โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สแควร์และเท็ตสึยะ โนมูระ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สแควร์และเท็ตสึยะ โนมูระ

สแควร์ vs. เท็ตสึยะ โนมูระ

แควร์ (スクウェア) หรือ บริษัทสแควร์จำกัด (株式会社スクウェア, Square Co., Ltd.) เป็นบริษัทผลิตวิดีโอเกมของประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1983 โดย มาซาฟูมิ มิยาโมโต้ และ ฮิโรโนบุ ซาคากูชิ เกมแรกของ สแควร์ จัดจำหน่ายครั้งแรกบนเครื่องแฟมิคอม (Nintendo Family Computer หรือที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า Nintendo Entertainment System) และ แฟมิคอม ดิสก์ ซิสเต็ม (Famicom Disk System) โดยเกมในช่วงแรกที่ผลิตออกมาไม่ประสบความสำเร็จมากนัก จนกระทั่งปี 1987 บริษัทก็ประสบปัญหาและมีโอกาสที่จะล้มละลาย และปีเดียวกัน ฮิโรโนบุ ซาคากูชิ ลูกจ้างของบริษัทได้ถูกตำหนิเกี่ยวกับการสร้างเกมที่คาดว่าจะเป็นเกมสุดท้ายของบริษัท ซึ่งก็คือเกม RPG ชื่อ ไฟนอลแฟนตาซี (Final Fantasy) บนเครื่องแฟมิคอมนั่นเอง การที่ฮิโรโนบุนำคำว่า “ไฟนอล” (สุดท้าย) มาใช้เพราะเค้าวางแผนไว้ว่าจะลาออกจากการทำงานในอุตสาหกรรมเกมและ ไฟนอลแฟนตาซี จะเป็นเกมสุดท้ายของเขา แต่ ไฟนอลแฟนตาซี กลับทำได้ดีเกินกว่าที่ ฮิโรโนบุ และ สแควร์ คาดไว้ และทำให้มีการจำหน่ายไปสู่อเมริกาเหนือ โดยนินเทนโดอเมริกาซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเกม ไฟนอลแฟนตาซี ที่อเมริกาในปี ค.ศ. 1990 และจากความสำเร็จนี้เอง ทำให้ฮิโรโนบุยกเลิกแผนการที่จะลาออกและอยู่ที่ สแควร์ซอฟต์ เพื่อพัฒนาเกมไฟนอลแฟนตาซีภาคใหม่ต่อไป สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกมไฟนอลแฟนตาซีแต่ละภาคมีเนื้อเรื่องที่แปลกใหม่พร้อมกับตัวละครที่ไม่ซ้ำกับภาคก่อนก็น่าจะมีเหตุผลมาจากต้นฉบับของเกม ไฟนอลแฟนตาซี นั้นสร้างขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่าจะไม่มีภาคต่ออีกนั่นเอง ไฟนอลแฟนตาซีภาคต่อมาได้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1988 (ไฟนอลแฟนตาซี II) โดยวางตลาดเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นจนถึง ไฟนอลแฟนตาซี III และมีกำหนดการวางจำหน่ายสำหรับเครื่องแฟมิคอม ในอเมริกาเหนือ แต่เนื่องจากการเข้าสู่ยุคใหม่ของเกมและการมาของเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม (ชื่อทางการคือ Nintendo Entertainment System) ในที่สุดก็มีการยกเลิกการจำหน่าย ไฟนอลแฟนตาซี สำหรับเครื่องแฟมิคอม และแทนที่โดย ไฟนอลแฟนตาซี IV บนเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม นอกจากนี้ สแควร์ ยังผลิตเกมอื่น ๆ ออกมาอีกและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่น โครโนทริกเกอร์, โจโคโบะ, อายน์แฮนด์เดอร์, ซีเคร็ท ออฟ มานา, เซเคนเด็นเซตสึ, เซโนเกียร์ส, ไฟนอลแฟนตาซี แทคติกส์, เบรฟเฟนเซอร์ มุซาชิเด็น, วาแกรนต์ สตอรี่ และ คิงด้อมฮาร์ทส (ร่วมมือกับบริษัท Disney Interactive โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับไฟนอลแฟนตาซี) ในปี ค.ศ. 2002 บริษัทสแควร์ ได้รวมกิจการกับ เอนิกซ์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเกมดราก้อนเควสต์ เพื่อที่จะควบคุมการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเนื่องมาจากความล้มเหลวจากการผลิตภาพยนตร์ Final Fantasy: The Spirits Within และในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2003 การควบรวมบริษัทก็ประสบความสำเร็จและใช้ชื่อเป็นบริษัทสแควร์เอนิกซ์ (Square Enix) จนถึงปัจจุบัน. ท็ตสึยะ โนมูระ เกิดวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดโคจิ เป็นนักวาดภาพประกอบ ออกแบบตัวละคร และนักสร้างสรรค์เกมชาวญี่ปุ่น โดยผลงานที่ทำให้ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในวงกว้างคือ ไฟนอลแฟนตาซี VII โนะมุระเดินทางมาอยู่ที่โตเกียวเมื่อตอนอายุ 18 ปี หลังจบการศึกษาด้านการออกแบบโฆษณาจากโรงเรียนสอนการออกแบบ เขาก็ได้เข้ามาทำงานกับบริษัทสแควร์จำกัด (ปัจจุบันคือ สแควร์เอนิกซ์) ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2534 โดยผลงานชิ้นแรกที่ได้มีส่วนร่วมคือ ไฟนอลแฟนตาซี IV.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สแควร์และเท็ตสึยะ โนมูระ

สแควร์และเท็ตสึยะ โนมูระ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สแควร์เอนิกซ์โตเกียวไฟนอลแฟนตาซี IV

สแควร์เอนิกซ์

แควร์เอนิกซ์ หรือ บริษัท สแควร์เอนิกซ์ โฮลดิงส์ มหาชนจำกัด (株式会社スクウェア・エニックス・ホールディングス คะบุชิกิ-ไงฉะ ซุกุเอะอะ เอะนิกกุซุ โฮรุดิงงุซุ; Square Enix Holdings Co., Ltd) คือ ชื่อของบริษัทผลิตเกม โดยเกมที่มีชื่อเสียงคือเกมชุด ไฟนอลแฟนตาซี ดราก้อนเควสต์ และ คิงดอมฮาร์ต สำนักงานใหญ่อยู่ที่ โยะโยะงิ ในชิบุยะ เมืองโตเกียว สแควร์เอนิกซ์ เป็นบริษัทที่เกิดจากการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัทสแควร์ และ เอนิกซ์ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 โดยการควบรวมกันครั้งนี้ผู้ถือหุ้นในบริษัทสแควร์ได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นสัดส่วน 0.81 และเอนิกซ์ได้รับในอัตรา 1:1 แต่นอกเหนือจากเรื่องส่วนแบ่งของผู้ถือหุ้น ในส่วนของผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนของบริษัทสแควร์ได้รับบทบาทในฐานะผู้นำในสแควร์เอนิกซ์ รวมทั้งประธานบริษัทสแควร์ซึ่งก็คือนายโยอิจิ วาดะ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานของสแควร์เอนิกซ์นั่นเอง.

สแควร์และสแควร์เอนิกซ์ · สแควร์เอนิกซ์และเท็ตสึยะ โนมูระ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

สแควร์และโตเกียว · เท็ตสึยะ โนมูระและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ไฟนอลแฟนตาซี IV

อง เซซิล ตัวเอกเมื่อตอนที่ยังเป็น อัศวินดำ ไฟนอลแฟนตาซี IV เป็นเกมเล่นตามบทละคร สำหรับเครื่องซูเปอร์แฟมิคอม ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทสแควร์ (และ สแควร์เอนิกซ์ ในรุ่นต่อมา) ในปี พ.ศ. 2534 โดยถือเป็นภาคที่ประสบความสำเร็จอีกภาคหนึ่ง ภายหลังได้มีการนำมารีเมก ลงในเครื่อง เพลย์สเตชัน วันเดอร์สวอน คัลเลอร์ และ เกมบอยแอดวานซ์ และ นินเทนโด ดีเอส ตามลำดับ เรื่องราวในเกมจะเป็นเรื่องของเซซิล ผู้มีอาชีพเป็นอัศวินดำ แต่ต้องรวบรวมสมัครพรรคพวกเพื่อหยุดยั้งกอลเบซ่าในการแย่งชิงคริสตัลจากโลกเบื้องบนและโลกใต้พิภพ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เกมไฟนอลแฟนตาซี IV บนเครื่องซูเปอร์แฟมิคอม ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ไฟนอลแฟนตาซี II" เพราะทีมงานในสหรัฐอเมริกาใช้เวลาในการแปลภาค 1 นานจนเกินไป พอภาค 4 วางขาย จะแปลภาค 2-3 ก็ไม่ทัน จึงตัดสินใจเอาภาค 4 มาเป็นภาค II แทน.

สแควร์และไฟนอลแฟนตาซี IV · เท็ตสึยะ โนมูระและไฟนอลแฟนตาซี IV · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สแควร์และเท็ตสึยะ โนมูระ

สแควร์ มี 28 ความสัมพันธ์ขณะที่ เท็ตสึยะ โนมูระ มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.25% = 3 / (28 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สแควร์และเท็ตสึยะ โนมูระ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »