เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

หองจูเหียบและเกียนสิด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง หองจูเหียบและเกียนสิด

หองจูเหียบ vs. เกียนสิด

ักรพรรดิฮั่นเซี่ยน หรือ ฮั่นเซี่ยนตี้ สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่นเหี้ยนเต้ พระนามเดิม เสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ เหียบ ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเหียบ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เสียเจ้าชายน้อย") หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ตามที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) เป็นพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ฮั่น และเป็นหนึ่งในตัวละครตามวรรณกรรมสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 724 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ ตั๋งโต๊ะ ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งต้าฮั่นในปี พ.ศ. 732 ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้ จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี พ.ศ. 735 ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและสิบขันที ดังนั้น ในปี พ.ศ. 739 โจโฉ ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหาเล่าปี่ ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่งแคว้นเว่ย พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจเฮา บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี พ.ศ. 757 พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่งอ๋องหรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสามแคว้น (สามก๊ก) ไป ๆ มา ๆ จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ โจผี พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 763 และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋องเล่าปี่ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี พ.ศ. 772 ง่ออ๋องซุนกวนก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง และมีชีวิตอย่างสงบสุขเรื่อยมา จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 777 ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษ. กียนสิด หรือ เกนหวน (เสียชีวิต ค.ศ. 189) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า เจี่ยนชั่ว เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้ประชวรหนักใกล้สวรรคต พระองค์ได้เรียกเกียนสิดมาปรึกษาเรื่องรัชทายาท เกียนสิดแนะนำว่าควรให้หองจูเหียบซึ่งเป็นพระโอรสองค์เล็กขึ้นครองราชย์ แต่เนื่องจากโฮจิ๋น พระปิตุลาของหองจูเปียนพระโอรสองค์โตยังกุมอำนาจทางการทหารอยู่ จึงควรให้สังหารโฮจิ๋นเสีย พระเจ้าเลนเต้ทรงเห็นชอบจึงส่งคนไปเรียกโฮจิ๋นเพื่อลวงสังหาร แต่แผนการของเกียนสิดกลับรั่วไหล โฮจิ๋นทราบความจึงคิดกำจัดเหล่า 10 ขันที ต่อมา พระเจ้าเลนเต้สวรรคต โฮจิ๋นทูลเชิญหองจูเปียขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ แล้วให้อ้วนเสี้ยวคุมกองกำลังห้าพันนายออกตามสังหารเกียนสิด เกียนสิดหนีเข้าไปในสวนดอกไม้ แล้วถูกก๊กเสงซึ่งมีใจพยาบาทเกียนสิดฆ่าตาย เหล่าขันทีที่เหลือ 9 คนได้ตัดศีรษะเกียนสิดมาขอขมาโฮจิ๋น แล้วบอกว่าแผนการสังหารโฮจิ๋นนั้นเป็นความคิดของเกียนสิดแต่เพียงผู้เดียว พวกตนที่เหลือมิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ขันทีที่เหลือจึงรอดจากการถูกสังหารของโฮจิ๋น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง หองจูเหียบและเกียนสิด

หองจูเหียบและเกียนสิด มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชวงศ์ฮั่นสามก๊กสิบขันทีหองจูเปียนจักรพรรดิฮั่นหลิง

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ราชวงศ์ฮั่นและหองจูเหียบ · ราชวงศ์ฮั่นและเกียนสิด · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

สามก๊กและหองจูเหียบ · สามก๊กและเกียนสิด · ดูเพิ่มเติม »

สิบขันที

ันที หรือ สิบเสียงสี (Ten Attendants) เป็นกลุ่มของขุนนางขันทีที่มีอิทธิพลในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ (ฮั่นหลิงตี้ ครองราชย์ ค.ศ. 168 - ค.ศ. 189) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน แม้ว่าจะถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มของคน 10 คน แต่จริงๆแล้วกลุ่มสิบขันทีประกอบด้วยขันทีจำนวน 12 คน และทุกคนดำรงตำแหน่งจงฉางชื่อ (中常侍; "ขันทีส่วนกลาง") ในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ ขันทีทั้ง 12 คนได้แก่ เตียวเหยียง (張讓 จางร่าง), เตียวต๋ง (趙忠 เจ้าจง), เห้หุย (夏惲 เซี่ยยฺหวิน), ก๊กเสง (郭勝 กัวเซิ่ง), ซุนจาง (孫璋), ปี้หลัน (畢嵐), ลี่ซง (栗嵩), ต๋วนกุย (段珪 ตฺวั้นกุย), เกาว่าง (高望), จางกง (張恭), หันคุย (韓悝) และซ่งเตี่ยน (宋典) (張讓者,潁川人;趙忠者,安平人也。... 是時讓、忠及夏惲、郭勝、孫璋、畢嵐、栗嵩、段珪、高望、張恭、韓悝、宋典十二人,皆為中常侍,...) โฮ่วฮันชู เล่มที่ 78.

สิบขันทีและหองจูเหียบ · สิบขันทีและเกียนสิด · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเปียน

อ๋องแห่งหงหนง หรือพระนามเดิมว่า เปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ เปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เปี้ยนเจ้าชายน้อย") เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ฮั่น (พระองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้และนางโฮเฮา มีพระอนุชาต่างพระมารดาคือ หองจูเหียบ ในปี พ.ศ. 732 พระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ โฮจิ๋นพี่ชายของนางโฮเฮาผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ทูลเชิญหองจูเปียนขึ้นสืบราชบัลลังก์ ขณะนั้น หองจูเปียนมีพระชนม์ได้ 14 พรรษา ต่อมา โฮจิ๋นถูกสิบขันทีฆ่า และสิบขันทีถูกกำจัด ตั๋งโต๊ะได้เข้ามามีอำนาจแทน แล้วถอดหองจูเปียนออกจากพระราชบัลลังก์ ลดฐานันดรจากพระมหากษัตริย์เป็นอ๋อง (เจ้าชาย) มีบรรดาศักดิ์ว่า "อ๋องแห่งหงหนง" แล้วให้ตั้งหองจูเหียบเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าเหี้ยนเต้ แล้วตั้งตนเองเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช (นายกรัฐมนตรี) ต่อมาในพ.ศ. 733 ตั๋งโต๊ะจึงส่งคนสนิทไปประหารหองจูเปียนพร้อมทั้งพระราชชนนีและพระสนม.

หองจูเปียนและหองจูเหียบ · หองจูเปียนและเกียนสิด · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นหลิง

มเด็จพระจักรพรรดิหลิงแห่งราชวงศ์ฮั่น หรือ ฮั่นหลิงตี้ หรือ ฮั่นเลนเต้ (Emperor Ling of Han) ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่น รัชกาลที่ 24 เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 699 เป็นพระโอรสของเล่าจั้ง เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชนิกูลเล่า เจ้าเมืองตูตัง เมื่อสิ้นบุญ พระเจ้าฮวนเต้ (漢桓帝) ได้ขอพระองค์นั้นไปชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง ทรงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้มาก จึงทรงแต่งตั้งเป็นพระรัชทายาท เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระราชโอรส เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 711 พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮวนเต้ในปีเดียวกัน ขณะมีพระชนมายุ 12 พรรษา และได้แต่งตั้งพระราชมารดาของพระองค์ขึ้นเป็น พระพันปีหลวงตังไทเฮา เพราะฉะนั้นเองพระมารดาของพระเจ้าเลนเต้จึงเป็น สมเด็จพระพันปีหลวงไทเฮาเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่ไม่ได้เป็นพระมเหสีของฮ่องเต้พระองค์ใด และรัชสมัยของพระองค์นั่นก็เป็นอีกชนวนหนึ่งที่ก่อให้เกิดยุคสามก๊ก เนื่องจากหลังจากทรงครองราชสมบัติไป 10 กว่าปี ก็เริ่มตีตัวออกห่างจากราชการบ้านเมือง หลงมัวเมาในสุรานารี และคำป้อยอของขันที ขันทีก็ได้ใจรีดนาทาเร้นราษฎร ดังนั้นใน พ.ศ. 726 จึงมีกลุ่มชาวนาต่างจังหวัดตั้งกลุ่มกบฏโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) เริ่มยึดครองขยายอำนาจแผ่ไปแว่นแคว้นต่าง ๆ ราชธานีได้ส่งสาส์นไปยังหัวเมืองน้อยใหญ่ให้ช่วยยกทัพมาปราบกบฏโพกผ้าเหลือง และปิดประกาศขอรับสมัครชายผู้ต้องการปกป้องชาติ ซึ่งทำให้ เล่าปี่ (劉備), กวนอู (關羽), เตียวหุย (張飛) ได้มาพบกัน และร่วมมือกัน และเป็นโอกาสให้ตั๋งโต๊ะ (董卓) ได้ขึ้นมาเรืองอำนาจกดขี่ชาวบ้าน ทางวังหลวงก็มีความแตกแยก เพราะมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ หองจูเปียน พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับสมเด็จพระจักรพรรดินีโฮเฮา กับหองจูเหียบ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับพระสนมอองบีหยิน แต่ก็ไม่ได้รับความสนพระทัยจากพระเจ้าเลนเต้มากนัก จนในที่สุด ก็เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 732.

จักรพรรดิฮั่นหลิงและหองจูเหียบ · จักรพรรดิฮั่นหลิงและเกียนสิด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง หองจูเหียบและเกียนสิด

หองจูเหียบ มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ เกียนสิด มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 11.63% = 5 / (30 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง หองจูเหียบและเกียนสิด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: