โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวงและหฺวัง ไถจี๋

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวงและหฺวัง ไถจี๋

จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวง vs. หฺวัง ไถจี๋

ระพันปีเซี่ยวจฺวัง (จีน: 孝莊文皇后; พินอิน: Xiaozhuang Tàihòu; ประสูติ: 26 มีนาคม 1613; ทิวงคต: 27 มกราคม 1688) เป็นราชนิกุลชาวแมนจูในประวัติศาสตร์จีนสมัยต้นราชวงศ์ชิง ซึ่งมีบทบาทในฐานะพระราชมารดาในจักรพรรดิซุ่นจื้อ และพระราชอัยยิกาในจักรพรรดิคังซี พระพันปีเซี่ยวจฺวังมีชื่อเดิมว่า ปูมู่ปูไท่ เป็นลูกสาวของ ไจ้ซาง หัวหน้ามองโกลเผ่าเคอร์ฉิน ราชตระกูลสายบิดาของพระพันปีเซี่ยวจฺวังนั้น เป็นตระกูลป๋อจื่อจิน ที่สืบเชื้อสายมาแต่เจงกีสข่าน (หัวหน้ามองโกลในสมัยนั้น มาจากตระกูลนี้หรือไม่ก็อ้างว่าสืบสายมาแต่เจงกีสข่านกันทั้งสิ้น) อย่างไรก็ตามเผ่าเคอร์ฉินนั้นมีอิทธิพลจำกัดอยู่ทางตะวันออกของทุ่งหญ้าเท่านั้น ไม่ได้ถือว่าทรงอำนาจอะไรมากมาย ในยุคที่นูร์ฮาร์ชี๋กำลังเรืองอำนาจในเจี้ยงโจวนั้น ปู่ของพระพันปีเซี่ยวจฺวังที่ชื่อว่า หนูว์เอี้ยน เป็นหัวหน้าเผ่าเคอร์ฉินอยู่ เขาก็เห็นว่าควรจะผูกมิตรกับสกุลอ้ายซินเจี๋ยหรอเอาไว้ เพื่ออาศัยอิทธิพลของนูร์ฮาร์ชีด้วย เลยส่งลูกสาวคือ เจอเจอ มาแต่งงานกับหวงไท่จี๋เพื่อผูกสมัครเป็นญาติกันในปี 1614 ต่อมาเมื่อบิดาของพระพันปีเซี่ยวจฺวังขึ้นเป็นหัวหน้าเผ่าแทนปู่ของนาง ก็เลยส่งลูกสาวคือ ปูมู่ปูไท่มาแต่งกับหวงไท่จี๋อีกคนในปี 1625 เพื่อผูกเป็นญาติกันสองชั้น พระพันปีเซี่ยวจฺวังให้กำเนิดพระราชธิดา 3 องค์แก่หวงไท่จี๋ และพระราชโอรส 1 องค์คือฝูหลิน ส่วนฮองเฮาเจอเจอ ที่เป็นอาหญิงของนางนั้นมีแต่พระราชธิดากับหวงไท่จี๋ เมื่อจักรพรรดิหวงไถจี๋สวรรคต เจ้าชายฝูหลินได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิซุ่นจื้อในปี 1643 ทั้งฮองเฮาเจอเจอและสนมปูไท่จึงขึ้นเป็นพระพันปีพร้อม ๆ กัน แต่อำนาจปกครองประเทศจะอยู่ในมือของตวนเอ่อร์กุนเสียมาก ตวนเอ่อร์กุนก็ตรงอำนาจอยู่หลายปีจนเขาตาย และพอดีกับที่จักรพรรดิซุ่นจื้อ ทรงเจริญพระชันษาพอดี พระองค์จึงทรงปกครองประเทศเอง พระพันปีเซี่ยวจฺวังจะเริ่มเข้ามามีบทบาทในช่วงหลัง ๆ ของรัชกาล จักรพรรดิซุ่นจื้อ และก็มีส่วนอย่างมากตอนเปลี่ยนรัชกาลเป็นคังซี ในการสนับสนุนให้องค์ชายเสียนเยี่ย ขึ้นเป็นฮ่องเต้ และร่วมดูแลราชกิจกับ 4 ผู้สำเร็จราชการ พอจักรพรรดิคังซีเริ่มว่าราชการเอง พระนางก็หยุดการข้องเกี่ยวราชกิจไป และใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสงบจนเสด็จทิวงคตในปี 1688. ฉงเต๋อ (28 พฤศจิกายน 1592 – 21 กันยายน 1643) หรือชื่อตัวว่า หฺวัง ไถจี๋ (黃台吉) หรือ หง ไท่จี๋ (洪太極) เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนในราชวงศ์ชิง ซึ่งรวมแผ่นดินจีนที่นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (努爾哈赤) บิดา ก่อตั้งขึ้นแต่ตายเสียก่อนการจะสำเร็จ หฺวัง ไถจี๋ ยังได้เปลี่ยนนามชนชาตินฺหวี่เจิน (女眞; Jurchen) เป็นหมั่นจู๋ (滿族; Manchu) คือ แมนจู และเปลี่ยนนามราชวงศ์จินตอนปลายที่บิดาตั้งไว้เป็นราชวงศ์ชิง ราชวงศ์นี้ดำรงอยู่ต่อมาถึงปี 1912 เนื่องจากนู่เอ๋อร์ฮาชื่อยังไม่ทันได้ตั้งตัวเป็นเจ้าขณะมีชีวิตอยู่ หฺวัง ไถจี๋ จึงเฉลิมยศพระมหากษัตริย์ให้บิดาในภายหลัง ฉะนั้น จึงถือกันว่า นู่เอ๋อร์ฮาชื่อเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ชิง และหฺวัง ไถจี๋ เป็นทุติยกษัตร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวงและหฺวัง ไถจี๋

จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวงและหฺวัง ไถจี๋ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชวงศ์ชิงจักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อจักรพรรดิซุ่นจื้อจักรพรรดินีเซี่ยวตฺวันเหวิน

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวงและราชวงศ์ชิง · ราชวงศ์ชิงและหฺวัง ไถจี๋ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อ

หนูเอ่อร์ฮาชื่อ(แมนจู: 1 30px;; 21 กุมภาพันธ์ 1559 – 30 กันยายน 1626) หรืออ้ายซินเจว๋หลัวหนูเอ่อร์ฮาชื่อ(Chinese: Aixin-Jueluo Nǔ'ěrhāchì 愛新覺羅努爾哈赤)หรือสมเด็จพระจักรพรรดิชิงไท่จู่ เป็นปฐมจักรพรรดิราชวงศ์ชิง.

จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวงและจักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อ · จักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อและหฺวัง ไถจี๋ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิซุ่นจื้อ

มเด็จพระจักรพรรดิซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ชิง แต่ในบางครั้งจะนับพระองค์เป็น ปฐมจักรพรรดิ ของราชวงศ์ชิง ด้วยทรงเป็นจักรพรรดิแมนจูพระองค์แรกที่ได้ประทับในพระราชวังต้องห้ามที่กรุงปักกิ่ง และราชวงศ์หมิงถึงกาลสิ้นสุดอย่างแท้จริง มีพระนามเดิมว่า อ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ฝูหลิน (爱新觉罗福临) ซึ่งเป็นพระโอรสคนที่ 9 ของหวงไท่จี๋ ทรงขึ้นครองราชย์เพียงพระชนมพรรษา 6 ขวบ ในปี พ.ศ. 2186 (ค.ศ. 1643) หลังการสวรรคตของจักรพรรดิหวงไถจี๋ พระราชบิดา และ เซี่ยวจวงก็เลื่อนศักดิ์ขึ้นมาเป็นไทเฮา โดยมีตัวเอ่อกุ่นที่มีศักดิ์เป็นพระปิตุลาเป็นผู้สำเร็จราชการ (摄政王) และมีเจิ้งชินหวัง (郑亲王) คอยให้การช่วยเหลือ ตั่วเอ่อกุ่นได้พยายามยึดกุมอำนาจปกครองอันแท้จริงเอาไว้ อีกทั้งยังตั้งตนเองเป็นพระราชบิดา ควบคุมกองทัพกองธงไว้ถึง 3 กองธง ในขณะที่ฮ่องเต้ปกครองอยู่เพียง 2 กองธง พระองค์ต้องอยู่ใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของตั่วเอ่อกุ่น พระอนุชาต่างพระมารดาของพระราชบิดา ซึ่งตั่วเอ่อกุ่นนับว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลอย่างมาก อีกทั้งยังมีสิทธิ์ที่จะได้ขึ้นครองราชย์อีกด้วย ตั่วเอ่อกุ่นได้กระทำการหลายอย่างที่จะไม่ให้พระองค์เจริญชันษามาด้วยความปรีชาสามารถ เช่น ไม่สนับสนุนให้ทรงเล่าเรียน เป็นต้น แต่ทว่า อำนาจของตั่วเอ่อกุ่นก็ถูกคานจาก พระนางเสี้ยวจวงไทเฮา (孝庄太后)พระมารดา กระทั่งปี..1650 เมื่อตัวเอ่อกุ่นเสียชีวิตลง ซุ่นจื้อที่เริ่มหลุดจากการเป็นหุ่นเชิด ได้ประกาศราชโองการยกเลิกตำแหน่ง บรรดาศักดิ์ และริบทรัพย์ทั้งหมดของตัวเอ่อกุ่นเป็นการลงโทษในข้อหาใช้อำนาจบาตรใหญ่ในขณะที่มีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังลือกันว่ามีการขุดศพของตัวเอ่อกุ่นขึ้นมาทำการตีด้วยไม้และโบยด้วยแส้อีกด้วย หลังจากนั้น เพื่อให้อำนาจกลับคืนสู่ฮ่องเต้อย่างแท้จริง ซุ่นจื้อยังได้ทำการปลดองค์ชายและเชื้อพระวงศ์หลายคนที่เคยดูแลหน้าที่ในกระทรวงต่างๆ อีกทั้งเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชนชาติ จึงทรงมีรับสั่งให้มีการหยุดการเวนคืนที่ดินจากประชาชน ผ่อนปรนกฎหมายคนหลบหนี ผลักดันวัฒนธรรมชาวฮั่น ซึ่งการยกย่องวัฒนธรรมของชาวฮั่นกับความคิดในการปฏิรูปเพื่อให้แมนจูกับชาวฮั่นสามารถอยู่ร่วมกันของซุ่นจื้อ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับขุนนางใหญ่จำนวนไม่น้อย ความผิดหวังในทางการเมือง ได้ทำให้ซุ่นจื้อหันมาทุ่มเทให้กับความรักให้กับพระมเหสีต่งเอ้อ พระสนมต่งเอ้อ โดยเล่าขานกันว่า พระมเหสีต่งเอ้อเดิมเป็นน้องสะใภ้ของซุ่นจื้อ เป็นภรรยาของป๋อมู่ป๋อกั่วเอ่อ (博穆博果尔) แต่มีความสนิทสนมใกล้ชิดกับซุ่นจื้อมาก หลังป๋อกั่วเอ่อเสียชีวิตในปีซุ่นจื้อที่ 13 ฮ่องเต้ซุ่นจื้อจึงได้แต่งตั้งนางให้เป็นพระสนมของตน หลังจากเป็นสนมของซุ่นจื้อได้หนึ่งปี พระมเหสีต่งเอ้อก็ได้ให้กำเนิดพระโอรส ซึ่งเดิมจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท ทว่าพระโอรสพระองค์นี้กลับเสียชีวิตไปเมื่ออายุได้เพียง 3 เดือน ทำให้พระมเหสีต่งเอ้อตรอมใจจนสิ้นพระชนม์ และได้รับการอวยยศตามหลังจากเซี่ยวจวงฮองไทเฮา ให้เป็นเสี้ยวเซี่ยนตวนจิ้งฮองเฮา จักรพรรดิซุ่นจื้อครองราชย์ถึงปีที่ 18 (ค.ศ. 1661) ก็สวรรคตไปด้วยพระชนมายุเพียง 24 พรรษา ทว่าการสวรรคตของพระองค์กลับเป็นปริศนาถูกกล่าวขานไว้หลายรูปแบบ โดยบ้างระบุว่าพระองค์เสียพระทัยกับการสูญเสียพระสนมและพระโอรส ทำให้ร่างกายและจิตใจได้รับความกระทบกระเทือน และสิ้นพระชนม์ด้วยโรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ)ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ในขณะที่บันทึกของชาวบ้านกลับระบุว่า พระองค์ทรงมีความฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สุดท้ายเมื่อสูญเสียพระสนมอันเป็นที่รัก จึงได้ออกผนวช ณ เขาอู่ไถ (五台山) และต่อมาพระโอรสลำดับที่ 3 ของพระองค์ ที่ประสูติแต่ พระมเหสีคัง คือ องค์ชายเสวียนเยว่ (玄燁) พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้คังซีตามพระพินัยกรรมของซุ่นจื้อในนาม จักรพรรดิคังซี ซึ่งต่อมาทรงเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ชิง และพระนางเสี้ยวจวงก็เป็นผู้อุปการะพระองค์มาโดยตลอด และได้เลื่อนพระอิสริยยศเป็นไท่หวงไท.

จักรพรรดิซุ่นจื้อและจักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวง · จักรพรรดิซุ่นจื้อและหฺวัง ไถจี๋ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวตฺวันเหวิน

ักรพรรดินีเสี้ยวตฺวันเหวิน (孝端文皇后Empress Xiaoduanwen) พระจักรพรรดินีในจักรพรรดิหวงไถจี๋และพระนางเป็นพระปิตุจฉาเจ้า(อาหญิง)ของสมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวจวงเหวินและเป็นพระมาตุจฉาเจ้า(ยายอา)ในสมเด็จพระจักรพรรดิจักรพรรดิซุ่นจื้อทรงพระนามเดิม เจอเจอ (哲哲Jerjer) ในราชสกุล บอร์จิกิต.

จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวงและจักรพรรดินีเซี่ยวตฺวันเหวิน · จักรพรรดินีเซี่ยวตฺวันเหวินและหฺวัง ไถจี๋ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวงและหฺวัง ไถจี๋

จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวง มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ หฺวัง ไถจี๋ มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 12.12% = 4 / (15 + 18)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวงและหฺวัง ไถจี๋ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »