โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และโฟลเดอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และโฟลเดอร์

ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ vs. โฟลเดอร์

วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface, GUI อ่านว่า จียูไอ หรือ กูอี้) เป็นวิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทางสัญลักษณ์หรือภาพนอกเหนือจากทางตัวอักษร จียูไอมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น ไอคอน หน้าต่างการใช้งาน เมนู ปุ่มเลือก และการใช้เมาส์ หรือแม้แต่ในระบบทัชสกรีน จียูไอพัฒนาพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ดนำโดย ดัก เอนเกลบาร์ต (Doug Engelbart) โดยการใช้งานร่วมกับไฮเปอร์ลิงก์และเมาส์ ซึ่งภายหลังได้นำมาวิจัยต่อที่ศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค (Xerox PARC) โดยใช้งานระบบกราฟิกแทนที่ระบบตัวอักษร โดยบางคนจะเรียกระบบนี้ว่า PARC User Interface หรือ PUI ปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1970 แอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้นำมาใช้ครั้งกับเครื่องแมคอินทอช ซึ่งภายหลังsteve job ได้เป็นosk121ทางไมโครซอฟท์ได้เลียนแบบความคิดมาใช้กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ในปัจจุบันจียูไอเป็นที่นิยมโดยสามารถเห็นได้จากระบบปฏิบัติการ แมคอินทอช และ วินโดวส์ และล่าสุดในลินุกซ. ตัวอย่างไอคอนของโฟลเดอร์ในเคดีอี ในคอมพิวเตอร์ โฟลเดอร์ (folder) เป็นแฟ้มข้อมูลจำลองที่เอาไว้บรรจุไฟล์คอมพิวเตอร์ ปรากฏให้เห็นเป็นสัญลักษณ์รูปแฟ้มในระบบปฏิบัติการที่มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ นอกจากในโฟลเดอร์จะใช้เก็บไฟล์ได้แล้ว ยังสามารถใช้เก็บโฟลเดอร์ด้วยกันเองได้อีกด้วย โฟลเดอร์มีชื่อเรียกอีกมากมายเช่น แคตตาล็อก (catalog) ซึ่งใช้เรียกในคอมพิวเตอร์แอปเปิล 2 และคอมพิวเตอร์คอมโมดอร์ 128 หรือ ลิ้นชัก (drawer) เป็นต้น การเรียกใช้คำสั่งแสดงไดเร็กทอรี (dir) บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไดเร็กทอรี เป็นชื่อเรียกของโฟลเดอร์เมื่อกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับระบบไฟล์ และปรากฏคำนี้มาก่อนหน้าโฟลเดอร์มาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยที่คอมพิวเตอร์ยังไม่มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ อันที่จริงแล้ว โฟลเดอร์เกิดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและจัดการกับไดเร็กทอรีได้อย่างสะดวก ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์สามารถเรียกคำว่าโฟลเดอร์กับไดเร็กทอรี ได้ในความหมายเดียวกัน เมื่อมองโครงสร้างระดับขั้นของระบบไฟล์แล้ว ไฟล์จะถูกเก็บภายในไดเร็กทอรีใด ๆ เสมอ และไดเร็กทอรีก็จะถูกเก็บอยู่ในไดเร็กทอรีขั้นที่เหนือกว่าไปเรื่อย ๆ ซึ่งรูปร่างของโครงสร้างนี้ก็คือโครงสร้างต้นไม้ คำว่าพ่อ (parent) และลูก (child) ซึ่งเป็นศัพท์ที่มาจากการอธิบายโครงสร้างต้นไม้จึงมักนำมาใช้ในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างไดเร็กทอรีหนึ่ง กับไดเร็กทอรีย่อย (dubdirectory) ของมัน นอกจากนี้ จะมีไดเร็กทอรีพิเศษอยู่ไดเร็กทอรีหนึ่งซึ่งไม่มีไดเร็กทอรีขึ้นที่เหนือกว่า เรียกว่าไดเร็กทอรีราก (root directory) ซึ่งก็เทียบเคียงกับราก (root) ในโครงสร้างต้นไม้นั่นเอง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และโฟลเดอร์

ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และโฟลเดอร์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์เคดีอี

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ระบบปฏิบัติการและส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ · ระบบปฏิบัติการและโฟลเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · โฟลเดอร์และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

เคดีอี

KDE หรือชื่อเต็ม K Desktop Environment เป็นสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบเดสก์ท็อป (Desktop Environment) ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี พัฒนาบนทูลคิท Qt ของบริษัท Trolltech และทำงานได้บนระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์เกือบทุกรุ่น เช่น ลินุกซ์, BSD, AIX และ Solaris รวมถึงมีรุ่นที่ใช้งานได้บน Mac OS X และไมโครซอฟท์วินโดวส์ KDE มีโครงการพี่น้องที่พัฒนาไปพร้อมกันอย่าง KDevelop ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือสำหรับการพัฒนาโปรแกรม และ KOffice ชุดโปรแกรมสำนักงาน ในรุ่น 4.1 ได้แก้ไขในเรื่องบั๊กทั้งหมดและหน้าตาของชุดตกแต่งพลาสมา รวมถึงการตั้งค่า TaskBar ดีมากยิ่งขึ้น และส่วนการติดต่อที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์กว่า KDE 4.0.X ปัจจุบันรุ่น 4.8.0.

ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และเคดีอี · เคดีอีและโฟลเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และโฟลเดอร์

ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ โฟลเดอร์ มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 12.50% = 3 / (18 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และโฟลเดอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »