โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ห้องสมุดและอ็องรี ดูว์น็อง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ห้องสมุดและอ็องรี ดูว์น็อง

ห้องสมุด vs. อ็องรี ดูว์น็อง

ั้นวางหนังสือในห้องสมุด ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค วัสดุเทป และโทรทัศน์ ซีดีรอม วีซีดี ดีวีดี โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความสะดวกสืบค้นได้ง่ายและตรงกับความต้องการ ห้องสมุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่าง ๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสม. อ็องรี ดูว์น็อง อ็องรี ดูว์น็อง (Henri Dunant) ชื่อเต็ม ฌ็อง อ็องรี ดูว์น็อง (Jean Henri Dunant; 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1828 — 30 ตุลาคม ค.ศ. 1910) เป็นนักธุรกิจ และนักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ชาวสวิส เขาเป็นผู้ให้กำเนิดคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและสภากาชาดประจำชาติ เพื่อช่วยเหลิอบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยสงครามและภัยพิบัติต่าง ๆ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี ค.ศ. 1901 ร่วมกับเฟรเดริก ปาซี (Frédéric Passy) นายอ็องรี ดูว์น็อง เกิดที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้เคร่งศาสนา โดยมีความเชื่อตามแนวทางของนิกายคาลวิน และตั้งมั่นในหลักการ "จงรักเพื่อนบ้านของท่าน" ("Love thy neighbor") เขาได้เดินทางไปทั่วยุโรปเพื่อบรรยายถึงความชั่วร้ายเรื่องความเป็นทาส (slavery) ในปี ค.ศ. 1859 ระหว่างอยู่ที่ประเทศอิตาลี เขาได้ไปที่สนามรบของสงครามแห่งโซลเฟริโน และได้เห็นทหารที่ได้รับบาดเจ็บนับพันคน ถูกปล่อยทิ้งรอความตายในสนามรบตามยถากรรม โดยไม่ได้รับแม้แต่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ที่อาจรักษาชีวิตของคนเหล่านี้ได้ หลังจากที่เขากลับถึงกรุงเจนีวา เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับประสบการณ์ครั้งนี้ของเขา ในชื่อ Un Souvenir de Solferino (ความทรงจำแห่งซอลเฟรีโน) ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1862 ในบทความเขาได้พยายามผลักดันให้มีการจัดตั้ง เครือข่ายนานาชาติของอาสาสมัครเพื่อบรรเทาทุกข์ขึ้น หนังสือของเขาได้รับความสนใจจาก สภาบริหารประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland's Federal Council) และส่งผลให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์สนับสนุนให้มีการประชุมสัมมนานานาชาติขึ้นในปี ค.ศ. 1863 เพื่ออภิปรายถึงแนวความคิดของดูว์น็องที่เขาได้เขียนไว้ในบทความ เก้าบทความ (Nine Articles) มีประเทศเข้าร่วมการประชุมสัมนาในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1864 ทั้งหมด 16 ประเทศ และในจำนวนนั้น 12 ประเทศได้ให้การสนับสนุนในเนื้อหา ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง อ็องรี ดูว์น็อง ในวัยชรา ช่วงหลายปีหลังจากนั้น ดูว์น็องได้เขียนบทความเกี่ยวกับการปลดอาวุธ และการตั้งศาลระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ เขาได้ละเลยการงานส่วนตัวจนต้องตกเป็นหนี้สิน ประสบกับความยากจน และได้หายหน้าหายตาไป นอกจากนี้ อ็องรี ดูว์น็อง ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มฟรีเมสันรี (freemasonry) ในขณะที่มีการให้รางวัลโนเบลเป็นครั้งแรกนั้น ก็มีข้อโต้แย้งว่า เขาควรจะได้รับรางวัลนี้หรือไม่ เนื่องจากในขณะนั้นองค์กรกาชาดได้ถูกจัดตั้งเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และบทบาทของ อ็องรี ดูว์น็อง ก็ได้ถูกลืมเลือนไปเช่นกัน ได้มีข้อเสนอให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในสาขาแพทยศาสตร์ เนื่องมาจากบทบาทขององค์กรกาชาดในขณะนั้น ผลการประนีประนอมในท้ายที่สุดได้มีการตัดสินให้เป็นรางวัลร่วมในสาขาสันติภาพ โดยได้รับร่วมกับเฟรเดริก ปาซี ซึ่งเป็นนักต่อสู้เพื่อสันติภาพที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส และถึงแม้ว่าอ็องรี ดูว์น็อง จะมีชีวิตที่ยากจนในขณะนั้น แต่เขาก็บริจาคเงินรางวัลที่ได้รับทั้งหมดเพื่อการกุศล อ็องรี ดูว์น็อง เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1910.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ห้องสมุดและอ็องรี ดูว์น็อง

ห้องสมุดและอ็องรี ดูว์น็อง มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ห้องสมุดและอ็องรี ดูว์น็อง

ห้องสมุด มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ อ็องรี ดูว์น็อง มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (4 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ห้องสมุดและอ็องรี ดูว์น็อง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »