โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หมาจิ้งจอก

ดัชนี หมาจิ้งจอก

หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จิ้งจอก (fox, jackal; อีสาน: หมาจอก) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

38 ความสัมพันธ์: ชื่อสามัญกลางคืนกวางการสูญพันธุ์การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงกิ้งก่าภาษาไทยถิ่นอีสานมนุษย์สกุล (ชีววิทยา)สกุลวูลเปสสัตว์สัตว์กินเนื้อสัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสปีชีส์หมาหมาจิ้งจอกหูค้างคาวหมาจิ้งจอกอาร์กติกหมาจิ้งจอกทองหมาจิ้งจอกแดงหมาป่าเคราขาวอีสปอนุกรมวิธานจังหวัดมิยางิจิ้งเหลนขั้วโลกเหนือความเชื่อประเทศรัสเซียประเทศไทยปิศาจนิทานแย้แจ็กคัลไฟลัมไทยบางแก้วเอเชียกลางเอเชียตะวันออก

ชื่อสามัญ

ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและชื่อสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

กลางคืน

กลางคืน กลางคืน (Night) คือช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นของวันใหม่ เวลากลางคืนตรงข้ามกับเวลากลางวันซึ่งรวมกันเป็น 24 ชั่วโมง ช่วงเวลามีความแตกต่างโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ฤดูกาล ละติจูด ลองติจูด และเขตเวล.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและกลางคืน · ดูเพิ่มเติม »

กวาง

กวางเรนเดียร์ หรือกวางแคริบู (''Rangifer tarandus'') ซึ่งเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางเหนือ กวาง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง) ที่จัดอยู่ในวงศ์ Cervidae มีลักษณะขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา ลักษณะเขาตัน ไม่กลวง เป็นเกลียว บางชนิดอาจแตกแขนงได้มากเหมือนกิ่งไม้ ไม่มีถุงน้ำดี ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและกวาง · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่า

กิ้งก่า (Lizard, Iguana, Gecko, Skink; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: จั๊กก่า; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: กะปอม) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง คำว่า "Lacertilia" มาจากภาษาละตินคำว่า "lacerta" ในความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชน.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สกุลวูลเปส

กุลวูลเปส (Fox, True fox) เป็นสกุลของหมาจิ้งจอกสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Vulpes จัดได้ว่าเป็นหมาจิ้งจอกแท้ ๆ ซึ่งคำว่า "Vulpes" เป็นภาษาลาตินหมายถึง "หมาจิ้งจอก" สกุลวูลเปส นับเป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดของหมาจิ้งจอก คือ มีทั้งหมด 12 ชนิด โดยมี หมาจิ้งจอกแดง (Vulpes vulpes) เป็นต้นแบบของสกุล พบกระจายพันธุ์ไปแทบทุกส่วนของโลก ทั้ง ป่า, ชายป่าใกล้ชุมชนมนุษย์, ทะเลทราย, ที่ราบสูง หรือแม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและสกุลวูลเปส · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หมา

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: malie suimak หรือ Canis familiaris)Wang, Xiaoming; Tedford, Richard H.; Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและหมา · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอกหูค้างคาว

หมาจิ้งจอกหูค้างคาว (Bat-eared fox) เป็นสัตว์กินเนื้อในวงศ์ Canidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Otocyon megalotis เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวในสกุล Otocyon มีถิ่นกำเนิดในตอนใต้ของทวีปแอฟริกาและแอฟริกาตะวันออก ชอบอยู่เป็นฝูง อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนา มีลำตัวสีน้ำตาลเทา ยกเว้นขาทั้ง 4 ข้าง, ส่วนหน้าของใบหน้า, ปลายหาง และใบหูเป็นสีดำ เป็นหมาจิ้งจอกที่มีขนาดเล็ก อุปนิสัยไม่ดุร้าย มีความยาวตั้งแต่หัวจรดปลายหางประมาณ 55 เซนติเมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 3-5 กิโลกรัม มีจุดเด่นอยู่ที่ใบหูที่ยาวใหญ่ถึง 13 เซนติเมตร รูปร่างคล้ายค้างคาวอันเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งเป็นที่รวมของเส้นเลือดต่าง ๆ ช่วยระบายความร้อน และทำให้มีประสาทการรับฟังอย่างดีเยี่ยม จนสามารถฟังได้แม้กระทั่งเสียงคลานของแมลง โดยอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 2-6 ตัว ในโพรงดิน นอกจากนี้แล้วยังมีฟันและกรามที่แตกต่างไปจากสุนัขชนิดอื่น ๆ คือ สุนัขทั่วไปจะมีฟันกรามบน 2 ซี่ และกรามล่าง 3 ซี่ แต่หมาจิ้งจอกหูค้างคาวมีฟันกรามบน 3 ซี่ และกรามล่าง 4 ซี่ และสามารถขยับกรามได้อย่างรวดเร็วเพื่อเคี้ยวแมลงได้อีกต่างหาก ออกหากินในเวลากลางคืน ในฤดูหนาวจะหากินในเวลากลางวัน โดยกินแมลงจำพวกปลวกเป็นอาหารหลัก และสัตว์ฟันแทะ รวมถึงผลไม้บางชนิด โตเต็มวัยเมื่ออายุได้ 7-9 เดือน มีฤดูผสมพันธุ์ในฤดูหนาว ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว แม่หมาจิ้งจอกหูค้างคาวจะเลี้ยงลูกนานราว 15 สัปดาห์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและหมาจิ้งจอกหูค้างคาว · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอกอาร์กติก

หมาจิ้งจอกอาร์กติก, หมาจิ้งจอกขั้วโลก หรือ หมาจิ้งจอกหิมะ (Arctic fox, Snowy fox, Polar fox; หรือ Alopex lagopus) เป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็ก อาศัยอยู่ทั่วไปในเขตชายผั่งมหาสมุทรอาร์กติก ตลอดจนเขตทุนดราที่เต็มไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอีกชนิดหนึ่ง ที่มีขนสีขาวเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ช่วยให้ล่าเหยื่อได้ง่าย และสามารถพรางตัวจากศัตรูได้ด้ว.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและหมาจิ้งจอกอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอกทอง

หมาจิ้งจอกทอง หรือ หมาจิ้งจอกเอเชีย (pmc Reed wolf) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis aureus ในวงศ์สุนัข (Canidae) และถึงแม้ว่าจะได้ชื่อสามัญว่าในภาษาไทยว่า "หมาจิ้งจอก" แต่ก็มิได้เป็นหมาจิ้งจอกแท้ ๆ เพราะมิได้อยู่ในสกุล Vulpini แต่จัดเป็นหมาป่าที่มีขนาดเล็ก (แจ็กคัล) กว่าหมาใน.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและหมาจิ้งจอกทอง · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอกแดง

หมาจิ้งจอกแดง (Red fox) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ ซึ่งอยู่ในวงศ์สุนัข (Canidae) จัดได้ว่าเป็นหมาจิ้งจอกแท้ชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและหมาจิ้งจอกแดง · ดูเพิ่มเติม »

หมาป่าเคราขาว

หมาป่าเคราขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysocyon brachyurus; Maned wolf) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Chrysocyon พบในทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศบราซิล, ประเทศปารากวัย และประเทศโบลิเวีย หมาป่าเคราขาวมีลักษณะโดยผิวเผินคล้ายคลึงกับหมาจิ้งจอก แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก โดยสูงถึงสามฟุตนับจากเท้าถึงหัวไหล่ เพราะมีช่วงขาที่ยาวทำให้การมองเห็นได้ดีเมื่อต้องอยู่ในทุ่งหญ้าหรือที่รกชัฏ มีน้ำหนักประมาณ 20 ถึง 25 กิโลกรัม ขนลำตัวเป็นสีแดงน้ำตาล โดยมีขนขาและหลังคอเป็นสีดำ ขนปลายหางและใต้ลำคอเป็นสีขาว ขนดำที่หลังคอเป็นขนยาวและตั้งชันได้เวลากลัวหรือต้องการแสดงความก้าวร้าว หมาป่าเคราขาวมักอาศัยเป็นลำพัง หรือเป็นคู่ ซึ่งต่างจากสัตว์ในวงศ์หมาป่าขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆที่มักอยู่เป็นฝูง หมาป่าเคราขาวล่าสัตว์ขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นอาหารในเวลากลางคืน เช่น สัตว์ฟันแทะ, กระต่าย และ นก นอกเหนือจากนี้ หมาป่าเคราขาวกินผลไม้และพืชอีกหลายชนิดไม่แพ้เนื้อสัตว์ หากไม่ได้กินพืช หมาป่าเคราขาวจะเป็นโรคนิ่วได้ หมาป่าเคราขาวที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเซอราโด ของบราซิล มีพฤติกรรมชอบกินผลของโลบิรา (Solanum lycocarpum) มาก และเมื่อกินแล้วจะถ่ายมูลลงบนยอดจอมปลวกเล็ก ๆ ที่ขึ้นในทุ่งหญ้าเซอราโด ซึ่งในมูลนั้นจะมีเมล็ดของโลบิราอยู่ด้วย ซึ่งจะงอกเป็นต้นโลบิราขึ้นมาบนจอมปลวกนั้น เป็นเหตุให้ต้นโลบิราในทุ่งหญ้าเซอราโด มักขึ้นอยู่บนยอดจอมปลวกขนาดเล็ก ในปัจจุบัน หมาป่าเคราขาวมีจำนวนลดลง เนื่องจากถูกล่าจากมนุษย์ และติดเชื้อโรคจากสุนัขบ้าน หมาป่าเคราขาวเป็นสัตว์ในบัญชีหมายเลข ๒ ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) โดยห้ามส่งออกหรือนำเข้าโดยปราศจากใบอนุญาต ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและหมาป่าเคราขาว · ดูเพิ่มเติม »

อีสป

''Aesopus moralisatus'', 1485 อีสป (Aesop; Αἴσωπος; ประมาณ 620–564 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักเล่านิทานหรือนักเล่าเรื่องชาวกรีกโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าของนิทานจำนวนหนึ่งซึ่งปัจจุบันรู้จักกันรวม ๆ ว่า นิทานอีสป แม้การดำรงอยู่ของเขาจะยังไม่แน่ชัดและไม่มีงานเขียนของเขาเหลือรอดมาเลย (หากมี) แต่นิทานจำนวนมากซึ่งถือว่าเป็นของเขาถูกรวบรวมตลอดหลายศตวรรษในหลายภาษาในประเพณีการเล่าเรื่องซึ่งดำเนินมาจวบปัจจุบัน นิทานหลายเรื่องใช้สัตว์หรือวัตถุไม่ใช่สัตว์ที่สามารถพูด แก้ไขปัญหาและโดยทั่วไปมีคุณสมบัติอย่างมนุษย์ รายละเอียดชีวิตของอีสปที่กระจัดกระจายสามารถพบได้ในแหล่งข้อมูลโบราณ รวมถึงอริสโตเติล เฮโรโดตัส และพลูทาร์ก งานวรรณกรรมโบราณชื่อ The Aesop Romance เล่าชีวิตอีสปเป็นตอน ๆ และอาจเป็นฉบับที่เป็นนิยายอย่างสูง ซึ่งรวมถึงคำอธิบายเขาแต่เดิมว่าเป็นทาสที่น่าเกลียดสะดุดตา ซึ่งได้รับอิสรภาพของตนมาด้วยความฉลาด และกลายเป็นผู้ถวายคำปรึกษาแด่พระมหากษัตริย์และนครรัฐต่าง ๆ ประเพณีสมัยหลัง (ซึ่งมาจากสมัยกลาง) พรรณนาอีสปว่าเป็นชาวเอธิโอเปียผิวดำ หมวดหมู่:ชาวกรีกโบราณ หมวดหมู่:นักเขียนชาวกรีกโบราณ.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและอีสป · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดมิยางิ

ังหวัดมิยางิ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในภูมิภาคโทโฮกุของญี่ปุ่นอยู่บนเกาะฮนชู มีเซ็นไดเป็นเมืองหลวงเป็นเมืองแห่งปราสาท และหนึ่งในนั้นเป็นปราสาทที่ไดเมียวดาเตะ มาซามุเนะ เจ้าผู้ครองแคว้นโบราณเคยสร้างเอาไว้ เด่นในด้านเกษตรกรรมและการประมง และเป็นแหล่งจุดชมวิวที่สวยงามของญี่ปุ่นที่อ่าวมัตสึชิมะ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม..

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและจังหวัดมิยางิ · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งเหลน

้งเหลน (Skink, ชื่อวิทยาศาสตร์: Scincidae) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่จัดอยู่ในอันดับ Squamata เช่นเดียวกับงูและกิ้งก่า จัดอยู่ในวงศ์ Scincidae มีรูปร่างโดยรวม คือ ลดรูปรยางค์ขาแตกต่างกันหลายระดับเพราะบางชนิดมีขาใหญ่ บางชนิดมีขาเล็กมาก และบางชนิดไม่มีขา มีรูปร่างแตกต่างกันตั้งแต่ลำตัวป้อมและขาใหญ่ไปจนถึงลำตัวเรียวยาวคล้ายงู เกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลังและด้านท้องรูปร่างกลมและเรียบเป็นมัน เกล็ดเรียงซ้อนเหลื่อมกันและมีกระดูกในชั้นหนังรองรับโดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เกล็ดแต่ละแผ่นมีกระดูกในชั้นหนังหลายชิ้นซึ่งแตกต่างจากกิ้งก่าวงศ์อื่น ๆ ที่มีชั้นเดียว ลักษณะจำเพาะและแตกต่างจากกิ้งก่าวงศ์อื่นอีกประการ คือ หลายชนิดของวงศ์นี้มีเพดานปากแบบทุติยภูมิเจริญขึ้นมา กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์ควาวิเคิลเป็นรูปโค้งหรือไม่มีกระดูกชิ้นนี้และกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม หางค่อนข้างยาว หลายชนิดปล่อยหางหลุดจากลำตัวได้เหมือนเช่น จิ้งจก เพื่อเอาตัวรอดจากศัตรู โดยตำแหน่งที่ปล่อยหางอยู่ทางด้านหน้าของก้านกระดูกทางด้านข้างของก้านกระดูกทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนหาง พื้นผิวด้านบนของลิ้นเป็นตุ่มยาว ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกพเทอรีกอยด์มีฟันหรือไม่มีฟัน วงศ์จิ้งเหลนนี้ถือว่าเป็นวงศ์ที่ใหญ่มาก สามารถแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 4 วงศ์ (ดูในตาราง) แบ่งออกได้เป็นสกุลต่าง ๆ ได้ถึง 116 สกุล และเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ราว 1,000 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะการค้นพบใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี สำหรับสัตว์ในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ จิ้งเหลนบ้าน (Eutropis multifasciata) ที่สารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย เป็นต้น.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและจิ้งเหลน · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกเหนือ

ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและขั้วโลกเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปิศาจ

ปีศาจ (ปิศาจ; demon) หมายถึง ผี วิญญาณชั่วร้ายให้โทษ ตรงข้ามกับเทวดาหรือทูตสวรรค์ซึ่งเป็นวิญญาณฝ่ายดีและให้คุณ เป็นคติที่มักพบในศาสนา เรื่องลี้ลับ วรรณกรรม บันเทิงคดี เรื่องปรัมปรา และนิทานพื้นบ้าน.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและปิศาจ · ดูเพิ่มเติม »

นิทาน

นิทาน (นิทาน, Fable) ในภาษาไทย มีใช้อย่างน้อย ๒ ความหมาย คือ.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและนิทาน · ดูเพิ่มเติม »

แย้

แย้ (Butterfly lizards, Small-scaled lizards, Ground lizards, Butterfly agamas) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae วงศ์ย่อย Leiolepidinae พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน พบทั้งหมด 8 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและแย้ · ดูเพิ่มเติม »

แจ็กคัล

แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของแจ็กคัลทั้ง 3 ชนิด แจ็กคัล (Jackal) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์สุนัข (Canidae) ในสกุล Canis จำพวกหนึ่ง แจ็กคัลจะมีขนาดเล็กกว่าหมาป่า แต่มีขนาดใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก โดยที่คำว่า "jackal" นั้น แผลงมาจากคำว่า "ชะฆาล" (شغال, shaghāl) ในภาษาเปอร์เซีย หรือคำว่า "ชาคัล" (çakal) ในภาษาตุรกี หรือมาจากคำว่า "ศฤคาล" (शृगाल, śṛgāla) ในภาษาสันสกฤต แจ็กคัลมีทั้งหมด 3 ชนิด กระจายพันธุ์ไปทั้งทวีปเอเชีย, ยุโรปบางส่วน และแอฟริกา ได้แก่ หมาจิ้งจอกทอง (Canis aureus), หมาจิ้งจอกข้างลาย (C. adustus) และหมาจิ้งจอกหลังดำ (C. mesomelas) ซึ่งชนิดแรกนั้นพบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมถึงในประเทศไทย), แอฟริกาตอนเหนือและบางส่วนของยุโรป ส่วนสองชนิดหลังนั้นพบเฉพาะทวีปแอฟริกาเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว หมาป่าไคโยตี (C. latrans) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ บางครั้งที่ถูกเรียกว่า "อเมริกันแจ็กคัล" ด้วยเหมือนกัน.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและแจ็กคัล · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไทยบางแก้ว

ทยบางแก้ว หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า บางแก้ว (Thai bangkaew dog, Bangkaew) สุนัขประเภทสปิตซ์สายพันธุ์หนึ่ง ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และถือเป็นสุนัขไทยสายพันธุ์เดียวที่มีขนยาวสองชั้น หางเป็นพวง มีขน ขาหน้าคล้ายขนขาแข้งสิงห์แผงรอบคอคล้ายสิงโตมีความเฉลียวฉล.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและไทยบางแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียกลาง

แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ เอเชียกลาง(อังกฤษ: Central Asia หรือ Middle Asia รัสเซีย: Центральная Азия) เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกทะเล มีคำนิยามที่ต่างกันออกไปสำหรับขอบเขตของดินแดนที่จัดอยู่ในภูมิภาคเป็นเอเชียกลาง และยังไม่มีคำนิยามใดที่เป็นที่ยอมรับโดยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามลักษณะโดยทั่วไปของดินแดนในภูมิภาคนี้คือ มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับกลุ่มชนร่อนเร่ (nomad) และ เส้นทางสายไหม ซึ่งทำให้ในอดีตนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนเส้นทางของ สินค้า คน รวมถึง แนวความคิด ระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออก

แผนที่เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 6,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 15% ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย ประเทศซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกและเอเชียตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Vulpiniสุนัขจิ้งจอกจิ้งจอก (หมา)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »