โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับปลาไหลนา

ดัชนี อันดับปลาไหลนา

อันดับปลาไหลนา (Swamp eel) เป็นอันดับของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยกระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Synbranchiformes มีรูปร่างโดยรวมเรียวยาวคล้ายปลาในอันดับปลาไหล (Anguilliformes) หรือปลาไหลแท้ ที่มีขนาดใหญ่กว่าและพบได้ในทะเลด้วย แต่ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็ก แบบบางเรียบ หรือบางชนิดไม่มีเกล็ด ขอบปากของขากรรไกรบนเจริญมาจากกระดูกพรีแม็กซิลลา และกระดูกแม็กซิลลา คู่ขนานกันกับกระดูกฮูเมอรัล อาร์คไม่สามารถยืดหดได้ มีฟันบนขากรรไกร และเพดานปาก ไม่มีครีบท้อง ช่องเปิดเหงือกมีขนาดเล็กอยู่ทางด้านล่างของส่วนหัว หรือบริเวณคอหอย มีกระดูกแกนเหงือก 3-4 อัน อาจมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ครีบเดี่ยวอาจเสื่อมไป หรือมีหนังคลุม อาจมีหรือไม่มีครีบคู่ ไม่มีกระเพาะลม เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ แผ่นหนังหุ้มกระดูกกระพุ้งแก้มเชื่อมต่อกับคอคอด ตามีขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และที่เกาะบอร์เนียว โดยแบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ คือ.

17 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งกระเพาะปลาการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามวงศ์ปลากระทิงวงศ์ปลาไหลนาสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์น้ำอันดับปลาไหลอันดับปลาไหลนาทะเลตาปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำกร่อยปลาน้ำจืดปลาไหลนา

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะปลา

กระเพาะปลา คือชื่อที่นิยมใช้เรียกถุงลมของปลาซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารต่าง ๆ ได้หลากหลายรูปแบบ ระดับราคาขึ้นอยู่กับชนิดของกระเพาะปลาที่มีหลากหลายชนิดโดยเฉพาะกระเพาะปลาที่ได้มาจากปลาน้ำลึกที่อยู่ในตระกูลของปลากุเลาจะมีราคาแพงมาก กระเพาะปลานอกจากจะอยู่ในรูปแบบกระเพาะปลาแห้งแล้วยังอยู่ในรูปแบบของกระเพาะปลาสดอีกด้วยรูปแบบของอาหารที่นิยมปรุงกันเช่น กระเพาะปลาน้ำแดง กระเพาะปลาผัดแห้ง ฯลฯ ถุงลมของปลาเป็นอวัยวะส่วนที่นุ่มและอร่อย เมื่อนำมาปรุงรส การนำถุงลมมาแปลงโฉมเป็นกระเพาะปลา จะต้องลอกเอาเส้นเลือดและกล้ามเนื้อออกให้หมดแล้ว จึงนำไปทอดให้พองสวยน่ารับประทาน กระเพาะปลามีหลายระดับราคาแล้วแต่ความอร่อย และขนาดของกระเพาะปลา ปกติจะได้จากถุงลมของปลามังกร ปลาจวด ปลากระพง ปลาริวกิว กระเพาะปลาที่มีราคาแพงคือ กระเพาะปลามังกร (เหมี่ยนฮื่อ) ซึ่งช่วยบำรุงและเพิ่มกำลังวังชาได้เป็นอย่างดี ส่วนที่เราได้รับประทานกันบ่อย ๆ นั้นก็คือ กระเพาะปลากระพง เวลาที่ไปซื้อกระเพาะปลาที่ราคาถูกมาทานนั้น มักจะสงสัยกันว่า ใช่กระเพาะปลาจริง ๆ หรือเปล่านั้น หลายร้านใช้หนังหมูแห้งมาทำเป็นกระเพาะปลาแทน ไม่ใช่กระเพาะปลาที่ทำมาจากถุงลมของปลา แต่เป็นกระเพาะปลาเทียม หมวดหมู่:อวัยวะ หมวดหมู่:อาหาร หมวดหมู่:มีนวิทยา.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและกระเพาะปลา · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระทิง

วงศ์ปลากระทิง เป็นวงศ์ปลาในอันดับ Synbranchiformes พบในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีรูปร่างคล้ายปลาไหล แต่ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นแหลม ปากเล็ก จะงอยปากและปลายจมูกเป็นงวงแหลมสั้นปลายแฉก ตาเล็ก ครีบอก ครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางเล็ก ด้านหลังมีก้านครีบแข็งสั้นแหลมคมอยู่ตลอดตอนหน้า มีเกล็ดเล็ก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Mastacembelidae (/มาส-ทา-เซม-เบล-อิ-ดี้/) อาศัยอยู่ใกล้พื้นท้องน้ำหรืออยู่ในโพรงไม้และรากไม้ หรือฝังตัวอยู่ใต้กรวดหรือพื้นทราย พบทั้งหมดประมาณ 27 ชนิด ใน 3 สกุล (ดูในตาราง) กินอาหารจำพวก กุ้งฝอยและปลาขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และที่เกาะบอร์เนียว พบในประเทศไทยประมาณ 12 ชนิด โดยมีชนิดที่รู้จักกันดี คือ ปลาหลด (Macrognathus siamenis) และ ปลากระทิง (Mastacembelus armatus) นิยมใช้เป็นปลาเพื่อการบริโภค เนื้อมีรสอร่อย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและตกเป็นเกมกีฬาด้ว.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและวงศ์ปลากระทิง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาไหลนา

วงศ์ปลาไหลนา (Swamp eel, Amphibious fish; কুঁচেমাছ) เป็นวงศ์ปลากินเนื้อ พบในน้ำจืดและน้ำกร่อยของทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา โดยกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเขตอบอุ่น พบตั้งแต่พื้นที่ชุ่มน้ำและถ้ำในทวีปแอฟริกา, ตะวันออกกลาง, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงโซนโอเชียเนีย ใช้ชื่อวงศ์ว่า Synbranchidae (/ซิน-แบรน-ชิ-ดี้/) โดยพบอยู่ทั้งหมด 18 ชนิด มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายงู ตามีขนาดเล็ก มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นเส้นเลือดฝอยในคอหอย ไม่มีครีบหรืออวัยวะใด ๆ ที่ช่วยในการว่ายน้ำ เว้นแต่บริเวณปลายหางจะแผนแบนคล้ายใบพาย ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด มีลำตัวลื่นมาก เพราะมีเมือกเยอะ เกล็ดมีขนาดเล็กฝังในลำตัว เมื่อยังเล็กจะมีครีบอก เมื่อโตขึ้นจะหายไป เป็นปลาที่สามารถ เปลี่ยนเพศได้ (Hermphrodite) โดยช่วงแรกจะเป็นเพศเมีย และจะกลายเป็นเพศผู้เมื่อโตขึ้น ด้านน้ำหนักเพศเมียจะมีน้ำหนักตั้งแต่ 100-300 กรัม เพศผู้มีน้ำหนักมากกว่า 400 กรัม ออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อเป็นอาหาร โดยสามารถกินอาหารได้หลากหลาย แม้กระทั่งซากสัตว์หรือซากพืชที่เน่าเปื่อย มีพฤติกรรมขุดรูอยู่ในพื้นโคลนตม หรือตามตลิ่งน้ำ ชอบรวมตัวกันอาหาร เป็นปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ในทุกสิ่งแวดล้อม ในฤดูร้อน สามารถขุดรูลึกลงไป 1-1.2 เมตร เพื่อจำศีลได้ สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 3 ชนิด คือ.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและวงศ์ปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและอันดับปลาไหล · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหลนา

อันดับปลาไหลนา (Swamp eel) เป็นอันดับของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยกระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Synbranchiformes มีรูปร่างโดยรวมเรียวยาวคล้ายปลาในอันดับปลาไหล (Anguilliformes) หรือปลาไหลแท้ ที่มีขนาดใหญ่กว่าและพบได้ในทะเลด้วย แต่ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็ก แบบบางเรียบ หรือบางชนิดไม่มีเกล็ด ขอบปากของขากรรไกรบนเจริญมาจากกระดูกพรีแม็กซิลลา และกระดูกแม็กซิลลา คู่ขนานกันกับกระดูกฮูเมอรัล อาร์คไม่สามารถยืดหดได้ มีฟันบนขากรรไกร และเพดานปาก ไม่มีครีบท้อง ช่องเปิดเหงือกมีขนาดเล็กอยู่ทางด้านล่างของส่วนหัว หรือบริเวณคอหอย มีกระดูกแกนเหงือก 3-4 อัน อาจมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ครีบเดี่ยวอาจเสื่อมไป หรือมีหนังคลุม อาจมีหรือไม่มีครีบคู่ ไม่มีกระเพาะลม เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ แผ่นหนังหุ้มกระดูกกระพุ้งแก้มเชื่อมต่อกับคอคอด ตามีขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และที่เกาะบอร์เนียว โดยแบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ คือ.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและอันดับปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและตา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำกร่อย

ปลาชะลิน(''Chanos chanos'') ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ (Amphidromous fish) คือ ปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง ปลาน้ำกร่อย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและปลาน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลนา

ปลาไหลนา หรือ ปลาไหลบึง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monopterus albus อยู่ในวงศ์ปลาไหลนา (Synbranchidae) มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายงู ตามีขนาดเล็ก คอป่องออก มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ในคอหอยเป็นเส้นเลือดฝอย ซึ่งช่วยให้หายใจได้โดยไม่ต้องผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนปลาทั่วไป และยังสามารถขุดรูในดินเพื่อจำศีลในช่วงฤดูร้อนได้ด้วย ไม่มีครีบใด ๆ ยกเว้นบริเวณปลายหางแบนยาวคล้ายใบพาย เมื่อยังเล็กมีครีบอก แต่โตขึ้นจะหายไป กระดูกเหงือกมีทั้งหมด 3 คู่ ลำตัวลื่นมาก สีลำตัวปกติเป็นสีเหลืองทอง ใต้ท้องสีขาว ในบางตัวอาจมีจุดกระสีน้ำตาล แต่ก็มีพบมากที่สีจะกลายไป เป็นสีเผือก สีทองทั้งตัว หรือสีด่าง มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.01 เมตร ปลาไหลนา จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาไหลนาที่พบมากที่สุดในประเทศไทยและเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย โดยพบได้ทุกภาค ทุกแหล่งน้ำ พบชุกชุมทั่วไป สำหรับในต่างประเทศพบกว้างขวางมาก ตั้งแต่อเมริกากลาง, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปแอฟริกา, ประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยกินได้แม้กระทั่งซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย มีพฤติกรรมชอบรวมตัวกันหาอาหาร เมื่อยังเล็กจะเป็นตัวเมีย และจะกลายเป็นตัวผู้เมื่อโตขึ้น ผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน และมีความสมบูรณ์สูงสุดในการวางไข่ คือ เดือนสิงหาคม โดยไข่จะมีเพียง 1 ฝัก เป็นลักษณะไข่จมไม่สัมผัสกับวัสสุใด ๆ ใต้น้ำ เมื่อสัมผัส จะมีความยืดหยุ่นมาก มีลักษณะสีเหลืองสดใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร ไข่ที่ได้รับการผสมมีลักษณะกลม สีเหลืองทอง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวใส ไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 3 วัน ลูกปลาเมื่อฟักออกใหม่ ๆ มีความยาว 2.5 เซนติเมตร มีถุงไข่แดง 2 ใน 3 ส่วน และมีครีบอกเมื่ออายุได้ 5 - 6 วัน ถุงไข่แดงยุบพร้อมครีบอกหายไป และเริ่มกินอาหารได้ เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะนิยมบริโภคกันมาแต่โบราณ อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกว่า หากปล่อยปลาไหลนาแล้วจะช่วยให้ทุกข์โศกไหลไปตามชื่อ ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์ โดยนิยมเลี้ยงในบ่อปูน ในปลาที่มีสีกลายออกไป นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: อันดับปลาไหลนาและปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SymbranchiiSynbranchiformes

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »