โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อริสโตฟานเนสและอเล็กซานเดอร์มหาราช

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อริสโตฟานเนสและอเล็กซานเดอร์มหาราช

อริสโตฟานเนส vs. อเล็กซานเดอร์มหาราช

อริสโตฟานีส หรือ แอริสตอฟานีส (Aristophanes; Ἀριστοφάνης,; c. 446 – c. 386 ก่อนคริสตกาล) เป็นนักประพันธ์บทละครชวนหัว (สุขนาฏกรรม) สมัยกรีซยุคคลาสสิค มีชีวิตอยู่ราวช่วงปีที่ 446-386 ก่อนคริสตกาล อริสโตฟานีสประพันธ์บทละครไว้ทั้งสิ้น 40 เรื่อง แต่ตกทอดมาถึงปัจจุบันโดนสมบูรณ์เพียง 11 เรื่อง นอกนั้นเป็นเพียงชิ้นส่วนพาไพรัสที่ส่วนใหญ่ขาดหายไป งานของอริสโตฟานีสเหล่านี้เป็นตัวอย่างเท่าที่เรามีเกี่ยวกับประเภทของงานสุขนาฏกรรมที่เรียกว่า Old Comedy ท่านได้รับฉายาว่าเป็น "บิดาแห่งสุขนาฏกรรม" กล่าวกันว่างานของอริสโตฟานีสให้ข้อมูลเกี่ยวกับเอเธนส์โบราณได้น่าเชื่อถือยิ่งกว่านักเขียนคนใดๆ ความสามารถของเขาในการเยาะเย้ยถากถาง เป็นที่ยำเกรงและรับทราบกันในผู้มีอิทธิพลร่วมสมัย เพลโตชี้ลงไปว่าบทละครเรื่อง เมฆ (The Clouds) เป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาที่ทำให้โสเครตีสต้องถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิต แม้ว่าจะมีงานเสียดสีล้อเลียนตัวโสเครตีส จากนักประพันธ์เชิงเสียดสี (satirical) รายอื่นก็ตาม อริสโตฟานีสมีชีวิตผ่านช่วงเวลาที่เอเธนส์ประสบวิกฤติทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ทั้งหายนะจากสงครามเพโลพอนนีเซียน (ซึ่งเอเธนส์เป็นฝ่ายแพ้) การปฏิวัติของกลุ่มคณาธิปไตยสองครั้ง และการกู้คืนระบอบประชาธิปไตยสองครั้ง โสเครตีสถูกพิพากษาในข้อหาอาชญากรรมทางความคิด และยูริพิดีสต้องเนรเทศตัวเองไปตายที่เมืองอื่น ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เชื่อว่าแม้งานของอริสโตฟานีสจะแดกดันหรือเสียดสีเรื่องการเมืองอยู่เป็นนิตย์ แต่ตัวท่านนักประพันธ์เองคงจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในทางการเมืองมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับนาฏศิลปินโศกนาฏกรรมอย่าง ซอโฟคลีส และยูริพิดีสแล้ว อริสโตฟานีสมีส่วนช่วยพัฒนาศิลปะการละครในยุคต่อไปมากกว่า ทั้งนี้เพราะซอโฟคลีส กับยูริพิดีส ถึงแก่กรรมลงในช่วงปลายสงครามเพโลพอนนีเซียน ทำให้ศิลปะของละครโศกนาฏกรรมหยุดพัฒนาไปเสีย แต่การละครสุขนาฏกรรมยังมีการวิวัฒนาการต่อมาเรื่อยๆ แม้หลังเอเธนส์จะพ่ายแพ้สงคราม ซึ่งสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะการที่ปรมาจารย์ละครชวนหัวอย่างอริสโตฟานีส ยังมีชีวิตอยู่ต่อมานานพอที่จะช่วยศิลปินรุ่นหลังพัฒนาต่อยอดศิลปะแขนงนี้ thumb. อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อริสโตฟานเนสและอเล็กซานเดอร์มหาราช

อริสโตฟานเนสและอเล็กซานเดอร์มหาราช มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อริสโตฟานเนสและอเล็กซานเดอร์มหาราช

อริสโตฟานเนส มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ อเล็กซานเดอร์มหาราช มี 55 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (8 + 55)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อริสโตฟานเนสและอเล็กซานเดอร์มหาราช หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »