โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ออสการ์ ไวลด์และเทพนิยาย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ออสการ์ ไวลด์และเทพนิยาย

ออสการ์ ไวลด์ vs. เทพนิยาย

ออสการ์ ไวลด์ (Oscar Wilde หรือ Oscar Fingal O'Flahertie Wills Wilde) (16 ตุลาคม ค.ศ. 1854 - (30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1900) ออสการ์ ไวลด์เป็นนักเขียนและกวีคนสำคัญชาวไอริชที่มีผลงานการเขียนบทละคร และเรื่องสั้นเป็นจำนวนมาก และนวนิยายหนึ่งเล่ม ไวลด์ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบดีเป็นนักเขียนบทละครผู้มีความสำเร็จมากที่สุดของปลายสมัยวิกตอเรียและเป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของสมัย บทละครหลายเรื่องของไวลด์ก็ยังนิยมนำมาสร้างกันอยู่โดยเฉพาะ The Importance of Being Earnest หลังจากที่ถูกฟ้องร้องในคดีที่ถูกกล่าวหาว่ามี “พฤติกรรมอันเป็นการอนาจาร” (gross indecency) กับชายคนอื่นๆ ซึ่งเป็นคดีที่อื้อฉาว ซึ่งทำให้ไวลด์สูญเสียชื่อเสียงและถูกส่งตัวไปจำคุกอยู่เป็นเวลาสองปี ทันทีที่ถูกปล่อยตัวไวลด์ก็จับเรือจากดิเอปป์ และไม่ได้กลับมาไอร์แลนด์หรือบริเตนอีกจนเสียชีวิต "ดอเรียน เกรย์ (The Picture of Dorian Gray)" นวนิยายซึ่งมีชื่อเสียงมากของไวลด์ บอกเป็นนัยถึงความนิยมความรักร่วมเพศผ่านตัวละครต่างๆเช่น ดอเรียน เกรย์ หนุ่มชั้นสูงในลอนดอน และบาซิล ศิลปินวาดภาพเหมือน กฎหมายที่ทำร้ายชีวิตไวลด์ในศตวรรษที่ 19 มีโฉมหน้าที่เปลี่ยนไปแล้ว หากเขามีชีวิตอยู่ในหลายพื้นที่ในปัจจุบัน เขาคงไม่ต้องใช้ชีวิตรักอย่างหลบซ่อน ไร้ผิด ไร้โทษใด นอกเหนือจากประเด็นข้างต้น ในนวนิยายของเขา มีประเด็นทางอาชญาวิทยาเรื่องกรรมพันธุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางลบของบุคคลในครอบครัวนับแต่ครั้งบรรพบุรุษ ใน The Picture of Dorian Gray ไม่เพียงภาพเหมือนของดอเรียนเท่านั้นที่สะท้อนกรรมของเขาออกมา ยังมีภาพบาปอีกมากในคฤหาสถ์ชนบทของเขาที่สะท้อนกรรมแบบเดียวกันของดอเรียนและบรรพบุรุษ. วาดของกุสตาฟ ดอเร เกี่ยวกับเทพนิยายเรื่อง หนูน้อยหมวกแดง เทพนิยาย (Fairy tale) หมายถึงงานประพันธ์ที่มีตัวละครจากความเชื่อพื้นบ้าน (เช่น ภูต ยักษ์ คนแคระ แม่มด สัตว์พูดได้) กับเรื่องของเวทมนตร์ และเหตุการณ์ที่ดำเนินไปเกินคาดคิด ในยุคสมัยใหม่มักใช้คำนี้ในความหมายถึงเรื่องราวที่มีมนต์เสน่ห์กับความสุขอย่างพิเศษ เช่นในคำว่า "จบแบบเทพนิยาย" (หมายถึง "จบอย่างมีความสุข") แม้ว่าในความจริงแล้ว เทพนิยายไม่ได้จบอย่างมีความสุขเสมอไปทุกเรื่อง นอกจากนี้ คำว่า "เทพนิยาย" ยังอาจใช้ในความหมายว่า เรื่องเหลือเชื่อที่เกินจะเป็นความจริงได้ ในวัฒนธรรมที่เชื่อกันว่าปีศาจกับเหล่าแม่มดมีตัวตนจริง ผู้เล่าเรื่องจะเอ่ยถึงเรื่องราวเหมือนกับว่าเป็นประวัติศาสตร์จริงๆ ที่เคยเกิดขึ้นนานมาแล้ว บางครั้ง เทพนิยาย ก็หมายรวมถึง ตำนาน ด้วย อย่างไรก็ดี ส่วนที่ไม่เหมือน ตำนาน หรือ มหากาพย์ ก็คือ เทพนิยายจะไม่อ้างอิงถึงสิ่งที่มีจริงในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนา สถานที่ บุคคล หรือเหตุการณ์ใดๆ เหตุการณ์ในเทพนิยายเกิดขึ้นเมื่อ "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว" ที่ไม่สามารถระบุเวลาอย่างแน่ชัดได้ เป็นการยากที่จะสืบหาประวัติความเป็นมาของเทพนิยาย เพราะสิ่งที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันมีแต่เพียงงานเขียนที่เป็นเอกสารเท่านั้น แต่นักเล่านิทานได้สืบทอดเรื่องราวกันมานานหลายศตวรรษแล้ว ซึ่งเทพนิยายอาจเกิดขึ้นมานานพอๆ กัน แม้ในช่วงนั้นยังไม่สามารถแยกประเภทได้ชัดเจน คำว่า "เทพนิยาย" บัญญัติขึ้นใช้สำหรับวรรณกรรมประเภทนี้เป็นครั้งแรกโดยมาดามดัลนอย (Madame d'Aulnoy) ปัจจุบันยังคงมีการประพันธ์เทพนิยายและเรื่องราวที่สืบเนื่องจากเทพนิยายอยู่เสมอ เทพนิยายในยุคก่อนประพันธ์ขึ้นสำหรับผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่พอๆ กับเด็ก มีลักษณะใกล้เคียงกับงานประพันธ์แบบ précieuses ในวรรณกรรมฝรั่งเศส พี่น้องตระกูลกริมม์เรียกผลงานของพวกเขาว่าเป็น นิทานสำหรับเด็กและครอบครัว เมื่อเวลาผ่านไป เทพนิยายก็มีความเกี่ยวพันกับเด็กมากขึ้นเรื่อยๆ ในการศึกษาวรรณกรรมประเภทนิทานพื้นบ้าน มีการแบ่งประเภทเทพนิยายหลายวิธี ระบบที่น่าสนใจได้แก่ระบบการจัดประเภทของอาร์นี-ทอมป์สัน (Aarne-Thompson) และการวิเคราะห์ของ วลาดิเมียร์ พร็อพพ์ การศึกษาเทพนิยายในแบบอื่นนิยมการแปลความหมายของจุดสำคัญในนิยาย แต่ไม่มีโรงเรียนแห่งไหนตีความเทพนิยายแบบนั้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ออสการ์ ไวลด์และเทพนิยาย

ออสการ์ ไวลด์และเทพนิยาย มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ออสการ์ ไวลด์และเทพนิยาย

ออสการ์ ไวลด์ มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ เทพนิยาย มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (19 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ออสการ์ ไวลด์และเทพนิยาย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »