โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ออทโทที่ 1 มหาราช

ดัชนี ออทโทที่ 1 มหาราช

ออทโทที่ 1 มหาราช (Otto I. der Große) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก (ชื่อเรียกบริเวณที่เป็นประเทศเยอรมนีในยุคนั้น) ในปี..

16 ความสัมพันธ์: ชาร์เลอมาญพระมหากษัตริย์อิตาลีพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนีมัคเดอบวร์คราชอาณาจักรอิตาลีรายพระนามพระมหากษัตริย์เยอรมนีลัทธินอกศาสนาอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกอาเคินจักรพรรดิออทโทที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ดัชชีซัคเซินปาวีอาโรมันคาทอลิกเบเรนการ์ที่ 2 แห่งอิตาลี

ชาร์เลอมาญ

ร์เลอมาญ (Charlemagne) หรือชื่อในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (Karl der Große) เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและชาร์เลอมาญ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากษัตริย์อิตาลี

มงกุฎเหล็กแห่งลอมบาร์เดียที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระมหากษัตริย์อิตาลี (rex Italiae, re d'Italia, King of Italy) เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับประมุขผู้ครองคาบสมุทรอิตาลีมาตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน แต่ก็ไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดที่ปกครองคาบสมุทรอิตาลีทั้งหมดมาจนถึง สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 ในปี..

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและพระมหากษัตริย์อิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี

ระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี (Heinrich I) ทรงเป็นดยุกแห่งซัคเซินในปี..

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

มัคเดอบวร์ค

เมืองมัคเดอบวร์ค มัคเดอบวร์ค (Magdeburg) เป็นเมืองหลวงของรัฐซัคเซิน-อันฮัลท์ ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำเอลเบอ เป็นหนึ่งในเมืองที่สำคัญมากในยุคกลางของยุโรป สมเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ประทับอยู่ที่เมืองในระหว่างปกครองเมือง หมวดหมู่:เมืองในประเทศเยอรมนี หมวดหมู่:สันนิบาตฮันเซียติก หมวดหมู่:รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์.

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและมัคเดอบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอิตาลี

ราชอาณาจักรอิตาลี (Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ อิตาลีได้ประกาศสงครามต่อออสเตรียในปี..

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์เยอรมนี

รายพระนามกษัตริย์และจักรพรรดิเยอรมนี (List of German monarchs) รายพระนามข้างล่างเป็นพระนามของพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิที่ปกครองเยอรมนีตั้งแต่การแยกตัวมาเป็นราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออก ในปี..

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและรายพระนามพระมหากษัตริย์เยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก

อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก (Regnum Francorum Orientalium; Francia Orientalis) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงที่ตกมาเป็นของลุดวิจชาวเยอรมันพระนัดดาของชาร์เลอมาญตามสนธิสัญญาแวร์เดิงของปี ค.ศ. 843 ราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกเป็นราชอาณาจักรที่มาก่อนจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรแฟรงก์อันยิ่งใหญ่ที่ชาร์เลอมาญก่อตั้งขึ้น ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันต ก็ถูกแบ่งแยกหลังจากสงครามกลางเมืองที่ยาวสามปีระหว่างพระราชนัดดาสามพระองค์ในระหว่างปี ค.ศ. 840 ถึงปี ค.ศ. 843 ในระหว่างสงคราม คาร์ลพระเศียรล้านทรงเข้าข้างลุดวิจชาวเยอรมัน พระอนุชาต่างพระมารดา ในข้อขัดแย้งในสิทธิการครองราชบัลลังก์กับจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 พระเชษฐา ผู้ทรงใช้ตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวโรมันที่เคยเป็นตำแหน่งของพระอัยกา และกลายมาเป็นตำแหน่งที่ใช้กันต่อมาสำหรับจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่จักรพรรดิออทโทที่ 1 เป็นต้นมา เมื่อสงครามสิ้นสุดลงราชอาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งแยกออกเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์เดิง.

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

อาเคิน

แผนที่เยอรมนีแสดงเมืองอาเคิน อาเคิน (Aachen) เป็นเมืองที่อยู่ด้านตะวันตกสุดของประเทศเยอรมนี ติดกับพรมแดนประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม อยู่ห่างจากเมืองโคโลญมาทางตะวันตก 65 กิโลเมตร พิกัดภูมิศาสตร์ 50°46′ เหนือ 6°6′ ตะวันออก มีประชากร 256,605 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2546) ชื่อของเมืองถ้าอ่านออกเสียงตามแบบภาษาเยอรมันแล้วจะออกเสียงว่า อาเคิ่น ชื่อเต็มของอาเคินคือ บัดอาเคิน (Bad Aachen) โดย Bad หมายถึงน้ำ ที่ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องมาจากภายใต้เมืองอาเคินมีสายน้ำร้อนธรรมชาติอยู่มากมาย น้ำแร่ใต้ดินนี้ มีความเชื่อว่าสามารถนำมาดื่มเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ในปัจจุบัน เมืองอาเคินได้นำน้ำแร่ใต้ดินนี้ไปเปิดบริการเป็นสปาแบบทันสมัยให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อว่า Carolus Thermen อาเคินเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย RWTH Aachen (เยอรมัน: Rheinisch-Westfälische Technische Hochschule; อังกฤษ: RWTH Aachen University of Technology; ตัวย่อ RWTH ออกเสียงตามภาษาเยอรมันว่า แอร์เวเทฮา) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มายาวนาน โดยเฉพาะสาขาวิศวกรรมเครื่องกล อาเคินกับ RWTH มีความผูกพันกันมาอย่างลึกซึ้ง เนื่องจาก RWTH เป็นจุดดึงดูดให้มีนักเรียนจำนวนมากเดินทางมาใช้ชีวิตในอาเคิน ทำให้อาเคินกลายเป็นเมืองนักศึกษา โดยนักเรียนของ RWTH Aachen มีจำนวนมากกว่า 30,000 คน โดย 10% ของทั้งหมดเป็นนักเรียนต่างชาติ นอกจากสาขาวิศวกรรมแล้ว RWTH Aachen ยังมีคลินิคุม อาเคิน (Universitätsklinikum Aachen) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแบบตึกเดียวที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเป็นที่ศึกษาของเหล่านักศึกษาแพทยศาสตร์ของอาเคิน ในขณะเดียวกัน ทางสาขาคอมพิวเตอร์ของ RWTH ก็กำลังพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์วิจัยเฟราน์โฮเฟอร์ และขณะนี้บริษัทไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดศูนย์วิจัยขึ้นในเมืองอาเคิน และสร้างความเป็นพันธมิตรกับ RWTH มหาวิหารอาเคิน เมืองอาเคินยังเป็นที่ตั้งของมหาวิหารอาเคิน (เยอรมัน: Aachener Dom) อันเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน นับเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวของเมือง มหาวิหารแห่งอาเคินนี้ถูกจัดเป็นมรดกโลกของยูเนสโก มหาวิหารนี้เป็นโบสถ์แบบกอธิคผสมกับกาโล-โรมัน ซึ่งได้รับอนุญาตจากพระสันตปาปาแห่งกรุงโรมให้สร้างโบสถ์นี้ในปี ค.ศ. 786 และสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 805 โดมนี้ถูกใช้เป็นสถานที่แต่งตั้งกษัตริย์ของเยอรมนีในสมัยก่อนมาแล้วหลายพระองค์ อีกทั้งยังมีหีบศพทองคำของพระเจ้าชาร์เลอมาญ (เยอรมัน: Karl) อยู่ด้วย ที่ลานกว้างหน้าโดมนี้ จะถูกใช้เป็นที่รับรางวัลคาร์ล (Internationaler Karlspreis zu Aachen ย่อว่า Karlspreis; อังกฤษ: International Charlemagne Prize of the city of Aachen) ในทุก ๆ ปี รางวัลคาร์ลนี้จะมอบให้กับผู้ที่ส่งเสริมสันติภาพในยุโรป ตัวอย่างของบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ได้รับรางวัลคาร์ลได้แก่ บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และ โทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร พรินเท่น อาเคินยังเป็นจุดกำเนิดของขนมที่ชื่อว่าพรินเทิน (Printen หรือ Aachener Printen) ซึ่งมีชื่อเสียงในประเทศเยอรมนี พรินเทินเป็นขนมลักษณะคล้ายคุกกี้ ที่มีส่วนผสมของอบเชย และมักทำออกมาโดยพิมพ์รูปต่าง ๆ เช่น รูปพระจักรพรรดิคาร์ล.

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและอาเคิน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิออทโทที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิออทโทที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Otto II, Holy Roman Emperor Otto II, Holy Roman Emperor) (ค.ศ. 955 - 7 ธันวาคม ค.ศ. 983) เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์ออทโท ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างปี ค.ศ. 967 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 983 พระองค์เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิออทโทที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ อเดลัยเดแห่งอิตาลี ออทโทที่ 2 ทรงได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาจากบรูโน อาร์ชบิชอปแห่งโคโลญพระปิตุลา และวิลเลียม อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ พี่น้องต่างมารดา ในระยะแรกพระองค์ก็ทรงครองราชบัลลังก์ร่วมกับพระราชบิดา และทรงได้รับเลือกที่เวิร์มสให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินของเยอรมนีในปี..

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและจักรพรรดิออทโทที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Kaiser des Heiligen Römischen Reiches; Emperor of the Holy Roman Empire) หรือจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Emperor) หรือจักรพรรดิโรมัน-เยอรมัน (Römisch-Deutscher Kaiser) เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ใช้หมายถึงประมุขรัฐในสมัยกลางที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็น "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" ต่อมาตำแหน่งนี้มาจากการเลือกตั้งแต่ยังคงต้องรับราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาอยู่ จนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาจึงหมายถึงผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นมีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนยุโรปกลาง.

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีซัคเซิน

ัชชีซัคเซิน (Herzogtum Sachsen) เป็นปฐมดัชชี (Stem duchy) คาโรแล็งเชียงของปลายยุคกลางตอนต้นที่มีบริเวณครอบคลุมนีเดอร์ซัคเซิน, นอร์ธไรน์-เวสต์ฟาเลีย และ ซัคเซิน-อันฮัลท์ และส่วนใหญ่ของชเลสวิก-โฮลชไตน์ ต่อมาดัชชีซัคเซินก็เป็นรัฐในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปกครองโดยดยุกแห่งซัคเซิน.

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและดัชชีซัคเซิน · ดูเพิ่มเติม »

ปาวีอา

ปาวีอา (Pavia; ลอมบาร์ด Pavia; Ticinum) เป็นเมืองและเทศบาลทางตอนใต้-ตะวันตกของแคว้นลอมบาร์ดี ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี อยู่ทางตอนใต้ของมิลานราว 35 กม.

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและปาวีอา · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เบเรนการ์ที่ 2 แห่งอิตาลี

รนการ์ที่ 2 แห่งอิตาลี หรือ เบเรนการ์แห่งอิฟริอา (Berengar II of Italy) (ค.ศ. 900 - 6 กรกฎาคม ค.ศ. 966) เบเรนการ์เป็นมาร์กราฟแห่งอิฟริอาและผู้อ้างตัวเป็นพระมหากษัตริย์อิตาลีผู้สืบเชื้อสายมาจากลอมบาร์ด เบเรนการ์เป็นบุตรของอดาแบร์ตที่ 1 แห่งอิฟริอาและกิเซลาแห่งฟริอุลิ และเป็นหลานของเบเรนการ์ที่ 1 แห่งอิตาลี และ แบร์ทิลาแห่งสโปเลโต.

ใหม่!!: ออทโทที่ 1 มหาราชและเบเรนการ์ที่ 2 แห่งอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Emperor Otto IOtto IOtto I of GermanyOtto I the GreatOtto I, Holy Roman EmperorOtto the Greatสมเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์สมเด็จพระเจ้าออตโตที่ 1 แห่งเยอรมนีจักรพรรดิออทโทที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิออทโทที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิออตโตที่ 1จักรพรรดิออตโตที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »