ความคล้ายคลึงกันระหว่าง หงสาจอมราชันย์และไทสูจู้
หงสาจอมราชันย์และไทสูจู้ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ซุนเซ็กเล่าปี่เตียวเลี้ยว
ซุนเซ็ก
ระเจ้าซุนเซ็ก (จีนตัวเต็ม: 孫策 จีนตัวย่อ: 孙策 พินอิน: Sūn Cè สำเนียงจีนกลาง ซุนฉี) หรือ เตียงสาหวนอ๋อง (長沙桓王) ค.ศ. 174–ค.ศ. 200 เป็นแม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊กของประเทศจีน ซุนเซ็กเป็นบุตรชายคนโตจากทั้งหมดสี่คนของซุนเกี๋ยน ติดตามซุนเกี๋ยนออกรบตั้งแต่อายุ 15 ปี หลังซุนเกี๋ยนตาย จึงไปขออยู่ด้วยกับอ้วนสุด และ สามารถรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย ซุนเซ็กกับจิวยี่เพื่อนสนิท ที่เป็นกุนซือ ยังสามารถแยกตัวออกมากลายเป็นก๊กที่สามได้ครองหัวเมืองกังตั๋ง ซุนเซ็กเป็นนักรบที่มีจิตใจห้าวหาญ ไม่กลัวใคร จนได้ฉายาว่า "ฌ้อปาอ๋องน้อย" นับถือและชอบคบหากับผู้มีความสามารถ มีอุปนิสัยใช้คนอย่างไม่สงสัย ถ้าสงสัยไม่ใช้ สามารถเอาชนะใจไทสูจู้ด้วยการสู้รบกันตัวต่อตัวเป็นเวลานาน ซุนเซ็กมักไปไหนมาไหนด้วยตัวคนเดียว ไม่มีทหารติดตาม จึงถูกปองร้ายด้วยเกาทันฑ์อาบยาพิษ โดยหมอบอกว่าห้ามโกรธเป็นเวลาร้อยวัน แต่สุดท้ายซุนเซ็กก็ไม่สามารถระงับความโกรธได้และเสียชีวิตในที่สุด ด้วยอายุเพียง 26 ปี ภายหลังซุนกวนน้องชายคนรอง ได้ขึ้นปกครองแทนกลายเป็นผู้นำของง่อก๊ก ซึ่งก่อนเสียซุนเซ็กได้สั่งเสียซุนกวนว่า "การภายในให้ปรึกษาเตียวเจียว การภายนอกให้ปรึกษาจิวยี่" ภรรยาของซุนเซ็กคือ นางไต้เกี้ยวธิดาของเกี้ยวกงผู้เฒ่าแห่งเมืองกังตั๋ง พี่สาวของนางเสียวเกี้ยว ซึ่งเป็นภรรยาของจิวยี่ หลังสิ้นพระชนม์พระเจ้าซุนกวนทรงสถาปนาตำแหน่งให้ซุนเซ็กผู้เป็นพระเชษฐาของพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งง่อก๊กด้ว.
ซุนเซ็กและหงสาจอมราชันย์ · ซุนเซ็กและไทสูจู้ ·
เล่าปี่
หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.
หงสาจอมราชันย์และเล่าปี่ · เล่าปี่และไทสูจู้ ·
เตียวเลี้ยว
ตียวเลี้ยว (Zhang Liao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญของโจโฉ เดิมอยู่รับใช้ลิโป้ ต่อมาลิโป้ถูกจับได้ที่เมืองแห้ฝือถูกประหาร ส่วนเตียวเลี้ยวโจโฉเกลี้ยกล่อมให้มาร่วมงานด้วย และเป็นบุคคลที่กวนอูให้ความเคารพนับถือ เพราะนับถือในความซื่อสัตย์และฝีมือ ทั้ง ๆ ที่อยู่คนละฝ่ายกัน ซึ่งเตียวเลี้ยวเป็นคนที่อาสาโจโฉไปเกลี้ยกล่อมกวนอูขณะที่แตกทัพให้มาอาศัยอยู่ชั่วคราวกับโจโฉนั่นเอง เตียวเลี้ยวเป็นขุนพลที่มีความชำนาญทั้งในพิชัยสงคราม กลศึก การรบบนหลังม้า จึงมักได้รับหน้าที่ภาระสำคัญจากโจโฉเสมอ ๆ แม้จะเป็นขุนพลผู้มาสวามิภักดิ์ภายหลัง เช่นการรักษาเมืองหับป๋า ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการรบกับซุนกวน ซึ่งเตียวเลี้ยวก็สามารถทำหน้าที่ได้ดี นอกจากจะรักษาฐานที่มั่นไว้ได้โดยตลอดแล้ว ยังสามารถเป็นฝ่ายรุก รบชนะทัพง่อหลายครั้ง จนเกือบจะจับเป็นซุนกวนได้ จึงเป็นขุนพลที่ทางง่อก๊กขยาดในฝีมือ ถึงกับมีคำกล่าวว่า เตียวเลี้ยวมีตำแหน่งเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของวุยก๊ก (เตียวเลี้ยว, เตียวคับ, งักจิ้น, ซิหลง และอิกิ๋ม) เตียวเลี้ยวเสียชีวิตลงเพราะโดนลูกธนูยิงเมื่อโจผีบุกง่อก๊ก หลังจากโจผีทราบถึงการเสียชีวิตของเตียวเลี้ยวก็จัดพิธีศพอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แตกต่างจากวรรณกรรมอยู่พอสมควร จดหมายเหตุสามก๊กของเฉินโซ่วระบุว่า หลังจากพระเจ้าโจผีขึ้นครองราชย์แล้ว ซุนกวนเป็นฝ่ายยกทัพมารุกรานวุยก๊ก (ไม่ใช่โจผียกไป) เตียวเลี้ยวจึงถูกส่งตัวมาประจำการ ณ หับป๋าอีกครั้ง และเขาก็เอาชนะทัพง่อได้เป็นครั้งที่สอง ทำให้โจผีชื่นชมมาก จึงได้เพิ่มบรรดาศักดิ์และมอบเกียรติยศให้มากมาย ถึงขนาดเปรียบเทียบเขากับ “ซ่าวหู่” ยอดนักรบแห่งราชวงศ์โจว จากนั้นไม่นานเตียวเลี้ยวก็ล้มป่วย พระเจ้าโจผีจึงส่งแพทย์หลวงประจำราชสำนักไปรักษาอาการ ทั้งยังเสด็จไปเยี่ยมเตียวเลี้ยวเป็นการส่วนตัว โดยเสวยอาหารร่วมกับเขาอย่างไม่ถือตัว จนอาการของเตียวเลี้ยวดีขึ้นไม่ช้าไม่นาน ซุนกวนตั้งท่าจะรุกรานวุยก๊กอีก พระเจ้าโจผีจึงให้เตียวเลี้ยวไปรับศึกร่วมกับโจฮิว ครั้นสองฝ่ายประจันหน้ากันที่แม่น้ำแยงซี ซุนกวนซึ่งเคยแพ้เตียวเลี้ยวมาหลายครั้งหลายหนถึงกับกล่าวว่า และแม้จะไม่ได้รบกับซุนกวนอีก แต่เตียวเลี้ยวก็สามารถนำทัพเอาชนะลิห้อมแห่งกังตั๋งได้ในปีเดียวกันนั้น ซึ่งถือเป็นชัยชนะเหนือง่อก๊กรอบที่สาม อาจกล่าวได้ว่านายพลเตียว “ทำแฮตทริก” ชนะง่อก๊กได้ถึงสามครั้ง ซึ่งคงมีนายทหารน้อยคนในแผ่นดินที่จะทำได้เช่นนี้ จากนั้นไม่นาน เตียวเลี้ยวก็ล้มป่วยและเสียชีวิตลง เป็นการ "ป่วยตาย" ไม่ได้โดนเกาทัณฑ์ยิงในการรบเหมือนที่วรรณกรรมหลอกว้านจงเล่าไว้ เตียวเลี้ยวถือเป็นหนึ่งในยอดนายทหารยุคสามก๊กที่ไม่ได้มีดีแค่ฝีมือรบ แต่ยังเปี่ยมไปด้วยสติปัญญา เขาได้รับการยกย่องจากเฉินโซ่ว ผู้บันทึกจดหมายเหตุสามก๊ก ให้เป็น “หมายเลขหนึ่ง” ในบรรดา “ห้าทหารเอกแห่งวุยก๊ก” ร่วมด้วย เตียวคับ ซิหลง งักจิ้น และ อิกิ๋ม ด้วยความที่อยู่วุยก๊ก ซึ่งมักถูกมองเป็น “ก๊กผู้ร้าย” ทำให้เตียวเลี้ยวไม่ได้รับการยกย่องและเป็นที่จดจำของผู้อ่านวรรณกรรมมากเท่ากับทหารเอกฝ่ายจ๊กอย่าง กวนอู เตียวหุย หรือจูล่ง ทั้งๆ ที่ “มือปราบกังตั๋ง” อย่างเขา ยิ่งใหญ่เกรียงไกรไม่แพ้นักรบคนไหนในแผ่นดินเล.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ หงสาจอมราชันย์และไทสูจู้ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง หงสาจอมราชันย์และไทสูจู้
การเปรียบเทียบระหว่าง หงสาจอมราชันย์และไทสูจู้
หงสาจอมราชันย์ มี 66 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไทสูจู้ มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 4.00% = 3 / (66 + 9)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง หงสาจอมราชันย์และไทสูจู้ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: