โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อะลูมิเนียมและเงิน (โลหะ)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อะลูมิเนียมและเงิน (โลหะ)

อะลูมิเนียม vs. เงิน (โลหะ)

มื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass). งิน (silver) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 47 และสัญลักษณ์คือ Ag (άργυρος árguros, Argentum) เงินเป็นโลหะทรานซิชันสีขาวเงิน มีสมบัติการนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดีมาก ในธรรมชาติอาจรวมอยู่ในแร่อื่นๆ หรืออยู่อิสระ เงินใช้ประโยชน์ในการทำเหรียญ เครื่องประดับ ภาชนะบนโต๊ะอาหาร และอุตสาหกรรมการถ่ายรูป มีผู้ค้นพบคือ โรเบิร์ต แบนฟอตร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อะลูมิเนียมและเงิน (โลหะ)

อะลูมิเนียมและเงิน (โลหะ) มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กระจกทองคำทองแดงเหล็ก

กระจก

กระจกมักถูกใช้ในงานสถาปัตยกรรม กระจก หมายถึงวัสดุที่ทำมาจากแก้ว ซึ่งมีองค์ประกอบหลักทางเคมีคือซิลิคอน ซึ่งสามารถหลอมและนำไปขึ้นรูปได้ เมื่อเย็นตัวแล้วมีลักษณะ โปร่งใส และเป็นของแข็งโดยไม่จับผลึก (มีค่าความหยัดตัวสูง) กระจกจึงสามารถแตกได้เหมือนแก้ว และมีความคมมากกว่าแก้วเมื่อแตกเพราะมีความบางในการผลิต ความแตกต่างในการใช้คำเมื่อเทียบกับคำว่าแก้วคือ กระจกจะใช้เรียกแก้วที่นำมาทำให้เป็นแผ่น โดยมีลักษณะแบนราบและมีความหนาประมาณหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ กระจกเป็นลักษณะการผลิตวัสดุประเภทแก้วที่ทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานต่างๆ เช่น เพื่อเป็นวัสดุกั้นขวางที่ไม่ทึบแสง ใช้เพื่อเป็นฉนวนกั้น ใช้เพื่อประดับตบแต่งอาคาร ฯลฯ ในบางความต้องการใช้ กระจกถูกนำไปปรับคุณสมบัติต่อเพื่อให้มีคุณลักษณะบางอย่าง เช่น ฉาบปรอทที่ด้านๆหนึ่งเพื่อให้มีคุณสมบัติสะท้อนแสงเรียกว่า กระจกเงา หรือผสมสารชนิดอื่นลงไปในเนื้อสารให้มีสีสันหรือความทึบแสงบางส่วนหรือทั้งหมดเรียกว่า กระจกสี กระจกทึบ หรือกระจกควัน หรือนำไปพ่นทรายลงบนพื้นผิวเพื่อให้เกิดความไม่สม่ำเสมอของความเรียบบนผิวทำให้แสงผ่านได้แต่มีลักษณะมัวๆเรียกว่า กระจกฝ้า เนื่องจากกระจกคือวัสดุประเภทแก้วซึ่งมีความโปร่งใสมากและยังมีค่าดรรชนีหักเหของแสงที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงมีการนำไปสร้างเป็นวัสดุที่มีความหนาไม่สม่ำเสมอแต่มีลักษณะเฉพาะ เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า เลนส์ (lens) เช่น มีสัณฐานกลมเหมือนเหรียญที่เว้าเข้าตรงกลางทั้งสองด้านเรียกว่า เลนส์เว้า หรือเว้าเข้าด้านเดียวอีกด้านหนึ่งแบนราบและฉาบปรอทมักเรียกว่า กระจกเว้า มีสัณฐานกลมเหมือนเหรียญที่ป่องออกตรงกลางทั้งสองด้านเรียกว่า เลนส์นูน หรือนูนออกด้านเดียวอีกด้านหนึ่งแบนราบและฉาบปรอทมักเรียกว่า กระจกนูน ซึ่งเลนส์คือประเภทการผลิตวัสดุประเภทแก้วในรูปแบบของกระจกเพื่อการใช้งานในลักษณะของการหักเหแสงนั่นเอง กระจกบางประเภทถูกนำไปประกอบสร้างแบบพิเศษ เช่น เคลือบเนื้อสารบางประเภทเช่นพลาสติกด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน (เนื้อสารที่นำมาเคลือบเรียกว่าฟิล์ม) เพื่อให้ทึบแสงหรือเพื่อให้ไม่แตกร่วนหรือเพื่อให้เมื่อแตกแล้วไม่มีความคมคล้ายเมล็ดข้าวโพด เช่น กระจกรถยนต์ ฟิล์มบางประเภทที่นำมาเคลือบเช่น เคฟลาร์ มีลักษณะทางโครงสร้างเคมีที่สามารถกระจายแรงที่มากระทบด้านหน้าออกไปทางด้านข้างได้ จึงทำให้สามารถผลิตเป็นกระจกนิรภัย ที่สามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ และในบางกรณีการผลิตแบบเคลือบด้านนอก อาจปรับเป็นการผลิตแบบสอดไส้ข้างใน หรือ ผสมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน ในบางกรณีกระจกอาจสร้างจากวัสดุที่มีความใสไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันกับแก้วแต่เป็นวัสดุประเภทอื่นไปเลย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามกระจกจะมีความหมายในลักษณะ ใส บาง เป็นแผ่น มีผิวราบเรียบอย่างมาก อาจหมายรวมไปถึง สะท้อนแสงได้ รวมหรือเบี่ยงเบนแสงได้ หรือ เป็นเงา เสมอๆ วัสดุประเภทกระจกนั้น หากมีค่าความยอมให้ผ่านของแสงมากจะเรียกว่า โปร่งใส หากมีค่าน้อยจะเรียกว่า โปร่งแสง และหากไม่มีค่าเลยจะเรียกว่า ทึบแสง ความหมายโดยปริยายของกระจก มักจะหมายถึงกระจกเงา ถ้าพูดโดยไม่ระบุว่าเป็นกระจกใส เช่นในประโยคว่า "ส่องกระจกชะโงกดูเงา" (เพี้ยนมาจาก "ส่องกะโหลกชะโงกดูเงา" โดยกะโหลกคำนี้แปลว่ากะลา) หรือ "น้ำใสราวกับกระจก" (ส่องลงไปเห็นใบหน้าได้) หมวดหมู่:วัสดุ หมวดหมู่:กระจก.

กระจกและอะลูมิเนียม · กระจกและเงิน (โลหะ) · ดูเพิ่มเติม »

ทองคำ

ทองคำ (gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก.

ทองคำและอะลูมิเนียม · ทองคำและเงิน (โลหะ) · ดูเพิ่มเติม »

ทองแดง

ทองแดง (Copper) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดงอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล.

ทองแดงและอะลูมิเนียม · ทองแดงและเงิน (โลหะ) · ดูเพิ่มเติม »

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

อะลูมิเนียมและเหล็ก · เงิน (โลหะ)และเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อะลูมิเนียมและเงิน (โลหะ)

อะลูมิเนียม มี 34 ความสัมพันธ์ขณะที่ เงิน (โลหะ) มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 7.55% = 4 / (34 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อะลูมิเนียมและเงิน (โลหะ) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »