เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อะกาเมมนอนและเอสคิลัส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อะกาเมมนอนและเอสคิลัส

อะกาเมมนอน vs. เอสคิลัส

อะกาเมมนอน (Agamemnon; Ἀγαμέμνων, Ἀgamémnōn) ตามเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของกษัตริย์เอทริอัส และราชินิไอโรเปแห่งนครไมซีนี พระองค์มีพระอนุชาคือเมเนเลอัส มีพระมเหสีชื่อพระนางไคลเตมเนสตรา และมีราชบุตร/ราชธิดา 4 พระองค์ ได้แก่ อิฟิจิไนอา (Iphigenia), อีเลคตรา (Electra), ออเรสตีส (Orestes) และ คริซอธีมิส (Chrysothemis) ตำนานของกรีกถือว่าอากาเมมนอนเป็นกษัตริย์ปกครองนครไมซีนี หรืออาร์กอส ซึ่งอาจเป็นสถานที่เดียวกันแต่เรียกคนละชื่อ พระองค์เป็นผู้บัญชาการใหญ่ของกองกำลังพันธมิตรฝ่ายกรีก ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อยกทัพไปกรุงทรอย หลังจากปารีสลักลอบพาพระนางเฮเลน มเหสีของเมเนเลอัสหนีไป อะกาเมมนอนเป็นกษัตริย์นักรบที่ทะเยอะทะยาน เมื่อคราวยกทัพไปทรอยเกิดลมพายุใหญ่ขึ้น ทัพเรือกรีกไม่สามารถแล่นออกไปได้ พระองค์จึงปฏิบัติตามคำแนะนำของโหรเอกแคลคัส(เทสตอริดีส) โดยทรงสั่งให้บูชายันต์อิฟิจิไนอา พระธิดาของพระองค์เองแด่ทวยเทพ คลื่นลมจึงได้สงบ ฯ ต่อมาในระหว่างที่กำลังปิดล้อมกรุงทรอยอยู่เป็นปีที่สิบ ได้เกิดโรคระบาดใหญ่ที่ส่งมาโดยเทพอะพอลโล ด้วยเหตุที่อะกาเมมนอนไปลบหลู่ ไครซีส (Chryses) นักบวชของอะพอลโลโดยไม่ยอมคืนลูกสาวให้ อะคิลลีสนักรบคนสำคัญของกองทัพกรีกแนะนำให้เหล่าแม่ทัพกรีก (basileus) ยกทัพของตนกลับ ถ้ายังไม่อยากจะตายกันหมดอยู่ที่ชายหาดของทรอย อะกาเมมนอนจึงจำต้องคืนลูกสาวให้กับไครซีสเพื่อระงับพิโรธของอะพอลโล และใช้อำนาจริบเอาหญิงรับใช้ชาวทรอยที่อะคิลลีสได้เป็นรางวัลในการรบ มาเป็นของตนทดแทนลูกสาวของไครซีส ทำให้อะคิลลีสเสียใจและถอนตัว(ชั่วคราว)จากการสู้รบ เป็นผลให้นักรบกรีกล้มตายเป็นอันมาก เมื่ออะกาเมมนอนยกทัพกลับมาจากกรุงทรอย พระองค์ถูกลอบสังหารโดยการร่วมมือกันระหว่าง พระนางไคลเตมเนสตรา และอีจีสธัส (Aegisthus) ชู้รักของพระมเหสี (เป็นเหตุการณ์ที่ได้รับการกล่าวถึงในหมากาพย์ โอดิสซีย์ ล.11:409-11) ในบางตำนานกล่าวว่าพระนางไคลเตมเนสตราเป็นผู้ลงมือสังหารพระสวามีด้วยตนเอง. อสคีลัส (Aeschylus; Αἰσχύλος ไอส-คู-ลอส;; ราว 525/524 – 456/455 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักประพันธ์บทละครชาวกรีกโบราณ และได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งโศกนาฏกรรม งานประพันธ์ของเอสคีลัสเป็นงานโศกนาฏกรรมชุดแรกสุดที่เหลือรอดมาจากยุคโบราณ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานประเภทนี้ในสมัยแรกเริ่ม ล้วนแต่ได้มาจากการอนุมานผ่านงานที่หลงเหลืออยู่ของท่าน เอสคีลัสจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์วรรณกรรมกรีกโบราณ อริสโตเติลให้เครดิตเอสคีลิสในฐานะเป็นศิลปินคนแรกที่ขยายจำนวนนักแสดงบนเวทีการละครของกรีก ทำให้สามารถนำเสนอความขัดแย้งระหว่างตัวละครได้ ในขณะที่ก่อนหน้านั้นการละครของกรีกมีแค่ตัวนักแสดงนำกับกลุ่มประสานเสียง (คอรัส) ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ เอสคีลัสประพันธ์บทละครไว้ระหว่าง 70 ถึง 90 เรื่อง แต่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพียง 7 เรื่อง หนึ่งในนั้น พันธนาการโพรมีเทียส (Prometheus Bound) ยังเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องตัวตนของผู้ประพันธ์ (บ้างเชื่อว่า ยูฟอเรียน บุตรชายของเอสคีลัส เป็นผู้แต่งขึ้น) งานนาฎกรรมบทละครที่เอสคีลัสประพันธ์ขึ้น เป็นงานที่แต่งเพื่อเข้าแข่งขันในงานเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเทศกาลไดโอไนซัส ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูใบไม้ผลิ ที่เมืองไดโอไนเซีย (Dionysia) ซึ่งมีการแข่งขันสองรอบ คือ รอบแข่งขันงานโศกนาฏกรรม และรอบแข่งขันงานสุขนาฏกรรม (comedies) งานทั้งหมดที่เหลือรอดมาของเอสคิลัส ได้แก่ ชาวเปอร์เซีย, ศึกเจ็ดขุนพลชิงธีบส์, ดรุณีร้องทุกข์, ไตรภาคโศกนาฏกรรม โอเรสเตอา ประกอบด้วย: อะกาเมมนอน, ผู้ถือทักษิโณทก (the Libation Bearers), และ ยูเมนิดีส (the Eumenides) เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันละครโศกนาฏกรรม ที่เมืองไดโอไนเซียมาแล้วทั้งสิ้น เว้นก็แต่ พันธนาการโพรมีเทียส เท่านั้น นอกจากนี้เอสคิลัสอาจเป็นนาฏศิลปินเพียงท่านเดียว (เท่าที่ทราบ) ที่เคยนำเสนอละครเป็นโศกนาฏการมไตรภาค ละครเรื่อง โอเรสเตอา เป็นตัวอย่างเดียวของบทประพันธ์ไตรภาคที่หลงเหลือมาจากยุคโบราณ ในวัยหนุ่มเอสคีลัสเคยเป็นทหารที่ร่วมรบในสงครามระหว่างกรีซกับเปอร์เซียทั้งสองครั้ง ในตอนต้นของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ในปีที่ 490 ก่อน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อะกาเมมนอนและเอสคิลัส

อะกาเมมนอนและเอสคิลัส มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อะกาเมมนอนและเอสคิลัส

อะกาเมมนอน มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอสคิลัส มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (6 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อะกาเมมนอนและเอสคิลัส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: