอื่นที่เคยถูกจัดรวมเป็นอันดับสัตว์กินแมลงเหมือนกันในอดีต เช่น ตุ่น, หนูผี, เฮดจ์ฮอก หรือแม้แต่กระทั่งผสมกันระหว่างนาก ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ กับหนูผีก็มี ซึ่งจากการศึกษาด้านพันธุกรรมและดีเอ็นเอพบว่า สัตว์ในอันดับนี้มีการวิวัฒนาการที่แยกออกไป จึงได้ถูกจัดแยกออกมาเป็นอันดับต่างหาก ซึ่งการที่มีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองแต่กลับมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับสัตว์ที่มีวิวัฒนาการที่แตกต่างออกไป การวิวัฒนาการเช่นนี้เรียกว่า "วิวัฒนาการแบบเข้าหากัน" พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา และเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งบรรพบุรุษของสัตว์ในอันดับนี้ก็เดินทางมาจากแผ่นดินใหญ่เหมือนกับลีเมอร์หรือสัตว์อื่น ๆ ที่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของเกาะมาดากัสการ์เช่นเดียวกันMadagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อันดับพะยูนและอันดับเทนเรค

อันดับพะยูนและอันดับเทนเรค มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ยูเธอเรียสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสปีชีส์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และอันดับพะยูน · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และอันดับเทนเรค · ดูเพิ่มเติม »

ยูเธอเรีย

ยูเธอเรีย (Infarclass Eutheria) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นชั้นฐานของเธอเรีย หมวดหมู่:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม.

ยูเธอเรียและอันดับพะยูน · ยูเธอเรียและอันดับเทนเรค · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และอันดับพะยูน · สัตว์และอันดับเทนเรค · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สัตว์มีแกนสันหลังและอันดับพะยูน · สัตว์มีแกนสันหลังและอันดับเทนเรค · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและอันดับพะยูน · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและอันดับเทนเรค · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

สปีชีส์และอันดับพะยูน · สปีชีส์และอันดับเทนเรค · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อันดับพะยูนและอันดับเทนเรค

อันดับพะยูน มี 33 ความสัมพันธ์ขณะที่ อันดับเทนเรค มี 23 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 10.71% = 6 / (33 + 23)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อันดับพะยูนและอันดับเทนเรค หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: