เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลากะพง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลากะพง

อันดับปลากะพง vs. อันดับย่อยปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง). อันดับย่อยปลากะพง (Bass, Perch, Snapper, Trevally) เป็นอันดับย่อยของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) จัดเป็น 1 ใน 18 อันดับย่อยของอันดับนี้ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Percoidei เป็นปลาส่วนใหญ่ในอันดับนี้ พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย, ทะเล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลากะพง

อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลากะพง มี 25 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชั้นปลากระดูกแข็งการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์วงศ์ปลากะพงขาววงศ์ปลากะพงดำวงศ์ปลากะพงปากกว้างวงศ์ปลากะพงแดงวงศ์ปลากะรังวงศ์ปลาสินสมุทรวงศ์ปลาหางแข็งวงศ์ปลาอมไข่วงศ์ปลาผีเสื้อวงศ์ปลาแป้นแก้ววงศ์ปลาใบโพวงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำวงศ์ปลาเสือตอวงศ์ปลาเฉี่ยวสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับย่อยปลากะพงทะเลปลาที่มีก้านครีบปลาใบขนุนน้ำกร่อยน้ำจืด

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ชั้นปลากระดูกแข็งและอันดับปลากะพง · ชั้นปลากระดูกแข็งและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และอันดับปลากะพง · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงขาว

วงศ์ปลากะพงขาว (Perch) วงศ์ปลาวงศ์หนึ่ง เป็นปลากินเนื้อในอันดับ Perciformes พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล พบกระจายในภูมิภาคเขตร้อนตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงทวีปเอเชีย ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Latidae (/เลท-ที-เด-อา/) มีทั้งหมด 11 ชนิด ใน 3 สกุล ได้แก.

วงศ์ปลากะพงขาวและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลากะพงขาวและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงดำ

วงศ์ปลากะพงดำ (Tripletail) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง ใช้ชื่อว่า Lobotidae ซึ่งคำว่า Lobotidae มาจากภาษากรีกคำว่า "Lobo" หมายถึง ก้านครีบ ลักษณะของปลาในวงศ์นี้ ลักษณะลำตัวแบนค่อนข้างลึก ความยาวหัวจะสั้นกว่าความลึกลำตัว ปากกว้างเฉียงขึ้น มุมปากจะอยู่แนวเดียวกับปุ่มกลางนัยน์ตา ครีบหลังจะเป็นก้านครีบเดี่ยวเป็นซี่ปลายแหลมประมาณ 11-13 ก้าน และก้านครีบแขนง 13-16 ก้าน ส่วนครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางขนาดใกล้เคียงกันดูเหมือนจะมีครีบหาง 3 ครีบ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ มีลักษณะเด่นอีกประการ คือ มีสีลำตัวที่ดูเลอะเปรอะเปื้อนเพื่อใช้ในการอำพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม โดยปลาในวงศ์นี้มักจะอยู่ลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ โดยใช้ส่วนหัวทิ่มลงกับพื้น และมักแอบอยู่ตามวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ เช่น ซากเรือจม, กองหิน หรือ ขอนไม้ และขณะเป็นลูกปลาวัยอ่อนมักจะลอยตัวนิ่ง ๆ ดูเหมือนใบไม้อีกด้วย โดยมักพบตามปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด และมีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น ได้แก.

วงศ์ปลากะพงดำและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลากะพงดำและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงปากกว้าง

วงศ์ปลากะพงปากกว้าง (Bluegill, Sunfish, Largemouth bass; วงศ์: Centrarchidae) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Centrarchidae เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือตลอดจนบางส่วนเม็กซิโกส่วนที่ติดกับสหรัฐอเมริกา เป็นปลาที่มีความแตกต่างกันมากในขนาดรูปร่าง ตั้งแต่มีขนาดเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 1 เมตร ในปลากะพงปากกว้าง (Micropterus salmoides) พบประมาณ 27 ชนิด เป็นปลาที่ตัวผู้เป็นฝ่ายดูแลไข่ จนกระทั่งฟักเป็นตัวเป็นลูกปลา จนกระทั่งลูกปลาเริ่มดูแลตัวเองได้ นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา มีการนำไปปล่อยตามที่ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แหล่งกำเน.

วงศ์ปลากะพงปากกว้างและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลากะพงปากกว้างและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงแดง

วงศ์ปลากะพงแดง หรือ วงศ์ปลากะพงข้างปาน (วงศ์: Lutjanidae, Snapper) เป็นวงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีลักษณะคือ มีครีบหลังยาวต่อเนื่องไปจนถึงโคนหาง แบ่งเป็นครีบแข็ง 10-12 ซี่ ครีบอ่อน 10-17 ซี่ ครีบก้นที่เป็นครีบอ่อน 7-11 ซี่ ส่วนหัวใหญ่ ปากมีลักษณะกว้างยาว ยืดหดได้ ฟันมีลักษณะเล็กแหลมคมและมีหลายแถวในขากรรไกร ซึ่งบางชนิดอาจมีฟันเขี้ยวได้เมื่อโตเต็มที่ ริมฝีปากหนา พบทั้งหมด 17 สกุล มีมากกว่า 160 ชนิด โดยมีสกุลใหญ่คือ Lutjanus โดยพบในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถปรับตัวให้อาศัยและหากินในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ เช่น ปลากะพงแดง (Lutjanus argentimaculatus) หรือ ปลากะพงข้างปาน (L. russellii) เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เนื่องด้วยเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญจำพวกหนึ่ง และนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ในน่านน้ำไทยพบประมาณ 25 ชนิด สำหรับชื่อสามัญในภาษาแต้จิ๋วจะเรียกว่า "อังเกย" (紅鱷龜).

วงศ์ปลากะพงแดงและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลากะพงแดงและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะรัง

วงศ์ปลากะรัง หรือ วงศ์ปลาเก๋า (Groupers, Sea basses) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง จัดเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ (ดูในเนื้อหา) พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Serranidae เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัว และครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะโปร่งใส มีเกล็ดขนาดเล็กเป็นแบบเรียบและแบบสาก ปากกว้าง มีฟันเล็กบนขากรรไกร เพดานปาก มีฟันเขี้ยวด้านหน้า ครีบท้องมีตำแหน่งอยู่ใต้หรืออยู่หน้าหรืออยู่หลังครีบอก มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 หรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม คือ ปลาหมอทะเล (Epinephelus lanceolatus) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในวงศ์นี้ ในบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย เช่น ปลากะรังจุดน้ำตาล (E. malabaricus) ในวัยเล็กจะเป็นเพศเมีย แต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะกลายเป็นเพศผู้ สำหรับปลาที่พบในทะเล มักมีพฤติกรรมชอบตามลำพังหรือเป็นคู่เพียงไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหากินในเวลากลางคืน สามารถพบได้จนถึงบริเวณปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยหลายชนิดนิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ (E. tauvina) หรือ ปลาเก๋าเสือ (E. fuscoguttatus) เป็นต้น จึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาอาชีพ โดยนิยมเลี้ยงในกระชัง มีชื่อสามัญในภาษาไทยอื่น ๆ เช่น "ปลาเก๋า" หรือ "ปลาตุ๊กแก".

วงศ์ปลากะรังและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลากะรังและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสินสมุทร

วงศ์ปลาสินสมุทร (Angelfish, Marine angelfish) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthidae (/โป-มา-แคน-ทิ-ดี้/) ปลาสินสมุทรนั้นมีรูปร่างและสีสันโดยรวมคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) บางสกุล เช่น Chaetodon กล่าวคือ มีรูปร่างแบนข้างเป็นทรงรีหรือรูปไข่ในแนวนอน ปากมีขนาดเล็กมีริมฝีปากหนา เกล็ดเล็กละเอียดกลม ไม่มีหนามที่ขอบตาด้านหน้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาในวงศ์นี้ เส้นข้างลำตัวโค้งและสมบูรณ์ ครีบท้องและครีบทวารมนกลม ก้านครีบแข็งค่อนข้างจะยาวกว่าก้านครีบอ่อน โดยก้านครีบอันแรกของครีบเอวจะยาวมาก ครีบหางมีลักษณะเป็นหางตัดหรือมนกลม ปลาสินสมุทรจัดเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังวงศ์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ คือ มีขนาดตั้งแต่ 10-40 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามช่วงวัย มีอาณาบริเวณหากินค่อนข้างชัดเจน อีกทั้งเป็นปลาที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ ซ้ำยังมักว่ายน้ำเข้าหามาเมื่อมีผู้ดำน้ำลงไปในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย โดยอาศัยและหากินในแนวปะการังเป็นหลัก แต่ก็มีบางชนิดที่หากินลึกลงไปกว่านั้นเป็นร้อยเมตร ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่นเดียวกับปลาการ์ตูนหรือปลาผีเสื้อ อันเนื่องจากสีสันที่สวยงาม พบทั้งหมด 9 สกุล (ดูในตาราง) มีประมาณ 74 ชนิด ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ (Pomacanthus imperator), ปลาสินสมุทรวงฟ้า (P. annularis) และปลาสินสมุทรลายบั้ง (P. sexstriatus) เป็นต้น.

วงศ์ปลาสินสมุทรและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลาสินสมุทรและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหางแข็ง

วงศ์ปลาหางแข็ง (Jacks, Pompanos, Horse mackerels, Scads, Trevallies, Crevallies, Tunas) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Carangidae มีรูปร่างลำตัวสั้นหรือค่อนข้างสั้น คอดหางเรียว มีเกล็ดขนาดเล็กแบบราบเรียบ เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ มีเกล็ดแปรรูปขนาดใหญ่ที่บริเวณเส้นข้างลำตัว โดยเฉพาะบริเวณข้อหางเสมือนเกราะ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ส่วนหน้าโค้งงอ ส่วนท้ายอาจมีหรือไม่มีสันกระดูกแข็ง ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือกยาวเรียวครีบหลังมีสองตอนแยกจากกัน ครีบแรกมีเงี่ยงไม่แข็ง บริเวณหน้าครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2 อัน แยกออกมาจากครีบก้น ซึ่งสามารถพับได้ ครีบอกยาวเรียวโค้งแบบรูปเคียว ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก, แอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย ปลาขนาดเล็กจะอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่ง หรือตามแหล่งน้ำจืดหรือน้ำกร่อยใกล้ทะเล เช่น ปากแม่น้ำ, ชะวากทะเล เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 25-100 เซนติเมตร ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ 2 เมตร แบ่งออกเป็น 30 สกุล ประมาณ 151 ชนิด จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างมากวงศ์หนึ่ง โดยมีการนำไปบริโภคทั้งสด และแปรรูปเป็น ปลากระป๋อง (โดยเฉพาะใช้แทนปลาในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae), ปลาเค็ม เป็นต้น ในน่านน้ำไทย มีหลายชนิด โดยชนิดที่สำคัญ ๆ และเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ปลาสำลี (Seriolina nigrofasciata), ปลาหางแข็ง (Megalaspis cordyla), ปลาหางแข็งบั้ง (Atule mate), ปลาข้างเหลือง (Selaroides leptolepis), ปลากะมง (Caranx sp.), ปลาโฉมงาม (Alectis sp.) และปลาจะละเม็ดดำ (Parastromateus niger) เป็นต้น.

วงศ์ปลาหางแข็งและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลาหางแข็งและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาอมไข่

ปลาอมไข่ หรือ ปลาคาร์ดินัล (Cardinalfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apogonidae อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) เป็นปลาที่มีลำตัวค่อนข้างยาว แบนข้าง เกล็ดมีขนาดใหญ่ หลุดง่าย มีทั้งแบบขอบบางเรียบและเกล็ดสาก ปากค่อนข้างกว้าง เฉียงลง ส่วนมากมีฟันแบบวิลลีฟอร์มบนขากรรไกร มีบางชนิดที่มีฟันเขี้ยวคู่หนึ่งที่รอยต่อของขากรรไกร ครีบหลังทั้งสองครีบแยกจากกันอย่างเห็นได้ชัด ครีบท้องอยู่ในตำแหน่งอก ไม่มีเกล็ดอซิลลารี ครีบหางเว้า ตัดตรง หรือกลม เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงในชายทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในบางครั้งอาจพบได้ตามปากแม่น้ำ, ชะวากทะเล ที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ เป็นปลาขนาดเล็กที่มีความสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม บางชนิดสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว ที่ได้ชื่อว่าปลาอมไข่ เนื่องจากเป็นปลาที่เมื่อผสมพันธุ์วางไข่แล้ว ปลาตัวผู้จะอมไข่ไว้ในปาก จนกระทั่งลูกปลาฟักออกมาเป็นตัว และอาจจะเลี้ยงลูกปลาและอมไว้ต่อไปจนกว่าลูกปลาจะโตแข็งแรงพอที่จะดูแลตัวเองได้.

วงศ์ปลาอมไข่และอันดับปลากะพง · วงศ์ปลาอมไข่และอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาผีเสื้อ

วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, Butterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็ง อันดับปลากะพง (Perciformes) ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1764 เมื่อมีการส่งตัวอย่างปลาในยังกรุงลอนดอนเพื่อลงรูปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ปรากฏเป็นภาพของปลาผีเสื้อนกกระจิบ และถูกบรรยายว่าสามารถพ่นน้ำจับแมลงกินเป็นอาหารได้ จึงถูกกล่าวอ้างต่อมาอย่างผิด ๆ อีกนาน.

วงศ์ปลาผีเสื้อและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลาผีเสื้อและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแป้นแก้ว

ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาแป้น วงศ์ปลาแป้นแก้ว (วงศ์: Ambassidae อดีตเคยใช้ Chandidae; Asiatic glassfish) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง พบทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล มีลักษณะโดยรวมมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัวโต ตาโต ปากกว้าง ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้ามแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวโดยมากเป็นสีใสหรือขุ่นจนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงิน เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย มีทั้งหมด 8 สกุล 49 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบในน้ำจืด 5 ชนิด โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis) และชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาแป้นแก้วยักษ์ (P. wolffii) มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมว่า "แป้นแก้ว" หรือ "แป้นกระจก" หรือ "กระจก" หรือ "ข้าวเม่า" ในภาษาถิ่นเหนือเรียกว่า "แว่น" ในภาษาอีสานเรียกว่า "คับของ" หรือ "ปลาขี้ร่วง" มีความสำคัญคือเป็นปลาเศรษฐกิจใช้บริโภคในพื้นถิ่น เช่น บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง โดยทำปลาแห้งและบริโภคสด อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมักฉีดสีเข้าในลำตัวปลา เป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีเหลือง, สีส้ม, สีน้ำเงิน และเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามว่า "ปลาเรนโบว์" หรือ "ปลาสายรุ้ง" ซึ่งเมื่อเลี้ยงนานเข้า สีเหล่านี้จะหลุดหายไปเอง โดยที่ปลาไม่ได้รับอันตร.

วงศ์ปลาแป้นแก้วและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลาแป้นแก้วและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาใบโพ

วงศ์ปลาใบโพ (Sicklefish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Drepaneidae มีลักษณะลำตัวป้อมสั้นเกือบกลม ด้านข้างแบนข้างมาก หัวใหญ่ จะงอยปากสั้น ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นส่วนเงี่ยงแข็งมีทั้งหมด 13-14 ก้าน ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีทั้งหมด 19-22 ก้าน ครีบก้นมีทั้งหมด 3 ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน 17-19 ก้าน ครีบอกยาวกว่าความโค้งของส่วนหัว พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบอินโด-แปซิฟิกและแอฟริกาตะวันออก มีทั้งหมด 3 ชนิด เพียงสกุลเดียว.

วงศ์ปลาใบโพและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลาใบโพและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้

วงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้ (Leaffish) เป็นวงศ์ปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Polycentridae.

วงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้และอันดับปลากะพง · วงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้และอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ

วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Archer fishes) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับ Perciformes ใช้ชื่อวงศ์ว่า Toxotidae (/ท็อก-ออท-อิ-ดี้/; มาจากคำว่า "Toxots" เป็นภาษากรีกหมายถึง "นักยิงธนู").

วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเสือตอ

วงศ์ปลาเสือตอ (Siamese tiger fishes) เป็นปลากระดูกแข็งจัดอยู่ในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Datnioididae (/แดท-นี-โอ-นอย-เด-อา/) และมีเพียงสกุลเดียว คือ Datnioides (/แดท-นี-โอ-นอย-เดส/).

วงศ์ปลาเสือตอและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลาเสือตอและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเฉี่ยว

วงศ์ปลาเฉี่ยว (วงศ์: Monodactylidae) เป็นวงศ์ปลาจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) เป็นปลาที่มีรูปร่างโดยรวมคือ แบนข้างมากเป็นรูปสี่เหลี่ยม หัวเล็ก ปากมีขนาดเล็ก ครีบหลังและครีบท้องคม ครีบอกและครีบหางสั้น มีลายพาดสีดำบริเวณหางและช่องปิดเหงือก ตากลมโต เกล็ดเล็กละเอียดมาก ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยเป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ที่สุดไม่เกินฝ่ามือของมนุษย์ อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือปากแม่น้ำ สามารถปรับตัวให้อาศัยได้ทั้งน้ำเค็ม-น้ำกร่อย-น้ำจืด ได้เป็นอย่างดี แพร่พันธุ์โดยการวางไข่ในบริเวณที่เป็นน้ำจืดหรือมีปริมาณความเค็มน้อย โดยปลาตัวเมียจะวางไข่ก่อนที่ปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อผสม ก่อนที่ลูกปลาจะค่อย ๆ เติบโตและอพยพไปอยู่ในบริเวณที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง พบในทะเลแถบเขตร้อนอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงออสเตรเลีย มีทั้งหมด 2 สกุล 6 ชน.

วงศ์ปลาเฉี่ยวและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลาเฉี่ยวและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และอันดับปลากะพง · สัตว์และอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สัตว์มีแกนสันหลังและอันดับปลากะพง · สัตว์มีแกนสันหลังและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลากะพง

อันดับย่อยปลากะพง (Bass, Perch, Snapper, Trevally) เป็นอันดับย่อยของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) จัดเป็น 1 ใน 18 อันดับย่อยของอันดับนี้ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Percoidei เป็นปลาส่วนใหญ่ในอันดับนี้ พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย, ทะเล.

อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลากะพง · อันดับย่อยปลากะพงและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ทะเลและอันดับปลากะพง · ทะเลและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ปลาที่มีก้านครีบและอันดับปลากะพง · ปลาที่มีก้านครีบและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาใบขนุน

ปลาใบขนุน หรือที่นิยมเรียกและรู้จักกันในชื่อภาษาแต้จิ๋วว่า ปลาอังนั้ม (乳香鱼; False trevally, Milkfish, Whitefish, Butterfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactarius lactarius อยู่ในวงศ์ Lactariidae เป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้และวงศ์นี้ มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายกับปลาทู ซึ่งอยู่ในวงศ์ Scombridae คือ มีลำตัวป้อม แบนข้าง หัวโตปากกว้างและเชิดขึ้น มีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงกันเป็นแผงอยู่บนขากรรไกรเพดานและลิ้น เกล็ดเป็นแบบบางเรียบขนาดใหญ่และหลุดง่าย มีครีบหลัง 2 ตอน ตอนที่ 2 ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่ง อยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย มีลำตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบนของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำดูเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน และมีสีน้ำเงินแทรกด้านหลังและท้องบริเวณหลัง เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มักหากินตามชายฝั่งซึ่งบางครั้งอาจพบได้ในแถบน้ำกร่อย มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 40 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป คือ 15-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ตอนใต้ทะเลญี่ปุ่น, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ และฟิจิ ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ปลาใบขนุนที่ตลาดสดของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง เนื้อมีรสชาติดี นิยมนำมาบริโภคด้วยการปรุงสด ปลาใบขนุนยังมีมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น "ปลาขนุน", "ปลาซับขนุน", "ปลาสาบขนุน" หรือ "ปลาญวน" เป็นต้น.

ปลาใบขนุนและอันดับปลากะพง · ปลาใบขนุนและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

น้ำกร่อยและอันดับปลากะพง · น้ำกร่อยและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

น้ำจืดและอันดับปลากะพง · น้ำจืดและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลากะพง

อันดับปลากะพง มี 48 ความสัมพันธ์ขณะที่ อันดับย่อยปลากะพง มี 46 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 25, ดัชนี Jaccard คือ 26.60% = 25 / (48 + 46)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลากะพง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: