ออทโท ฟอน บิสมาร์คและโรมันคาทอลิก
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ออทโท ฟอน บิสมาร์คและโรมันคาทอลิก
ออทโท ฟอน บิสมาร์ค vs. โรมันคาทอลิก
ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890 ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism) สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของ. ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ออทโท ฟอน บิสมาร์คและโรมันคาทอลิก
ออทโท ฟอน บิสมาร์คและโรมันคาทอลิก มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ออทโท ฟอน บิสมาร์คและโรมันคาทอลิก มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ออทโท ฟอน บิสมาร์คและโรมันคาทอลิก
การเปรียบเทียบระหว่าง ออทโท ฟอน บิสมาร์คและโรมันคาทอลิก
ออทโท ฟอน บิสมาร์ค มี 29 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรมันคาทอลิก มี 24 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (29 + 24)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ออทโท ฟอน บิสมาร์คและโรมันคาทอลิก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: