โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อะพอพโทซิสและไซโกต

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อะพอพโทซิสและไซโกต

อะพอพโทซิส vs. ไซโกต

ตัดขวางของตับหนูแสดงเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส (ลูกศร) อะพอพโทซิส เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death) ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างมีลักษณะที่เฉพาะ หรือกล่าวอย่างจำเพาะคือเป็นชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์มีสัณฐานวิทยาเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น การบวมของเซลล์ (blebbing), การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์เช่นการเหี่ยวของเซลล์, นิวเคลียสแตกเป็นชิ้นส่วน, โครมาตินหนาตัวขึ้น, และดีเอ็นเอแตกเป็นท่อน กระบวนการกำจัดเศษซากเซลล์ก็จะไม่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดความเสียหายซึ่งต่างจากการตายแบบการตายเฉพาะส่วนหรือเนโครซิส (necrosis) อะพอพโทซิสเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการเจริญพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างจากการตายเฉพาะส่วนที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์แบบเฉียบพลัน อะพอพโทซิสเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปร่างและอวัยวะของเอ็มบริโอ เช่นการเจริญของนิ้วมือและนิ้วเท้าเนื่องจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างนิ้วอะพอพโทซิสไป ทำให้นิ้วทั้งห้าแยกออกจากกัน โดยเฉลี่ยแล้วในผู้ใหญ่จะมีเซลล์ราว 5 หมื่นล้านถึง 7 หมื่นล้านเซลล์ตายแบบอะพอพโทซิสทุกวัน และในเด็กอายุ 8-14 ปีจะมีเซลล์ตายราว 2 หมื่นล้านถึง 3 หมื่นล้านเซลล์ต่อวัน งานวิจัยเกี่ยวกับการตายแบบอะพอพโทซิสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้มีการค้นพบการตายแบบอะพอพโทซิสที่ผิดปกติในโรคต่างๆ หากอะพอพโทซิสเกิดขึ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดการฝ่อของอวัยวะ เช่นในภาวะการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic damage) ในขณะที่การตายแบบอะพอพโทซิสที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ เช่นมะเร็ง. ไซโกต (zygote) หรือ ไซโกไซต์ เป็นเซลล์เริ่มต้นที่ก่อตัวขึ้นเมื่อเซลล์สืบพันธุ์สองเพศผสมกันด้วยวิธีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ไซโกตเป็นขั้นการเจริญแรกสุดของเอ็มบริโอ ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ไซโกตแบ่งตัวให้ลูกหลาน ซึ่งโดยปกติเป็นการแบ่งตัวแบบไมโอซิส ไซโกตเกิดขึ้นจากการผสมเซลล์สืบพันธุ์สองเพศเสมอ และเป็นขั้นแรกของการเจริญของสิ่งมีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ โดยปกติไซโกตเกิดขึ้นจากการปฏิสนธิระหว่างเซลล์แฮพลอยด์สองเซลล์ คือ ออวุม (เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย) กับสเปิร์ม (เซลล์สืบพันธุ์เพศ/ผู้) ซึ่งรวมกันเกิดเป็นเซลล์ดิพลอยด์หนึ่งเซลล์ ไซโกตนั้นมีดีเอ็นเอที่มาจากทั้งพ่อและแม่ และให้ข้อมูลพันธุกรรมที่จำเป็นต่อการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ หมวดหมู่:ระบบสืบพันธุ์ หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อะพอพโทซิสและไซโกต

อะพอพโทซิสและไซโกต มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เอ็มบริโอ

เอ็มบริโอ

อ็มบริโอของมนุษย์อายุ 6 สัปดาห์ เอ็มบริโอ (แปลว่า สิ่งที่เติบโต) คือระยะแรกในพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จำพวกยูคาริโอต ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีการแบ่งเซลล์จนกระทั่งเกิด, ฟักออกจากไข่, หรืองอกในกรณีของพืช สำหรับในมนุษย์ระยะเอ็มบริโอเริ่มหลังจากการปฏิสนธิจนกระทั่งสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8 ซึ่งหลังจากนั้นจะเรียกสิ่งมีชีวิตว่าระยะทารกในครรภ์ หรือฟีตัส (fetus).

อะพอพโทซิสและเอ็มบริโอ · เอ็มบริโอและไซโกต · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อะพอพโทซิสและไซโกต

อะพอพโทซิส มี 51 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไซโกต มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.75% = 1 / (51 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อะพอพโทซิสและไซโกต หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »