เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

หลุมขาวและเควซาร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง หลุมขาวและเควซาร์

หลุมขาว vs. เควซาร์

แผนภาพหลุมขาวและหลุมดำ ภาพเคลื่อนไหวแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหลุมขาว, หลุมดำ และรูหนอน ในสัมพัทธภาพทั่วไป ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หลุมขาว (White hole) เป็นพื้นที่สมมติชนิดหนึ่งในทางทฤษฎีของกาลอวกาศซึ่งไม่มีสิ่งใดสามารถเข้าไปได้ แต่สสารและแสงสามารถหนีออกมาได้ (ตรงกันข้ามกับหลุมดำ) หลุมขาวปรากฏอยู่ในทฤษฎีหลุมดำนิรันดร์ อย่างไรก็ตามการเกิดหลุมดำสามารถเกิดได้ผ่านการยุบตัวอันเกิดจากแรงโน้มถ่วง แต่หลุมขาวยังไม่สามารถเกิดได้ผ่านกระบวนการทางกายภาพที่รู้จัก. วาดเควซาร์ส่องสว่างในจินตนาการของศิลปิน เควซาร์ หรือ เควเซอร์ (quasar; IPA: /ˈkweɪzɑr/) เป็นคำย่อของคำว่า Quasistellar Radio Sources หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แหล่งกำเนิดของคลื่นวิทยุคล้ายกับดวงดาว ถูกค้นพบเมื่อทศวรรษที่ 1960 ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ เริ่มแรกเควซาร์ไม่มีหลักฐานระบุแน่นอนว่าคืออะไร แต่จากที่นักดาราศาสตร์ได้สำรวจและค้นพบ เควซาร์คือวัตถุที่มีแสงสว่างเจิดจ้าเป็นอย่างมาก อยู่ห่างไกลจากโลกด้วยระยะทาง 100,000,000 ปีแสง หรือมีระยะทางมากกว่า 9.46052841x1023 กิโลเมตร เคลื่อนที่ในอวกาศด้วยความเร็วสูงประมาณ 177,000 ไมล์ต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วเกือบเท่ากับแสง เควซาร์อยู่ห่างไกลจากโลกเป็นอย่างมาก จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นวัตถุที่ก่อกำเนิดขึ้นในห้วงอวกาศ ในยุคของการเริ่มแรกแห่งยุคประวัติศาสตร์ของเอกภพ ซึ่งแสงเจิดจ้าที่ได้รับจากเควซาร์นี้ ได้เดินทางมาในห้วงอวกาศด้วยระยะเวลาหลายสิบล้านปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก เควซาร์อาจจะเดินทางในห้วงอวกาศมายาวนานก่อนที่โลกจะถือกำเนิดขึ้น และจากการศึกษาล่าสุดของนักดาราศาสตร์ได้ระบุว่า เควซาร์คือวัตถุมวลขนาดใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายกับดาวฤกษ์ คือมีแสงสว่างในตัวเอง แต่เควซาร์แตกต่างจากดาวฤกษ์ตรงที่มีแสงสว่างมากกว่าถึง 1,000 เท่า และไม่สามารถระบุตำแหน่งในห้วงอวกาศได้อย่างแน่นอน เควซาร์อาจจะมีขนาดใหญ่โตมโหฬารใกล้เคียงกับระบบสุริยะของโลกหรือใหญกว่าเป็นหลายร้อยเท่า และหมุนด้วยความเร็วราว 153,000 ไมล์/วินาที (250,000 กิโลเมตร/วินาที) เควซาร์ อาจจะเป็นแกนของดาราจักรใหม่ที่กำลังก่อตัวอยู่ หรืออาจจะเป็นศูนย์กลางของหลุมดำก็ได้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง หลุมขาวและเควซาร์

หลุมขาวและเควซาร์ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): หลุมดำแสง

หลุมดำ

มุมมองจำลองของหลุมดำด้านหน้าของทางช้างเผือก โดยมีมวลเทียบเท่าดวงอาทิตย์ 10 ดวงจากระยะทาง 600 กิโลเมตร หลุมดำ (black hole) หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง ยกเว้นหลุมดำด้วยกัน เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลุมดำ" เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุมดำ (ในเชิงทฤษฎี โครงการแอลไอจีโอ) และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง หลุมดำเป็นซากที่สิ้นสลายของดาวฤกษ์ที่ถึงอายุขัยแล้ว สสารที่เคยประกอบกันเป็นดาวนั้นได้ถูกอัดตัวด้วยแรงดึงดูดของตนเองจนเหลือเป็นเพียงมวลหนาแน่นที่มีขนาดเล็กยิ่งกว่านิวเคลียสของอะตอมเดียว ซึ่งเรียกว่า ภาวะเอกฐาน หลุมดำแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ หลุมดำมวลยวดยิ่ง เป็นหลุมดำในใจกลางของดาราจักร, หลุมดำขนาดกลาง, หลุมดำจากดาวฤกษ์ ซึ่งเกิดจากการแตกดับของดาวฤกษ์, และ หลุมดำจิ๋วหรือหลุมดำเชิงควอนตัม ซึ่งเกิดขึ้นในยุคเริ่มแรกของเอกภพ แม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นภายในหลุมดำได้ แต่ตัวมันก็แสดงการมีอยู่ผ่านการมีผลกระทบกับวัตถุที่อยู่ในวงโคจรภายนอกขอบฟ้าเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น หลุมดำอาจจะถูกสังเกตเห็นได้โดยการติดตามกลุ่มดาวที่โคจรอยู่ภายในศูนย์กลางหลุมดำ หรืออาจมีการสังเกตก๊าซ (จากดาวข้างเคียง) ที่ถูกดึงดูดเข้าสู่หลุมดำ ก๊าซจะม้วนตัวเข้าสู่ภายใน และจะร้อนขึ้นถึงอุณหภูมิสูง ๆ และปลดปล่อยรังสีขนาดใหญ่ที่สามารถตรวจจับได้จากกล้องโทรทรรศน์ที่โคจรอยู่รอบโลก การสำรวจให้ผลในทางวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าหลุมดำนั้นมีอยู่จริงในเอกภพ แนวคิดของวัตถุที่มีแรงดึงดูดมากพอที่จะกันไม่ให้แสงเดินทางออกไปนั้นถูกเสนอโดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวอังกฤษ จอห์น มิเชล ในปี 1783 และต่อมาในปี 1795 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ปีแยร์-ซีมง ลาปลาส ก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน ตามความเข้าใจล่าสุด หลุมดำถูกอธิบายโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งทำนายว่าเมื่อมีมวลขนาดใหญ่มากในพื้นที่ขนาดเล็ก เส้นทางในพื้นที่ว่างนั้นจะถูกทำให้บิดเบี้ยวไปจนถึงศูนย์กลางของปริมาตร เพื่อไม่ให้วัตถุหรือรังสีใดๆ สามารถออกมาได้ ขณะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าหลุมดำเป็นพื้นที่ว่างที่มีความเป็นภาวะเอกฐานที่จุดศูนย์กลางและที่ขอบฟ้าเหตุการณ์บริเวณขอบ คำอธิบายนี่เปลี่ยนไปเมื่อค้นพบกลศาสตร์ควอนตัม การค้นคว้าในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากหลุมดำจะดึงวัตถุไว้ตลอดกาล แล้วยังมีการค่อย ๆ ปลดปล่อยพลังงานภายใน เรียกว่า รังสีฮอว์คิง และอาจสิ้นสุดลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับหลุมดำที่ถูกต้องตามทฤษฎีควอนตัม.

หลุมขาวและหลุมดำ · หลุมดำและเควซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

แสง

ปริซึมสามเหลี่ยมกระจายลำแสงขาว ลำที่ความยาวคลื่นมากกว่า (สีแดง) กับลำที่ความยาวคลื่นน้อยกว่า (สีม่วง) แยกจากกัน แสง (light) เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คำนี้ปกติหมายถึง แสงที่มองเห็นได้ ซึ่งตามนุษย์มองเห็นได้และทำให้เกิดสัมผัสการรับรู้ภาพ แสงที่มองเห็นได้ปกตินิยามว่ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400–700 นาโนเมตร ระหวางอินฟราเรด (ที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าและมีคลื่นแคบกว่านี้) และอัลตราไวโอเล็ต (ที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าและมีคลื่นกว้างกว่านี้) ความยาวคลื่นนี้หมายถึงความถี่ช่วงประมาณ 430–750 เทระเฮิรตซ์ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักบนโลก แสงอาทิตย์ให้พลังงานซึ่งพืชสีเขียวใช้ผลิตน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ในรูปของแป้ง ซึ่งปลดปล่อยพลังงานแก่สิ่งมชีวิตที่ย่อยมัน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ให้พลังงานแทบทั้งหมดที่สิ่งมีชีวิตใช้ ในอดีต แหล่งสำคัญของแสงอีกแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์คือไฟ ตั้งแต่แคมป์ไฟโบราณจนถึงตะเกียงเคโรซีนสมัยใหม่ ด้วยการพัฒนาหลอดไฟฟ้าและระบบพลังงาน การให้แสงสว่างด้วยไฟฟ้าได้แทนแสงไฟ สัตว์บางชนิดผลิตแสงไฟของมันเอง เป็นกระบวนการที่เรียก การเรืองแสงทางชีวภาพ คุณสมบัติปฐมภูมิของแสงที่มองเห็นได้ คือ ความเข้ม ทิศทางการแผ่ สเปกตรัมความถี่หรือความยาวคลื่น และโพลาไรเซชัน (polarization) ส่วนความเร็วในสุญญากาศของแสง 299,792,458 เมตรต่อวินาที เป็นค่าคงตัวมูลฐานหนึ่งของธรรมชาติ ในวิชาฟิสิกส์ บางครั้งคำว่า แสง หมายถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกความยาวคลื่น ไม่ว่ามองเห็นได้หรือไม่ ในความหมายนี้ รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุก็เป็นแสงด้วย เช่นเดียวกับแสงทุกชนิด แสงที่มองเห็นได้มีการเแผ่และดูดซํบในโฟตอนและแสดงคุณสมบัติของทั้งคลื่นและอนุภาค คุณสมบัตินี้เรียก ทวิภาคของคลื่น–อนุภาค การศึกษาแสง ที่เรียก ทัศนศาสตร์ เป็นขอบเขตการวิจัยที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่) ^~^.

หลุมขาวและแสง · เควซาร์และแสง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง หลุมขาวและเควซาร์

หลุมขาว มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ เควซาร์ มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 9.09% = 2 / (7 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง หลุมขาวและเควซาร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: