เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และเดเบียน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และเดเบียน

ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ vs. เดเบียน

วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface, GUI อ่านว่า จียูไอ หรือ กูอี้) เป็นวิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทางสัญลักษณ์หรือภาพนอกเหนือจากทางตัวอักษร จียูไอมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น ไอคอน หน้าต่างการใช้งาน เมนู ปุ่มเลือก และการใช้เมาส์ หรือแม้แต่ในระบบทัชสกรีน จียูไอพัฒนาพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ดนำโดย ดัก เอนเกลบาร์ต (Doug Engelbart) โดยการใช้งานร่วมกับไฮเปอร์ลิงก์และเมาส์ ซึ่งภายหลังได้นำมาวิจัยต่อที่ศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค (Xerox PARC) โดยใช้งานระบบกราฟิกแทนที่ระบบตัวอักษร โดยบางคนจะเรียกระบบนี้ว่า PARC User Interface หรือ PUI ปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1970 แอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้นำมาใช้ครั้งกับเครื่องแมคอินทอช ซึ่งภายหลังsteve job ได้เป็นosk121ทางไมโครซอฟท์ได้เลียนแบบความคิดมาใช้กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ในปัจจุบันจียูไอเป็นที่นิยมโดยสามารถเห็นได้จากระบบปฏิบัติการ แมคอินทอช และ วินโดวส์ และล่าสุดในลินุกซ. ียน (Debian) เป็นชุดของซอฟต์แวร์เสรีที่พัฒนาโดยอาสาสมัครภายใต้โครงการเดเบียน ภายใต้โครงการนี้มีเดเบียนลินุกซ์ (Debian GNU/Linux) ที่ใช้ลินุกซ์เป็นเคอร์เนล และใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในโครงการ GNU ประกอบกันเป็นระบบปฏิบัติการ เดเบียนมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันแรกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้วยชุมชนล้วน ๆ โดยไม่มีเอกชนอยู่เบื้องหลัง มีการสร้างสัญญาประชาคม บทนิยามซอฟต์แวร์เสรี และแนวนโยบายที่ชัดเจนทั้งทางเทคนิคและการบริหารงาน กลายเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ต่อมา รวมถึงปริมาณแพกเกจในโครงการมากกว่า 37,000 แพกเกจ และรองรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์มากกว่า 11 ชนิด ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่คอมพิวเตอร์ฝังตัว ไปจนถึงเมนเฟรม มีลินุกซ์ดิสทริบิวชันจำนวนมากที่นำเดเบียนไปพัฒนาต่อ อย่างเช่น อูบุนตู หรือ Knoppix เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และเดเบียน

ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และเดเบียน มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กะโนมระบบปฏิบัติการลินุกซ์

กะโนม

รงการ GNOME เป็นการสร้างแพลตฟอร์มทางคอมพิวเตอร์ ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยมีเป้าหมายคือสร้างชุดเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมขึ้นมาได้ง่าย รวมไปถึงสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อป (desktop environment - ซอฟต์แวร์ที่ใช้เรียกซอฟต์แวร์อื่น ทำหน้าที่จัดการกับไฟล์และระบบหน้าต่าง) มีซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ถูกพัฒนาขึ้นใต้โครงการ GNOME ซึ่งมักจะถูกนำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการบางชนิด เช่น ลินุกซ์ หรือ โซลาริส เป็นต้น GNOME เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GNU และเป็นสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อปหลักของ GNU ด้วย GNOME.

กะโนมและส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ · กะโนมและเดเบียน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ระบบปฏิบัติการและส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ · ระบบปฏิบัติการและเดเบียน · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ลินุกซ์และส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ · ลินุกซ์และเดเบียน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และเดเบียน

ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ เดเบียน มี 43 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 4.92% = 3 / (18 + 43)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และเดเบียน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: