โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อะพอพโทซิสและเภสัชวิทยา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อะพอพโทซิสและเภสัชวิทยา

อะพอพโทซิส vs. เภสัชวิทยา

ตัดขวางของตับหนูแสดงเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส (ลูกศร) อะพอพโทซิส เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death) ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างมีลักษณะที่เฉพาะ หรือกล่าวอย่างจำเพาะคือเป็นชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์มีสัณฐานวิทยาเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น การบวมของเซลล์ (blebbing), การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์เช่นการเหี่ยวของเซลล์, นิวเคลียสแตกเป็นชิ้นส่วน, โครมาตินหนาตัวขึ้น, และดีเอ็นเอแตกเป็นท่อน กระบวนการกำจัดเศษซากเซลล์ก็จะไม่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดความเสียหายซึ่งต่างจากการตายแบบการตายเฉพาะส่วนหรือเนโครซิส (necrosis) อะพอพโทซิสเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการเจริญพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างจากการตายเฉพาะส่วนที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์แบบเฉียบพลัน อะพอพโทซิสเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปร่างและอวัยวะของเอ็มบริโอ เช่นการเจริญของนิ้วมือและนิ้วเท้าเนื่องจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างนิ้วอะพอพโทซิสไป ทำให้นิ้วทั้งห้าแยกออกจากกัน โดยเฉลี่ยแล้วในผู้ใหญ่จะมีเซลล์ราว 5 หมื่นล้านถึง 7 หมื่นล้านเซลล์ตายแบบอะพอพโทซิสทุกวัน และในเด็กอายุ 8-14 ปีจะมีเซลล์ตายราว 2 หมื่นล้านถึง 3 หมื่นล้านเซลล์ต่อวัน งานวิจัยเกี่ยวกับการตายแบบอะพอพโทซิสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้มีการค้นพบการตายแบบอะพอพโทซิสที่ผิดปกติในโรคต่างๆ หากอะพอพโทซิสเกิดขึ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดการฝ่อของอวัยวะ เช่นในภาวะการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic damage) ในขณะที่การตายแบบอะพอพโทซิสที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ เช่นมะเร็ง. ัชวิทยา (Pharmacology) เป็นศาสตร์สาขาของชีววิทยา ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยา, การได้มาของยา ทั้งจากที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์โดยมนุษย์ ธรรมชาติ หรือแม้แต่โมเลกุลภายในร่างกายมนุษย์เอง ซึ่งส่งผลชีวเคมีหรือสรีรวิทยาต่อเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือจุลชีพ (ในบางครั้ง คำว่า ฟาร์มาคอน ก็ถูกนำมาใช้แทนที่เพื่อให้มีนิยามครอบคลุมสารภายในและภายนอกร่างกายที่ทำให้ผลทางชีวภาพเหมือนกับยา) แต่ถ้ากล่าวให้จำเพาะมากขึ้นแล้ว เภสัชวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่ศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตและสารคเมีที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติและปรับสมดุลการทำงานทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ซึ่งหากสารเคมีใดที่มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค อาจถือได้ว่าสารเคมีนั้นจัดเป็นยา การศึกษาด้านเภสัชวิทยานั้นครอบคลุมองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างๆของยา การสังเคราะห์และการออกแบบยา กลไกการออกฤทธิ์ของยาทั้งในระดับโมเลกุลและระดับเซลล์ ผลของยาต่ออวัยวะและระบบต่างๆของร่างกาย ระบบการรับส่งสัญญาณการสื่อสารระดับเซลล์ การวินิจฉัยระดับโมเลกุล อันตรกิริยา พิษวิทยา ชีววิทยาของเซลล์ การบำบัดรักษา การประยุกต์ใช้ยาทางการแพทย์ และความสามารถในการต้านทานการเกิดโรคของยา ทั้งนี้ การศึกษาด้านเภสัชวิทยามุ่งเน้นไปที่ 2 ประเด็นหลัก คือ เภสัชพลศาสตร์ และเภสัชจลนศาสตร์ โดยเภสัชพลศาสตร์จะเป็นการศึกษาถึงผลของยาต่อระบบชีวภาพต่างๆของสิ่งมีชีวิต ส่วนเภสัชจลนศาสตร์ จะศึกษากระบวนการการตอบสนองหรือการจัดการของระบบภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อยา หากกล่าวสรุปแล้ว เภสัชพลศาสตร์จะอภิปรายได้ถึงผลของยาต่อร่างกาย และเภสัชจลนศาสตร์จะกล่าวถึงการดูดซึมยา การกระจาย การเปลี่ยนแปลงยา และการกำจัดยาของร่างกาย (ADME) ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่า เภสัชวิทยา และเภสัชศาสตร์ เป็นคำพ้องซึ่งกันและกัน แต่โดยรายละเอียดของศาสตร์ที่งสองแล้ว มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบแล้ว เภสัชวิทยาจั้นจัดเป็นชีวเวชศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการวิจัย การค้นคว้า และการจำแนกสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ การศึกษาการทำงานของเซลล์และจุลชีพที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม เภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษาทางวิชาชีพบริการทางสุขภาพที่มุ่งเน้นการปรับประยุกตฺใช้หลักการและองค์ความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาทางเภสัชวิทยามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรค ดังนั้น ความแตกต่างหลักระหว่างทั้งสองศาสตร์ คือ ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยโดยตรงโดยการปฏิบัติด้านเภสัชกรรม และสาขาการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ที่ขับเคลื่อนโดยเภสัชวิทยา ต้นกำเนิดของการศึกษาทางเภสัชวิทยาคลินิกเกิดขึ้นในยุคกลาง ตามที่มีการบันทึกไว้ในตำราการแพทย์ The Canon of Medicine ของอิบน์ ซีนา, Commentary on Isaac ของปีเตอร์ ออฟ สเปน, และ Commentary on the Antedotary of Nicholas ของจอห์น ออฟ เซนต์ แอมานด์ โดยเป็นศาสตร์ที่มีฐานรากมาจากการศึกษาค้นคว้าทางการแพทย์ของวิลเลียม วิเธอริง แต่เภสัชวิทยาในฐานะศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใดนักจนกระทั่งในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่มีการฟื้นตัวของศาสตร์ชีวการแพทย์แขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยในช่วงต้นคริสต์สตวรรษที่ 19 นั้น ความเข้าใจในกลไกการออกฤทธิ์ที่จำเพาะและความแรงของยาต่างๆ เช่น มอร์ฟีน, ควินีน และดิจิทาลลิส นั้นยังมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก รวมไปถึงมีการกล่าวอ้างถึงคุณสมบัติและสัมพรรคภาพของสารเคมีบางชนิดต่อร่างกายและเนื้อเยื่อที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริงในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเภสัชวิทยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่ทำให้มีการจัดตั้งแผนกเภสัชวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อะพอพโทซิสและเภสัชวิทยา

อะพอพโทซิสและเภสัชวิทยา มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อะพอพโทซิสและเภสัชวิทยา

อะพอพโทซิส มี 51 ความสัมพันธ์ขณะที่ เภสัชวิทยา มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (51 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อะพอพโทซิสและเภสัชวิทยา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »