โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หนี้สาธารณะและเศรษฐกิจญี่ปุ่น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง หนี้สาธารณะและเศรษฐกิจญี่ปุ่น

หนี้สาธารณะ vs. เศรษฐกิจญี่ปุ่น

หนี้สาธารณะ (Public debt) หรือ หนี้ของรัฐบาล (Government debt) คือหนี้ที่ถือโดยรัฐบาลกลาง, หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรของรัฐ รวมไปถึง รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการค้ำประกันหนี้สินโดยรัฐบาล ซึ่งการเกิดขึ้นของหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ของรัฐบาลทั่วโลก มาจากการดำเนินนโยบายของรัฐแบบขาดดุล หรือก็คือรายได้ของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ ทำให้ต้องมีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลในแต่ละรอบปีงบประมาณ การกู้เงินของรัฐบาล มีได้หลายช่องทาง รัฐอาจกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ (เช่น ธนาคารพาณิชย์ และ ธนาคารกลาง), สถาบันการเงินต่างประเทศ, เอกชน, รัฐบาลต่างประเทศ หรือ องค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ), องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เป็นต้น คนทั่วไปมักมองว่ารัฐบาลไม่ควรก่อหนี้สาธารณะ เพราะหนี้สาธารณะนั้นจะนำมาซึ่งความสูญเสียเสถียรภาพทางการคลังและการเงินของประเทศ ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้ประเทศเกิดวิกฤติการทางการเงิน ทัศนคตินี้ไม่เป็นจริงเสมอไปหากรัฐบาลมีการบริหารจัดการสภาพคล่องของรัฐให้ดี มีวัตถุประสงค์ในการใช้เงินที่เหมาะสม และรักษาสัดส่วนหนี้ในประเทศและต่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากหนี้ในประเทศมีความยืดหยุ่นในการบริหารและความเสี่ยงต่ำกว่าหนี้ต่างประเทศ เพราะรัฐบาลที่มีอำนาจรัฐสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งอยู่ใต้อำนาจรัฐได้ ทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนของค่าเงิน ตลอดจนสถานการณ์ของโลก นอกจากนี้ความสามารถในการบริหารสภาพคล่องและหนี้สาธารณะ ยังเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการยกอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศสามารถจัดหาแหล่งทุนจากต่างประเทศได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง การผิดนัดชำระหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้สาธารณะต่างประเทศนั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เนื่องจากอาจนำมาซึ่งการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจภาพรวม ทำให้สถานการณ์ที่แย่อยู่แล้วแย่ลงไปอีก ดังนั้นเมื่อประเทศเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ หรือบริหารสภาพคล่องไม่ทัน วิธีที่นิยมคือการขอกู้เงินจากแหล่งใหม่เพื่อไปใช้หนี้แก่เจ้าหนี้รายเก่า อย่างไรก็ตาม การกู้เงินจากแหล่งใหม่โดยเฉพาะจากต่างประเทศในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ มักจะถูกฝ่ายผู้ให้กู้ตั้งเงื่อนไขที่เป็นพันธสัญญาให้รัฐบาลผู้ขอกู้ต้องปฏิบัติตาม อาทิ มาตรการรัดเข็มขัด (ลดรายจ่าย) สำหรับหนี้สาธารณะของประเทศไทยนั้น สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซด์สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (http://www.pdmo.go.th/index.php) ซึ่งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุดของไทยอยู่ที่ 173.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 45.34% ของจีดีพี. รษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก สหรัฐอเมริกา และ ประเทศจีน ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองในรัชสมัยโชวะ จักรวรรดิญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก แม้ว่าจะพ่ายแพ้สงครามแต่ญี่ปุ่นก็สามารถไต่เต้าขึ้นมามีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต และครองตำแหน่งนี้ยาวนานกว่าสองทศวรรษจนกระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1990 ญี่ปุ่นก็กลายเป็นชาติเศรษฐกิจอันดับสองของโลกจนถึงปี 2009 จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อำนาจซื้อต่อหัวของญี่ปุ่นในเวทีโลก อยู่ที่ 35,855 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นอันดับ 22 ของโลก การคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีการสำรวจเป็นรายไตรมาสที่เรียกว่า ทังกัง จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผลิตยานยนต์ได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของโลก ที่มักจะมีการจัดอันดับในบรรดาหมู่ประเทศนวัตตกรรมชั้นนำ ซึ่งในระยะหลังมานี้ญี่ปุ่นต้องเผชิญการแข่งขันกับ จีน และ เกาหลีใต้ ที่เริ่มช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน ได้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิตเป็นหลัก ซึ่งใช้แรงงานคนน้อย และมีความแม่นยำมากกว่า จำพวก ยานยนต์ไฮบริด และหุ่นยนต์อัตโนมัติต่างๆ ซึ่งพบได้ทั่วไปในโรงงานในภูมิภาคคันโต ทั้งนี้ภูมิภาคคันไซก็เป็นหนึ่งในพื้นที่อุตสาหกรรมชั้นนำและศูนย์การผลิตสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง หนี้สาธารณะและเศรษฐกิจญี่ปุ่น

หนี้สาธารณะและเศรษฐกิจญี่ปุ่น มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กองทุนการเงินระหว่างประเทศผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

ัญลักษณ์ของ IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) หรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF) เป็นองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้น มีฐานะเป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ โดยมีข้อบังคับว่าประเทศที่จะเป็นสมาชิกธนาคารโลก และจะต้องเป็นสมาชิกของ IMF ด้วย เริ่มเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม ปี..

กองทุนการเงินระหว่างประเทศและหนี้สาธารณะ · กองทุนการเงินระหว่างประเทศและเศรษฐกิจญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น

accessdate.

ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นและหนี้สาธารณะ · ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นและเศรษฐกิจญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง หนี้สาธารณะและเศรษฐกิจญี่ปุ่น

หนี้สาธารณะ มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ เศรษฐกิจญี่ปุ่น มี 44 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.51% = 2 / (13 + 44)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง หนี้สาธารณะและเศรษฐกิจญี่ปุ่น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »