เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

หลักข้อเชื่อของอัครทูตและไญยนิยม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง หลักข้อเชื่อของอัครทูตและไญยนิยม

หลักข้อเชื่อของอัครทูต vs. ไญยนิยม

หลักข้อเชื่อของอัครทูต, คริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย (Symbolum Apostolorum/Symbolum Apostolicum;Apostle’s creed) หรือ “หลักข้อเชื่อของอัครธรรมทูต” บางครั้งเรียกว่า “สัญลักษณ์ของอัครทูต” ชาวคาทอลิกเรียกว่า "บทข้าพเจ้าเชื่อ" เป็นคำแถลงเกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ยุคแรก ซึ่งคำแถลงลักษณะนี้เรียกว่า creed (หลักข้อเชื่อ) หรือ symbol (สัญลักษณ์) หลักข้อเชื่อนี้มีปรากฏใช้ในหลายนิกายทั้งในพิธีกรรมและตำราคำสอน และมักพบมากที่สุดในคริสตจักรตะวันตกที่เน้นพิธีกรรม คือคริสตจักรละติน ลูเทอแรน แองกลิคัน และออทอร์ดอกซ์ตะวันตก ตลอดจนเพรสไบทีเรียน เมทอดิสต์ และคริสตจักรคองกริเกชันแนล หลักข้อเชื่อของอัครทูตเป็นข้อความเชื่อที่อิงกับแนวคิดทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ จดหมายต่าง ๆ ในพันธสัญญาใหม่ และบางส่วนจากพันธสัญญาเดิม หลักข้อเชื่อนี้น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากหลักข้อเชื่อโรมัน เพราะในเนื้อหาไม่ได้กล่าวถึงหรือแก้ปัญหาประเด็นปัญหาทางคริสตวิทยาดังที่ปรากฏในหลักข้อเชื่อไนซีนและหลักข้อเชื่ออื่น ๆ ของคริสตชนที่เกิดขึ้นในยุคหลัง เช่น ปัญหาความเป็นพระเจ้าของพระเยซูหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ ชาวคริสต์ยุคแรก ๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตอย่างลัทธิเอเรียสและลัทธิเอกภาพนิยมจึงยอมรับหลักข้อเชื่อนี้ด้วย ชื่อ “หลักข้อเชื่อของอัครทูต” อาจจะเกิดขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ตามความเชื่อของคริสตชนที่ว่าอัครทูตทั้งสิบสองคนเป็นผู้แต่งข้อต่าง ๆ ขึ้นมาด้วยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์หลังจากเทศกาลเพนเทคอสต์ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดยืนยันได้ว่าความเชื่อนี้เป็นเรื่องจริงMcGrath, Alister E., Christian Theology: An Introduction", Singapore: Blackwell Publisher, 2007, p. 14. ญยนิยม หรือลัทธินอสติก (gnosticism; γνῶσις gnōsis ความรู้; الغنوصية‎) คือแนวคิดทางศาสนารูปแบบหนึ่งในสมัยโบราณ ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ควรสละโลกวัตถุ เพื่อมุ่งเน้นเรื่องจิตวิญญาณ แนวคิดเช่นนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อศาสนาสมัยโบราณ ดังเห็นได้จากการถือพรต ถือพรหมจรรย์ เพื่อให้ถึงการหลุดพ้น การตรัสรู้ ความรอด การกลับไปรวมกับพระเป็นเจ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการปฏิบัติอาจแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม ไญยนิยมเริ่มปรากฏรูปแบบชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในบริบทของศาสนาคริสต์ ในอดีตนักวิชาการบางคนเชื่อว่าไญยนิยมเกิดขึ้นก่อนศาสนาคริสต์ และเป็นต้นกำเนิดของความเชื่อและการปฏิบัติหลายอย่างที่แพร่หลายอยู่แล้วในสมัยนั้น ทั้งในศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนายูดาห์แบบเฮลเลนิสต์ ศาสนาโรมันโบราณ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ และลัทธิเพลโต แต่เมื่อค้นพบหอสมุดนักฮัมมาดี กลับไม่ปรากฏตำราไญยนิยม จึงได้ข้อสรุปว่าไญยนิยมที่เป็นระบบ เป็นเอกภาพ เพิ่งถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง หลักข้อเชื่อของอัครทูตและไญยนิยม

หลักข้อเชื่อของอัครทูตและไญยนิยม มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระผู้สร้างศาสนาคริสต์ยุคแรกนอกรีต

พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

พระผู้สร้างและหลักข้อเชื่อของอัครทูต · พระผู้สร้างและไญยนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ยุคแรก

นาคริสต์ยุคแรก (Early Christianity) หมายถึงศาสนาคริสต์ช่วงก่อนการสังคายนาที่ไนเชียครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 325) แบ่งออกได้เป็นสองยุคย่อย คือ สมัยอัครทูตและสมัยก่อนไนเซีย ตามที่ระบุในบทแรกของหนังสือกิจการของอัครทูต คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกเป็นชาวยิวทั้งหมด ไม่ว่าโดยกำเนิดหรือมาเข้ารีตภายหลัง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่าคริสต์ศาสนิกชนชาวยิว การประกาศข่าวดีในสมัยนั้นเป็นแบบมุขปาฐะและใช้ภาษาแอราเมอิก หนังสือ "กิจการของอัครทูต" และ "จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย" ระบุว่าในสมัยนั้นกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของคริตชน โดยมีซีโมนเปโตร ยากอบผู้ชอบธรรม และยอห์นอัครทูต เป็นผู้ปกครองชุมชนร่วมกัน ต่อมาเปาโลซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์กับคริสตชนได้กลับใจมารับเชื่อ และประกาศตนเป็น "อัครทูตมายังพวกต่างชาติ" และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสตชนยิ่งกว่าผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ร่วมกันเขียนพันธสัญญาใหม่Oxford Dictionary of the Christian Church ed.

ศาสนาคริสต์ยุคแรกและหลักข้อเชื่อของอัครทูต · ศาสนาคริสต์ยุคแรกและไญยนิยม · ดูเพิ่มเติม »

นอกรีต

การสังหารหมู่ ณ Mérindol ใน ค.ศ. 1545 เป็นการลงโทษพวกนอกรีตทางศาสนาของฝรั่งเศส นอกรีต (heresy) หมายถึง ไม่ประพฤติตามจารีตประเพณี เป็นคำที่ใช้เรียกทรรศนะของผู้อื่นซึ่งขัดแย้งกับทรรศนะของตน ในโลกตะวันตกคริสตจักรโรมันคาทอลิกเริ่มใช้คำนี้เพื่อหมายถึงแนวความเชื่อใด ๆ ที่ขัดแย้งกับคำสอนต้องเชื่อที่คริสตจักรกำหนด ต่อมาคำนี้ถูกใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือเป็นข้อกล่าวหาที่คนกลุ่มหนึ่งใช้เรียกคนอีกฝ่ายหนึ่งที่มีความเชื่อขัดกับผู้กล่าวหา มักใช้ในกรณีที่มีการละเมิดกฎศาสนาหรือแบบแผนประเพณี ในทางการเมืองนักการเมืองหัวรุนแรงก็อาจใช้คำนี้กล่าวหาฝ่ายตรงข้าม คำนี้ยังมีความหมายโดยนัยถึงพฤติกรรมหรือความเชื่อที่อาจบ่อนทำลายศีลธรรมที่สังคมยอมรับกันอยู่ การนอกรีตต่างจากการละทิ้งความเชื่อซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อทางศาสนาหรือการเมืองเดิมของตน และต่างจากความผิดฐานเหยียดหยามศาสนา ซึ่งหมายถึงการแสดงออกว่าไม่เคารพพระเป็นเจ้าหรือศาสนา แต่การนอกรีตนั้นรวมถึงการเชื่อในศาสนาแต่ต่างจากรูปแบบที่คนส่วนใหญ่ยอมรั.

นอกรีตและหลักข้อเชื่อของอัครทูต · นอกรีตและไญยนิยม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง หลักข้อเชื่อของอัครทูตและไญยนิยม

หลักข้อเชื่อของอัครทูต มี 48 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไญยนิยม มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 4.48% = 3 / (48 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง หลักข้อเชื่อของอัครทูตและไญยนิยม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: