โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวรและหน่วยความจำแฟลช

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวรและหน่วยความจำแฟลช

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวร vs. หน่วยความจำแฟลช

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวร (Non-volatile random-access memory, NVRAM) หรือ แรมจำข้อมูลถาวร คือ หน่วยความจำเข้าถึงข้อมูลโดยสุ่มที่ยังสามารถเก็บข้อมูลอยู่แม้จะไม่มีไฟฟ้าหล่อเลี้ยง (หรือ หน่วยความจำถาวร) โดยทั่วไปเรามักจะคุ้นกับคำว่า แรม หรือ ดีแรม (DRAM) ที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่แรมเหล่านี้จะลืมข้อมูลเมื่อไฟฟ้าดับ แรมจำข้อมูลถาวรที่เรารู้จักกันดีที่สุดในปัจจุบันก็คือ หน่วยความจำแบบแฟลช ซึ่งนำไปสร้างเป็นสิ่งต่างๆ เช่น แฟลชไดรฟ์, โซลิดสเตตไดรฟ์ (ซึ่งสามรถประดิษฐ์จากดีแรมได้) ถึงแม้หน่วยความจำแบบแฟลชจะมีประสิทธิภาพดีกว่าจานบันทึกแบบแข็งมาก แต่ก็ยังถือว่าห่างไกลกับแรมที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมากนัก และหน่วยความจำแบบแฟลชที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดในปัจจุบันจะมีข้อจำกัดทางด้านจำนวนครั้งในการเขียนทับ (ซึ่งปกติแล้วไม่เกิน 100,000 ครั้งการเขียนทับก็จะเสื่อมสภาพ) เปรียบเทียบกับแรมจำข้อมูลชั่วคราวที่หาได้ทั่วไปตามท้องตลาดที่สามารถเขียนทับแทบจะเรียกได้ว่าไม่จำกัดจำนวนครั้ง ดังนั้นความพยายามในปัจจุบันคือการพัฒนาแรมจำข้อมูลถาวรให้มีประสิทธิภาพดี และทนทานเทียบเท่ากับแรมแบบจำข้อมูลชั่วคราวให้ได้. แฟลชไดรฟ์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ซึ่งใช้หน่วยความจำแฟลชในการเก็บข้อมูล จากภาพ ทางด้านซ้ายคือหน่วยความจำแฟลช ทางด้านขวาคือวงจรควบคุม หน่วยความจำแฟลช (Flash memory) หรือ แฟลช คือ อุปกรณ์เก็บข้อมูลถาวรสำหรับคอมพิวเตอร์ที่สามารถลบและเขียนใหม่ได้ โดยมีลักษณะการทำงานเป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด กล่าวคือไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ขณะทำงาน (ต่างกับฮาร์ดดิสก์ที่มีจานแม่เหล็กหมุนตลอดเวลาขณะทำงาน) หน่วยความจำแฟลชพัฒนาต่อมาจาก EEPROM (หน่วยความจำแบบรอมที่สามารถลบข้อมูลได้) ปัจจุบันหน่วยความจำแฟลชมีด้วยกันสองชนิดคือ หน่วยความจำแฟลชชนิด NAND และหน่วยความจำแฟลชชนิด NOR ซึ่งเป็น NAND และ NOR เป็นชื่อของโลจิกเกตที่เซลล์หน่วยความจำแฟลชแต่ละชนิดใช้ หน่วยความจำแฟลชชนิดที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ ชนิด NAND และใช้เป็นหน่วยความจำใน แฟลชไดรฟ์, โซลิดสเตตไดรฟ์, เมโมรีการ์ด และมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมาก โดยถูกใช้เป็นหลักในอุปกรณ์พกพาเนื่องจากสามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ดีกว่าฮาร์ดดิสก์มาก หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:หน่วยความจำถาวร หมวดหมู่:Solid-state computer storage media.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวรและหน่วยความจำแฟลช

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวรและหน่วยความจำแฟลช มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์หน่วยความจำถาวรฮาร์ดดิสก์โซลิดสเตตไดรฟ์

ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์

ูเอสบีแฟลชไดรฟ์ (USB flash drive) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์มีความจุตั้งแต่ 4 GB ถึง 2TB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึง วินโดวส์ 98/ME/2000/XP/Vista/7 แมคอินทอช ลินุกซ์ และยูนิกซ์ แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึง "ทัมบ์ไดรฟ์" "คีย์ไดรฟ์" "จัมป์ไดรฟ์ และชื่อเรียกอื่น โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ปัจจุบันชื่อสากล จะเรียกว่าแฟลชไดรฟ.

ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์และหน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวร · ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์และหน่วยความจำแฟลช · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยความจำถาวร

หน่วยความจำถาวร (Non-volatile memory) คือหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บรักษาข้อมูลได้อยู่โดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้า ตัวอย่างหน่วยความจำถาวรเช่น รอม, แฟลช ยังรวมถึงหน่วยเก็บข้อมูลด้วยแม่เหล็ก เช่น จานบันทึกแบบแข็ง (hard disks), แผ่นบันทึก (floppy disks) และแถบแม่เหล็ก (magnetic tape), หน่วยเก็บข้อมูลด้วยแสง เช่น แผ่นซีดี และหน่วยเก็บข้อมูลยุคเก่า เช่น บัตรเจาะรู หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:หน่วยเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:หน่วยความจำถาวร.

หน่วยความจำถาวรและหน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวร · หน่วยความจำถาวรและหน่วยความจำแฟลช · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ดดิสก์

ร์ดดิสก์ชนิดต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (hard disk drive) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA), แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง ฮาร์ดดิสก์ SSD โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ โซลิดสเตตไดรฟ.

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวรและฮาร์ดดิสก์ · หน่วยความจำแฟลชและฮาร์ดดิสก์ · ดูเพิ่มเติม »

โซลิดสเตตไดรฟ์

'''โซลิดสเตตไดรฟ์''' ถูกแยกส่วนเปรียบเทียบกับ ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้จานแม่เหล็กหมุน จะเห็นได้ว่าแบบจานแม่เหล็กหมุนนั้น มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความทนต่อแรงสั่นสะเทือน เพราะหัวอ่านข้อมูลเป็นอุปกรณ์ที่มีความละเอียดอ่อนมากซึ่งอาจจะกระทบถูกจานหมุนและได้รับความเสียหายได้หากมีแรงกระแทกจากภายนอกที่มากพอ ในขณะที่โซลิดสเตตไดรฟ์ ไม่มีข้อจำกัดอันนี้ โซลิดสเตตไดรฟ์จาก DDR SDRAM มีความจุ 128 จิกะไบต์ และมีอัตราข้อมูล 3072 เมกะไบต์ต่อวินาที ไม่ต้องการ mSATA SSD โซลิดสเตตไดรฟ์ (Solid state drive, SSD) หรือ เอสเอสดี คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ชิปวงจรรวมที่ประกอบรวมเป็น หน่วยความจำ เพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนฮาร์ดดิสก์ เทคโนโลยีของโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างมาเพื่อทดแทนฮาร์ดดิสก์จึงทำให้มีอินเทอร์เฟส อินพุต/เอ้าพุต เหมือนกันและสามารถใช้งานแทนกันได้ และเนื่องจากโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่มีชิ้นส่วนจักรกลใดๆที่มีการเคลื่อนที่ (หลักการของ ฮาร์ดดิสก์ และ ฟรอปปี้ดิสก์ คือใช้จานแม่เหล็กหมุน) ส่งผลให้ความเสียหายจากแรงกระแทกของโซลิดสเตตไดรฟ์นั้นน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ (หรือทนต่อการแรงสั่นสะเทือนได้ดี) โดยการเปรียบเทียบจากการที่โซลิดสเตตไดรฟ์ไม่ต้องหมุนจานแม่เหล็กในการอ่านข้อมูลทำให้อุปกรณ์กินไฟน้อยกว่า และใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูล (access time) และเวลาในการหน่วงข้อมูล (latency) น้อยกว่าเนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลในตำแหน่งต่างๆ ได้รวดเร็วและทันทีโดยไม่ต้องรอการหมุนจานแม่เหล็กให้ถึงตำแหน่งของข้อมูล คำว่าโซลิดสเตตไดรฟ์เป็นคำกว้างๆ ที่อธิบายถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลลักษณะเดียวกับฮาร์ดดิสก์แต่ใช้หน่วยความจำในการเก็บข้อมูลทดแทนการใช้จานแม่เหล็ก โซลิดสเตตไดรฟ์จึงมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างกันตามชนิดหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ปัจจุบันหน่วยความจำที่นิยมนำมาใช้ในโซลิดสเตตไดรฟ์คือ หน่วยความจำแฟลช ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปและเป็นที่นิยมที่สุดแต่มีข้อเสียที่จำกัดจำนวนครั้งในการเขียนข้อมูลทับ และอีกชนิดคือ เอสเอสดีจาก DDR SDRAM หรือแรมที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักดี ซึ่งเร็วกว่าหน่วยความจำแฟลชมากและเขียนทับได้ไม่จำกัด แต่เพราะว่า DDR SDRAM เป็นหน่วยความจำชั่วคราวดังนั้นการที่จะให้ทำงานเป็นหน่วยความจำถาวรก็ต้องมีแหล่งไฟฟ้าที่ถาวรเลี้ยงเพื่อไม่ให้ลืมข้อมูล ด้วยข้อจำกัดนี้ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้ทั่วไปตามบ้านเรือนแต่นิยมในอุตสาหกรรมที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง.

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวรและโซลิดสเตตไดรฟ์ · หน่วยความจำแฟลชและโซลิดสเตตไดรฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวรและหน่วยความจำแฟลช

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวร มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ หน่วยความจำแฟลช มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 33.33% = 4 / (7 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบจำข้อมูลถาวรและหน่วยความจำแฟลช หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »