โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หัวใจเต้นเร็วและเว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง หัวใจเต้นเร็วและเว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน

หัวใจเต้นเร็ว vs. เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน

หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) เป็นภาวะซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นไปจากภาวะปกติ โดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ อัตราการเต้นของหัวใจที่ถือว่าเร็วคือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ภาวะที่มีหัวใจเต้นเร็วนี้อาจเกิดขึ้นตามปกติ (เช่น หลังการออกกำลังกาย) หรือผิดปกติ (เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบ่งตามจุดกำเนิดในหัวใจได้ 2 ชนิด คือ supraventricular tachycardia (SVT) เกิดในหัวใจห้องบน และ ventricular tachycardia (VT) เกิดในหัวใจห้องล่าง. เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน (ventricular fibrillation,VF, V-Fib) หรือ หัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว เป็นภาวะซึ่งมีการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างอย่างไม่สัมพันธ์กัน จึงเหมือนเป็นการเต้นแผ่วระรัวซึ่งไม่ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือด ไม่สามารถคลำชีพจรได้ เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ยืนยันการวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเท่านั้น ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันทีเนื่องจากหากการเต้นแบบฟิบริลเลชันนี้ดำเนินไปอีกไม่กี่วินาทีอาจกลายเป็นหัวใจหยุดเต้นได้ ภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดภาวะช็อคเหตุหัวใจ ไม่มีการไหลเวียนของเลือด และทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที หากได้รับการกู้ชีพขึ้นมาไม่ทันท่วงที ทำให้สมองขาดออกซิเจนเกินกว่าระยะเวลาหนึ่ง (ประมาณ 5 นาทีที่อุณหภูมิห้อง) อาจมีความเสียหายของสมองอย่างไม่สามารถทำให้กลับคืนเป็นปกติได้หรือถึงขั้นสมองตายได้ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:สาเหตุการเสียชีวิต หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง หัวใจเต้นเร็วและเว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน

หัวใจเต้นเร็วและเว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าห้วใจแบบ 12 ขั้วไฟฟ้า การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งเพื่อดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวหนังบริเวณหน้าอก และบันทึกหรือแสดงบนจอภาพด้วยอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกร่างก.

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและหัวใจเต้นเร็ว · การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและเว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะใดๆ ที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ทันที ชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตนั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกใจสั่น หรือไม่สบายตัวเล็กน้อย ความรู้สึกใจสั่นนี้อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นแผ่วระรัวไม่ว่าจะเป็นห้องบนหรือห้องล่าง หรือการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หรือภาวะอื่นๆ และบางชนิดอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เกิดความพิการได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจผิดปกติเพียงเล็กน้อยและมีผลเสียน้อยจนถือเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ถือเป็นโรค หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

หัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจเต้นเร็ว · หัวใจเต้นผิดจังหวะและเว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง หัวใจเต้นเร็วและเว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน

หัวใจเต้นเร็ว มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 15.38% = 2 / (7 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง หัวใจเต้นเร็วและเว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »