โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หยาดน้ำฟ้าและแก๊สเรือนกระจก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง หยาดน้ำฟ้าและแก๊สเรือนกระจก

หยาดน้ำฟ้า vs. แก๊สเรือนกระจก

ในทางอุตุนิยมวิทยา หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศ (hydrometeor) ประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความถึงผลิตภัณฑ์ใด ๆ อันเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในบรรยากาศและตกลงมาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง รูปแบบหลักของหยาดน้ำฟ้าประกอบด้วยฝนละออง (drizzle), ฝน, ฝนน้ำแข็ง (sleet), หิมะ, ลูกปรายหิมะ (graupel) และลูกเห็บ หยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นเมื่อบรรยากาศเหนือพื้นดินบริเวณหนึ่งอิ่มตัวด้วยไอน้ำ จากนั้นน้ำเกิดการควบแน่นและตกลงมา หมอกและหมอกน้ำค้างจึงไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า มีอยู่สองกระบวนการที่อากาศอิ่มตัวได้ คือ อากาศได้รับความเย็นหรือเพิ่มไอน้ำเข้าไปในอากาศ ซึ่งสองกระบวนการนี้อาจเกิดร่วมกันได้ โดยทั่วไป หยาดน้ำฟ้าจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน แต่ยกเว้นน้ำโปรยฐานเมฆ (virga) ซึ่งระเหยไปหมดก่อนตกถึงพื้น หยาดน้ำฟ้าก่อตัวขึ้นเป็นหยาดเล็กที่รวมกันโดยชนกับหยดฝนหรือผลึกน้ำแข็งอื่นภายในเมฆ หยดฝนที่ตกลงมามีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่รูปทรงคล้ายแพนเค้กกลมแป้นสำหรับหยดขนาดใหญ่ ถึงทรงกลมเล็กสำหรับหยดขนาดเล็ก เกล็ดหิมะ (snowflake) มีหลายรูปทรงและแบบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เกล็ดหิมะเคลื่อนผ่านก่อนตกสู่พื้น หิมะและลูกปรายหิมะจะเกิดเฉพาะเมื่ออุณหภูมิใกล้ผิวดินใกล้หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ส่วนลูกเห็บสามารถเกิดขึ้นในเขตอุณหภูมิอบอุ่นได้จากกระบวนการก่อตัว โดยรวมหยาดน้ำฟ้าเกิดจากความชื้นเหนือแนวปะทะ (weather front) เป็นหลัก หากมีความชื้นเพียงพอและมีการเคลื่อนที่ขึ้น หยาดน้ำฟ้าจะตกจากมวลอากาศร้อนขึ้นทางแนวดิ่ง (convective cloud) เช่น คิวมูโลนิมบัส และสามารถก่อตัวเป็นบริเวณแถบฝนแคบ ๆ ได้. ice core) ล่าง: ปริมาณสุทธิของคาร์บอนที่เพิ่มในบรรยากาศเปรียบเทียบกับคาร์บอนที่ปลดปล่อยจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) แก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) หรือบางครั้งเรียกย่อๆว่า GHG คือแก๊สในบรรยากาศที่ดูดซับและปลดปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่(คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)อินฟราเรดร้อน (thermal infrared range) ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนบางส่วนออกสู่ห้วงอวกาศภายนอกและปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก ขบวนการนี้จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ อุณหภูมิในโลกจะต่ำกว่าปัจจุบันที่ 14 °C (57 °F) ลงอีก 33 °C (59 °F) แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง หยาดน้ำฟ้าและแก๊สเรือนกระจก

หยาดน้ำฟ้าและแก๊สเรือนกระจก มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ไอน้ำเมฆ

ไอน้ำ

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของเอนโทรปีและอุณหภูมิ ของไอน้ำ ไอน้ำ มักจะหมายถึงน้ำที่ระเหย ซึ่งมีลักษณะบริสุทธิ์และไม่มีสีซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับหมอก ที่ความดันปกติ น้ำจะกลายเป็นไอน้ำ ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส และมีปริมาตรขยายเพิ่มประมาณ 1,600 เท่าของปริมาตรน้ำ ไอน้ำสามารถมีอุณหภูมิได้สูงมาก (มากกว่า 100 องศาเซลเซียส) ซึ่งจะถูกเรียกว่า ไอน้ำซูเปอร์ฮีต (superheated steam) เมื่อน้ำในสภาวะของเหลวได้มีการสัมผัสกับวัตถุที่มีความร้อนสูง เช่นโลหะร้อน หรือลาวา น้ำสามารถกลายเป็นไอทันที หมวดหมู่:แก๊สเรือนกระจก หมวดหมู่:ธรรมชาติ หมวดหมู่:รูปแบบของน้ำ.

หยาดน้ำฟ้าและไอน้ำ · แก๊สเรือนกระจกและไอน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เมฆ

มฆชนิดคิวมูลัส เมฆ เกิดจากการรวมตัวหรือเกาะกลุ่มของไอน้ำในที่สุดก็จะเกิดการควบแน่นและตกลงมาเป็นฝน ละอองน้ำและเกล็ดน้ำแข็งที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ ที่เราสามารถมองเห็นได้ ไอน้ำที่ควบแน่น เป็นละอองน้ำ (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม) หรือ เป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเห็นเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆนี้สะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้ ในระดับที่เท่า ๆ กัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำ ถ้าหากเมฆนั้นมีความหนาแน่นสูงมากจนแสงผ่านไม่ได้ เมฆบนดาวดวงอื่นนั้นประกอบด้วยสารอื่นนอกจากน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพบรรยากาศของดาวนั้น.

หยาดน้ำฟ้าและเมฆ · เมฆและแก๊สเรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง หยาดน้ำฟ้าและแก๊สเรือนกระจก

หยาดน้ำฟ้า มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ แก๊สเรือนกระจก มี 102 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 1.79% = 2 / (10 + 102)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง หยาดน้ำฟ้าและแก๊สเรือนกระจก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »